|

หัวหน้าผู้แทนพิเศษรัฐบาลฯ ติดตาม 4 โครงการใหญ่พัฒนา อ.เบตง จ.ยะลา

โรงไฟฟ้า1

หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา จชต. นำคณะติดตามความก้าวหน้า 4 โครงการใหญ่พัฒนา อ.เบตง จ.ยะลา ให้เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งคณะ ประกอบด้วย พล.อ.จำลอง คุณสงค์, พล.อ.ปราการ ชลยุทธ, พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์, พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ, นายพรชาต บุนนาค และ นายจำนัล เหมือนดำ เดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนา อ.เบตง จ.ยะลา ในฐานะเมืองต้นแบบการพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เป็น 1 ใน 3 ตามโครงการเมืองต้นแบบ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

หมู่บ้านไก่ ฟาร์มโกช้าง4

ซึ่งเป็นการลงพื้นที่ต่อเนื่องจากการติดตามความก้าวหน้าของเมืองหนองจิก ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบของ จ.ปัตตานี  เมื่อเดือนธันวาคม และเมืองสุไหงโก-ลก เมืองต้นแบบของ จ.นราธิวาส ล่าสุดเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จากการร่วมประชุมรับฟังการบรรยายสรุป และรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าอย่างมาก ในทุกด้าน โดยเฉพาะในการก่อสร้างสนามบิน ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยจะแล้วเสร็จในกลางปี 2562 หลังจากนั้นได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการต่างๆ ที่เห็นความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่

โครงการบ้านปิยมิตร (กม.4) ตำบลตาเนาะแมเราะ ซึ่งเป็นตลาดที่มีการสั่งซื้อ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำสินค้า Premium Grade เช่น ปลากือเลาะห์ ที่วันนี้สามารถเพาะพันธุ์ในทางวิทยาศาสตร์ได้แล้ว และจะได้มีการขยายผลไปยังประชาชนต่อไป รวมทั้ง ปลานิลเบตง ปลาจีน และการเลี้ยงปลาสวยงาม ที่ตลาดมาเลเซียและสิงคโปร์มีความต้องการเป็นอย่างมาก พร้อมกับการเชื่อมโยงระบบการเลี้ยงให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวอย่างครบวงจรในพื้นที่

หมู่บ้านไก่ ฟาร์มโกช้าง3

เช่นเดียวกับการเลี้ยงไก่เบตง ปัจจุบันเกษตรกรยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยการซื้อลูกปลามาจากประมงจังหวัดยะลา สำหรับวิธีการเพาะเลี้ยงจะใช้ระบบหมุนเวียนหรือระบบน้ำไหลตามธรรมชาติ จุดเด่น คือ ปลาแข็งแรง ไม่มีกลิ่นโคลน โตไว ตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน อีกทั้งปลากือเลาะห์เป็นปลาในพื้นที่ อ.ธารโต อ.เบตง และ อ.ศรีสาคร จัดเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ยาก ราคาในท้องตลาดกิโลกรัมละ 3,000 บาท

ต่อมา คือ โครงการโรงไฟฟ้า (กม.7) ตำบลตาเนาะแมเราะ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ได้มีการเร่งรัด/ประสานการดำเนินการให้ภาคเอกชน เข้าไปลงทุนในธุรกิจพลังงานอย่างน้อย 2 โรงงาน วงเงินงบประมาณ 1,600 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าตก หรือดับ ในตัวเมืองเบตงอย่างมั่นคงและยั่งยืน ขณะเดียวกัน ก็มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าด้วยกระบวนการที่หลากหลาย อย่างเช่น การผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดไฟฟ้าขนาด 1 MWจำนวน 7 เครื่อง (เพื่อความมั่นคง) การผลิตไฟฟ้าด้วยกำลังจากน้ำ การผลิตไฟฟ้าจากวัสดุอื่นๆ ที่สามารถเกิดพลังงานไฟฟ้าได้ เป็นต้น

หมู่บ้านไก่ ฟาร์มโกช้าง2

นอกจากนี้ ยังมีโครงการหมู่บ้านไก่ ฟาร์มโกช้าง (กม.15) ตำบลตาเนาะแมเราะ โดยเป็นเป้าหมายด้านความมั่นคงด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สินค้าต่อเนื่องการท่องเที่ยว ได้มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะดำเนินการขับเคลื่อนโครงการไก่เบตงประชารัฐ เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ไก่เบตงเฉพาะพื้นที่ ทั้งในรูปแบบการผสมพันธุ์ การเพาะเลี้ยง การให้อาหาร การส่งเสริมการเลี้ยงให้กับประชาชน การขึ้นทะเบียน GI และการแปรรูปเพื่อให้เนื้อไก่เบตงที่จะเข้าสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงตรงกับความต้องการของตลาดที่มีการสั่งซื้อ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

และนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำสินค้า Premium Grade พร้อมกับการขยายสัดส่วนการผลิต รวมทั้ง เร่งรัดดำเนินการผลิตไก่เบตงให้มีปริมาณการบริโภคตามความต้องการที่แท้จริงของตลาดให้ได้จำนวน 50,000-70,000 ตัว/ปี เพื่อเป็นการขยายฐานการผลิตในพื้นที่ โดยตั้งเป้าการผลิตไก่เบตงคุณภาพ 50,000 ตัว ในระยะเวลา 5 ปี พร้อมกับการเชื่อมโยงระบบการเลี้ยงให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวอย่างครบวงจรในพื้นที่

หมู่บ้านไก่ ฟาร์มโกช้าง1

รวมทั้ง โครงการจุดก่อสร้าง Skywalk ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง สำหรับการสร้างและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มเติมนั้น ส่วนราชการและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้พยายามปรับปรุง เช่น การสนับสนุนงบประมาณ เพื่อความสะดวกเข้าถึงพื้นที่ (หลักเขตที่ 54 A) วงเงินงบประมาณ 50 ล้านบาท และการขยายถนนทะเลหมอกอัยเยอร์เวงพร้อมลานจอดรถยนต์ จำนวน 28,000,000 ล้านบาท และการจัดทำจุดชมวิวพื้นกระจก (Sky Walk) มูลค่า 91,160,000 ล้านบาท

อีกทั้ง ยังมีการเจรจาภาคเอกชนร่วมลงทุนกับหน่วยงานรัฐ และเอกชนในพื้นที่ดำเนินโครงการสวนเกษตรผสมผสานบนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ของอำเภอเบตง เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ รองรับนักท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเบตง และเมืองใกล้เคียงให้มีความพร้อมรองรับการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ

โรงไฟฟ้า2

และได้มีการประสานขอความร่วมมือไปยังหน่วยงาน และองค์กรทุกภาคส่วน ที่มีความสนใจจะมาร่วมพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านมิติการพัฒนาเศรษฐกิจตามโครงการเมืองต้นแบบฯ ก็ได้มีการประสานเชิญชวนไปยังหลายหน่วยงานเพื่อเข้ามาร่วมแล้ว และหลายหน่วยงานก็มีแผนที่จะร่วมพัฒนาภายในปี พ.ศ.2560 นี้ รวมทั้ง จะได้เร่งรัดการก่อสร้างสนามบินเบตง เนื่องจากมองว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

บ้านปิยมิตร3

บ้านปิยมิตร2

บ้านปิยมิตร1

จุดก่อสร้าง Skywalk4

จุดก่อสร้าง Skywalk3

จุดก่อสร้าง Skywalk2

จุดก่อสร้าง Skywalk1

003

002

001

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=14319

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us