|

บัณฑิตอาสา ม.อ. จัดทำฐานข้อมูล ช่วยเหลือตรงตามความต้องการของชุมชน

F72EA482-F8D9-4008-9EB2-82EE914F2EB1

บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด โดยการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ให้ส่วนราชการและชุมชนมีข้อมูลชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือชาวบ้านตรงความต้องการที่แท้จริง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำโครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด รุ่น 1 และรุ่น 2 รุ่นละ 400 คนและบัณฑิตโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อีก 200 คน รวม 1,000 คน ใน 9 จังหวัดภาคใต้ รุ่นที่ 1 ปฎิบัติงาน ระหว่างเดือนมิถุนายนกันยายน 2563 รุ่นที่ 2 ปฎิบัติงานระหว่างกรกฎาคมกันยายน 2563 มีบัณฑิตจากหลากหลายสถาบัน และมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มหาวิทยาลัยได้เตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน ให้เรียนรู้ระบบไอที และสร้างความรู้ความเข้าใจในการศึกษาชุมชนเบื้องต้น

305791F4-9497-4A0F-B1F0-D99B8D7B6B4E

แผนที่ทางภูมิศาสตร์ที่บัณฑิตอาสาจัดทำเป็นปัจจุบันทำให้สามารถมาวิเคราะห์ปัญหา ตรงความต้องการของชาวบ้าน ปัญหาถึงจะได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนรวมทั้งนำไปเป็นฐานข้อมูลในระดับประเทศ และเป็นฐานข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในการเข้าไปให้บริการวิชาการตามความต้องการของพื้นที่ต่อไปในอนาคต

643498E4-0465-4227-AC66-A5DE41C78DE4

หลังจากการลงพื้นที่ จะมีการประชุมนำเสนอผลการเก็บข้อมูล ให้บัณฑิตอาสารายงานความก้าวหน้าของการทำงาน วางแผนการทำงานครั้งต่อไป ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่  แลกเปลี่ยนและรับฟังข้อคิดเห็นกับนักพัฒนา เจ้าหน้าที่และทีมงานศูนย์อาสาสมัครมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งทำหน้าที่พี่เลี้ยงดูแลบัณฑิตอาสาอย่างใกล้ชิด

6EBD7DC1-62E7-4FB6-B6AA-F5CF8E8CF0BB

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 นายอรรถชัย หีมชาตรี บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด ปฎิบัติงานที่ ตำบลรำแดง .สิงหนคร .สงขลา กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมาของการลงพื้นที่การเรียนรู้ชุมชน เป็นสิ่งสำคัญที่ได้เรียนรู้เข้าถึงการพัฒนา ได้เรียนรู้ผลกระทบของโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจิตใจหรือทางเศรษฐกิจ พบว่าชุมชนตรงนี้ ไม่ได้รับผลกระทบเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นชุมชนเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง ใช้ต้นทุนทางธรรมชาติที่เด่นชัด

สำหรับปัญหาและอุปสรรค แรกๆ พวกเราก็เกร็งนิดหน่อย เพราะเราไม่ใช่คนในพื้นที่ ตอนหลังได้เปิดใจกับชาวบ้านว่าเป็นจิตอาสาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นการลงชุมชน มาช่วยชาวบ้าน ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

พืชเศรษฐกิจหลักที่นี่ คือ ต้นตาลโตนด และการแปรรูปจากตาลโตนด มีแหล่งท่องเที่ยว ที่มีศักยภาพ เช่น เดอะฮัค ในฉาง ป่าขวาง มีเนื้อที่ 10 ไร่ ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร .สงขลา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแนววิถีชีวิตพื้นบ้าน มีวิวทุ่งนา ใช้จุดเด่นคือความสวยงามจากต้นตาลโตนดในทุ่งนา มาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว เสริมด้วยหุ่นฟางผีเสื้อสมุทร หุ่นเดอะฮัค และอื่นๆ นับเป็นสถานที่เช็คอินถ่ายรูปเซลฟี่ ที่น่าสนใจ

28FAB58D-A134-46E4-8246-0D39C6442239

นายเชิดพงศ์ บุญที่สุด นักพัฒนาชุมชน อบต.รำแดง .สิงหนคร .สงขลาตามที่บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาลงพื้นที่เป็นเวลา 4 เดือน ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี สิ่งที่ตำบลรำแดง .สิงหนคร ต้องการก็คือการจัดทำฐานข้อมูล เป็นฐานข้อมูลทางแผนที่ทางภูมิศาสตร์จากโปรแกรม GIS และแผนที่ทางเดินด้วยเท้า การทำงานทุกอย่างของท้องถิ่นถ้าเรามีข้อมูลที่ชัดเจนแล้วก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในตำบลรำแดงได้ ช่วงเช้าน้องๆ ก็ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูล ได้ข้อมูลของชุมชนไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กผู้สูงอายุที่เปราะบางทางสังคม รวมทั้งสัตว์เลี้ยง เราก็เอาข้อมูลมาเป็นข้อมูลเบื้องต้นมาพิจารณากลั่นกรองเพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยเหลือในตำบลรำแดงต่อไป

เมื่อเราได้แผนที่ ก็สามารถมาวิเคราะห์ปัญหา ตรงความต้องการของชาวบ้าน ไม่ยัดเยียดความช่วยเหลือ ปัญหาถึงจะได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน จะเห็นว่าน้องๆ บัณฑิตอาสาเมื่อลงพื้นที่ก็ได้รับของฝากจากชาวบ้านด้วยความเอ็นดู เหมือนลูกหลานมาเยี่ยม

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จัดทำโดย ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี นอกจากจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเป็นฐานข้อมูลของพื้นที่แล้วยังเป็นระบบติดตามการทำงานบัณฑิตอาสา และดูแลบัณฑิตอาสาได้อย่างใกล้ชิด

53365F74-BA17-454D-8370-371939392AD8

ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ผู้พัฒนาระบบการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ กล่าวว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นฐานข้อมูลในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในการเข้าไปให้บริการวิชาการตามความต้องการของพื้นที่ ในจังหวัดสงขลา ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี ตรัง สตูล พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ต่อไป

37F0576C-D27E-4A36-A727-893FA7C4F88B5C9CF0D9-390E-4526-B228-10B607CA2DD8BB6F7C8A-ECF7-4F13-999B-440C4CC870F2414E5A3D-36E9-42E4-AD4E-718FC7171DE9A445DD2C-8484-48D0-9517-4A561172A01B

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=57657

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us