|

“ผศ.ดร.วีระชัย แสงฉาย” มรภ.สงขลา นักวิจัยดีเด่น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

%e0%b8%9c%e0%b8%a8-%e0%b8%94%e0%b8%a3-%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%a2-%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b8%89%e0%b8%b2%e0%b8%a2

ผศ.ดร.วีระชัย แสงฉาย มรภ.สงขลา คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย รับโล่พระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

เมื่อเร็วๆ นี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ มอบโล่รางวัลพระราชทานแก่นักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง ในงานประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการนี้ ผศ.ดร.วีระชัย แสงฉาย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและงานวิจัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดยรางวัลดังกล่าวคัดเลือกจากนักวิจัยที่อุทิศตนให้แก่การวิจัยอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี และเป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อชุมชนในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน นำไปสู่การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนอย่างแท้จริง

สำหรับงานวิจัยตลอดระยะเวลา 5 ปี ของ ผศ.ดร.วีระชัย แสงฉาย มีทั้งที่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อาทิ อิทธิผลของอุณหภูมิต่อขนาดผลึกและปริมาณเฟสของผงไทเทเนียมไดออกไซด์จากกระบวนการโซล-เจล ผลของอุณหภูมิการเผาผงไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปเหล็กต่อลักษณะโครงสร้างและการฆ่าเชื้อ สมบัติโฟโตแคตะไลติกของฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์โด๊ปเหล็กเคลือบบนใยแก้ว เป็นต้น ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นการสังเคราะห์และการนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ ของวัสดุนาโน ได้แก่ ไทเทเนียมไดออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวิธีการในการเตรียมสารให้ได้ในระดับนาโน ทั้งในรูปแบบลักษณะผงหรือฟิล์มเคลือบบนวัสดุอื่นๆ หลังจากนั้นทำการตรวจหาคุณลักษณะเฉพาะของสารที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำไปทดสอบการใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น การทดสอบการย่อยสลายสารอินทรีย์หรือการบำบัดน้ำ และการทดสอบการยังยั้งหรือต้านทานเชื้อแบคทีเรีย

ผศ.ดร.วีระชัย มีมุมมองว่า การดำเนินงานวิจัยเป็นบทบาทหนึ่งของอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย นอกเหนือจากบทบาทด้านการสอน เพราะการดำเนินงานวิจัยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้ อีกทั้งการดำเนินงานวิจัยยังส่งผลให้ผู้ดำเนินการวิจัยได้มีองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงได้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มเข้ามาปฏิบัติงานใน มรภ.สงขลา จนถึงปัจจุบัน

15134518_1039693786158131_784052744_n

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=10702

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us