|

ม.อ. ส่งเสริมทำผ้าบาติก สร้างเศรษฐกิจ สร้างความสุข

391CFA2E-B5D6-4AE5-A993-81E82E0A9838

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ส่งเสริมการทำผ้าบาติก และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผลิตภัณฑ์จากผ้าท้องถิ่นภาคใต้ ในช่วงเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นอีกทางเลือกช่วยเพิ่มรายได้ และทำให้จิตใจสงบผ่อนคลาย

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่งเสริมการทำผ้าบาติก โดยจัดอบรมให้แก่ผู้สนใจทั่วไป เมื่อวันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2563 สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .หาดใหญ่ .สงขลา โดยมีนาย ไพฑูรย์ แก้วทอน เจ้าหน้าที่สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เป็นวิทยากร

53883D55-A8B7-4769-A2BD-60FFA9AEE8E0

บาติกกำเนิดมากว่า 2,000 ปี เชื่อว่าบาติกมีต้นกำเนิดที่อินเดีย และแพร่หลายเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอินโดนีเซียมาเลเซีย และแพร่หลายมายังภาคใต้ บาติก (BATIK) เป็นภาษาชวา มีความหมายว่าเป็นการทำให้เป็นจุด, แต้ม, ดวง, หยด

0233FD10-770B-49F5-8D7B-C237236DABB6

ผศ.ดร.พรปวีณ์ พุ่มเกิด ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ผ้าบาติก เป็นการส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรม สร้างคุณค่า มูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผลิตภัณฑ์จากผ้าท้องถิ่นภาคใต้ พร้อมทั้งต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ ทั้งยังต่อยอดเป็นธุรกิจของตัวเองได้ในอนาคต

CB1F3CF2-32CA-4FDC-A039-6D28CAF06923

นายไพฑูรย์ แก้วทอน เจ้าหน้าที่สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยากร กล่าวว่าการจัดทำผ้าบาติก กล่าวว่า ส่วนใหญ่จะเป็นการเขียนภาพแนวธรรมชาติ วิว ทะเล ปลา ดอกไม้ การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจะทำให้เข้าใจกระบวนการทำ สามารถพลิกแพลงและสร้างสรรค์เทคนิค สามารถนำไปทำเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ดี ที่สำคัญสร้างความสุข เพลิดเพลิน ทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย ผู้เข้าอบรมมีหลายหลายอาชีพ หลายวัย ตั้งแต่วัยรุ่น จนถึงผู้ที่เกษียณแล้ว

C1671805-8C40-46CB-BC27-11652C511E6B

อุปกรณ์การทำผ้าบาติก ประกอบด้วย 1. ผ้าที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน 2. ปากกาเขียนเทียน มีรูปแบบคล้ายกับปากกา ขนาดเบอร์ L, M, S และ SS 3. เหล็กแทงปากกาเขียนเทียน ซึ่งอาจทำด้วยเส้นลวดเส้นทองแดง 4. น้ำเทียน เป็นส่วนผสมระหว่างขี้ผึ้ง กับพาราฟีน ในอัตราส่วน 1 : 2  5. ภาชนะต้มเทียน และเตาต้มเทียน 6. เฟรมขึงผ้า (กรอบไม้) 7. น้ำยาเคลือบ ใช้โซเดียมซิลิเกต มีคุณสมบัติยึดสีให้ติดกับผ้า 8. ชุดอุปกรณ์ต้มผ้า เป็นอุปกรณ์ที่หาได้ในบ้าน เช่น หม้อ ปีปน้ำ กะละมัง และเตาแก๊ส 9. พู่กันและแปรง สำหรับผู้เริ่มฝึกเขียนควรใช้พู่กันเบอร์ 0, 8, 10 และ 10. สีเพื่อย้อมผ้าบาติก สีย้อมผ้าบาติกจะมีลักษณะเป็นผงฝุ่น นำมาผสมสีอัตราส่วน 1 : 10

DB47C76B-6059-4CCF-B5F6-00239E8F2BEE

ขั้นตอนการทำผ้าบาติก มีดังนี้ 1. การเตรียมผ้า 2. การร่างภาพบนผ้า 3. การขึงผ้าบนเฟรม 4. การเขียนเทียน เป็นการเขียนเทียนลงบนส่วนต่างๆ ของลายที่ออกแบบไว้หรือเดินเส้นตามรอย 5. การระบายสีบาติก ควรเตรียมสีใส่ภาชนะเช่นแก้วน้ำ หลายใบ ตามจำนวนสี

B46D3040-57F5-4EEA-BBE0-DF3AD55AAEDC

เทคนิคการระบายสี สามารถเล่นน้ำหนักอ่อนแก่ แสงเงา ความตื้นลึกของภาพได้ สีนิยมใช้ 2 – 4 สี ขึ้นไป

การเคลือบผ้าด้วยน้ำยากันสีตก เคลือบด้วย น้ำยา โซเดียมซิลิเกต 8 – 12 ชั่วโมง

ซักล้างน้ำยาเคลือบ แช่น้ำสะอาด 15 – 30 นาที

ขจัดเทียนออกจากผ้า นำไปต้มในน้ำเดือด ใส่ผงซักฟอก  1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร

ตกแต่งชิ้นงาน นำไปรีดให้เรียบ และเย็บริมให้เรียบร้อย

42949B83-0754-4057-BD05-A35481EDC979

นางพิรุณ ฉิมพลีศิริ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนึ่งในผู้เข้ารับการอบรม กล่าวว่า ในการอบรม ตนเองทำผ้าบาติกได้ 5 ชิ้น ภาคภูมิใจในผลงาน และ ได้ความเพลิดเพลินในการทำงานบาติก และได้รู้จักผู้ที่รักในศิลปะเหมือนกัน สำหรับคนที่วาดรูปไม่เป็น ก็ไม่ต้องกังวล เนื่องจากมีแบบสำเร็จรูปให้เราฝึกทำผ้าบาติกได้สะดวก

62584FB8-BB76-4D95-825E-6C21C94C2A0A5649E6A8-736B-48EE-A937-896447993412

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=57579

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us