|

สสจ.สงขลา เตือนให้ 6 กลุ่มเสี่ยง ระวังโรคลมแดด

ในระยะนี้ สภาพอากาศที่ร้อนจัดในระยะนี้ ทำให้ผู้ทำงานและทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน รวมถึงเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และผู้พักผ่อนไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อการป่วยโรคลมแดด และหากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

sss

นายแพทย์ อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โรคลมแดดหรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง เกิดจากการอยู่หรือออกกำลังกายหรือทำงานในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ มีผลกับการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งระบบประสาทส่งผลทำให้เสียชีวิตจากอวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลวได้ โดยอาการของผู้ที่เป็นลมแดด ได้แก่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เพ้อ ชัก มึนงง หน้ามืด หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคลมแดดได้ง่าย ได้แก่ 6 กลุ่มคือ

1.ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่นออกกำลังกาย กรรมกร ก่อสร้าง เกษตรกร

2.เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้สูงอายุ

3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง

4.คนอ้วน

5.ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ และ

6.ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากพบผู้มีอาการโรคลมแดด ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้

1) นำผู้มีอาการเข้าที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าชั้นนอกออก

2) เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด

3) ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ

4) ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัวเพราะจะขัดขวางการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย

5) รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว หรือโทรสายด่วน 1669

นายแพทย์ อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล ได้กล่าวอีกว่า ในระยะนี้ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 6 กลุ่มดังกล่าว และประชาชนทั่วไป ควรป้องกันโรคลมแดด ดังนี้

1. หากรู้ว่าจะต้องไปทำงานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อน ควรเตรียมตัวโดยการออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ อย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน

2. ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม และแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

3.สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี

4. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด

5. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ แก้น้ำมูก โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกายหรือการอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนเป็นเวลานาน

6.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด

7.ในเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี และอย่าปล่อยให้เด็กหรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=14671

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us