|

เอไอเอสภาคใต้ ประกาศวิสัยทัศน์ 2017 “Digital For Thais” เผยยอดผู้ใช้ DATA แซง VOICE

เอไอเอส ภาคใต้ประกาศวิสัยทัศน์ปี 2017  พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยก้าวสู่ประเทศไทย 4.0  ผ่านแนวคิด “AIS Digital For Thais” (เอไอเอส ดิจิทัล ฟอร์ ไทย)  เตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งเครือข่าย Mobile Super Wifi (โมบาย) และ Fixed Broadband(ฟิกซ์ บรอดแบนด์) เสริมความแข็งแกร่งผนึกความร่วมมือกับพันธมิตร หนุนการนำดิจิทัลส่งเสริมการทำงานของภาครัฐ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เข้มแข็ง

IMG_5648

นายมหัณณพ  อภินันทนพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการ ภูมิภาค-ภาคใต้ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส กล่าวว่า รัฐบาลได้ประกาศนโบยายในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ภายใต้แนวทางสานพลังประชารัฐ  โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี   และนวัตกรรมต่างๆ ไปส่งเสริมศักยภาพการทำงาน  รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการต่างๆของภาครัฐ  เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider ซึ่งให้บริการด้านเครือข่าย การให้บริการดิจิทัล จึงพร้อมที่จะประกาศยืนยันว่า ในปี 2560 เราจะร่วมทำงานกับภาครัฐในการมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปสนับสนุน เสริมความแข็งแรงในรากฐานหลักของประเทศ สร้างโอกาสทางการเข้าถึงและความเท่าเทียมกันของเทคโนโลยีไปสู่ประชาชน ผ่านแนวคิด “AIS Digital For Thais” ที่นำดิจิทัลเข้าไปเพิ่มศักยภาพและสร้างการเติบโต สู่ประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล

การที่ประเทศจะไปสู่ดิจิทัลได้นั้นจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านเครือข่ายการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ภายหลังจากการประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ชาวเอไอเอสมุ่งมั่นทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ด้วยระยะเวลาเพียง 300 วันเท่านั้น วันนี้เครือข่าย AIS 4G จึงก้าวสู่เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมแล้วถึงกว่า 98% ของพื้นที่ประชากร โดยขณะนี้  เอไอเอสมีลูกค้ารวมทั้งหมด 41 ล้านราย โดยยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 49.5% (ตัวเลข ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี พ.ศ.2559)

การที่เอไอเอสมีคลื่นที่หลากหลายจากการประมูล   ย่อมนำมาซึ่งความพร้อมในการต่อยอดสู่เทคโนโลยี IoT ที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ จุดประกายในการพัฒนาบริการสาธารณะต่างๆ พร้อมก้าวสู่ Smart City อย่างเต็มรูปแบบ วันนี้เครือข่ายเอไอเอสจึงเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปิดตัว เครือข่าย Narrowband IoT มาตรฐานระดับโลก ที่จะรองรับการใช้งานอุปกรณ์ IoT ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ

IMG_5637

นอกจากนี้ เอไอเอส ยังได้นำนวัตกรรมระดับโลกเข้ามาเสริมขีดความสามารถเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเครือข่าย 4.5G ครั้งแรกในโลก ซึ่งได้มีการประกาศตั้งแต่ต้นปี 2559 จนได้รับการรับรองจาก OOKLA Speed test ว่าเอไอเอสเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้น Qualcomm ผู้ผลิตชิพเซ็ตระดับโลกได้ทำการทดสอบและรับรองว่า เครือข่ายของเอไอเอสมีความเสถียรและสนับสนุนการใช้งานของ Smart Phone รุ่นใหม่ๆที่ดีที่สุด พร้อมทั้งเป็นเครือข่าย 4G Roaming ที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเอเชีย (182 ผู้ให้บริการใน 150 ประเทศ)

“สำหรับภาพรวมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2560 เราเชื่อว่าจะเติบโตถึง 300% โดยตลาดที่เติบโตมากที่สุดคือ Fix Broadband และกลุ่มการใช้งานของอุปกรณ์ IOT ที่เข้ามาในตลาดอย่างชัดเจน อาทิ Wearable, Machine2Machine ซึ่งถือว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจและการใช้ชีวิตของคนไทยไปอีกขั้น  ทั้งนี้เราคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะทำให้อุตสาหกรรมหลักแต่ละด้านเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากการขยายตัวเข้าถึงทุกพื้นที่ของ Digital Infrastructure 3 ส่วนหลัก คือ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง, สมาร์ทโฟนที่เติบโตมากกว่า 70 ล้านเครื่อง และ IOT มากกว่า 20 ล้านรูปแบบ”

“โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ลูกค้าเอไอเอสนั้น มียอดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านมือถือสูงถึง 24 ล้านราย ในจำนวนนี้ 12 ล้านราย ใช้งานผ่านมือถือ 4G และใช้อินเตอร์เน็ตวันละ 6 ชั่วโมง โดยพบว่ามีการชมวีดีโอถึง 10 ล้านคลิปต่อวัน รวมถึงอัพโหลดภาพวันละ 1.8 ล้านภาพ”

IMG_5638

แผนงานปี 60 เดินหน้าขยายความครอบคลุมทั้งแนวกว้างและแนวลึก

สำหรับแผนงานในปี 2560 นั้น “เรายังคงเดินหน้าขยายความครอบคลุมทั้งแนวกว้างและแนวลึก ในลักษณะของ In building coverage โดยเครือข่ายของเอไอเอสทั้งหมด จะก้าวไปอีกขั้น (Next Generation Network) สู่  “เครือข่ายดิจิทัล ที่รองรับการใช้งานระดับกิกะบิท (Gigabit Network)” เป็นครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในส่วนของเครือข่ายไร้สายนั้น ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด Multipath TCP ทำให้เพิ่มความเร็วได้ถึง 10 เท่าของเครือข่าย LTE และ เร็วขึ้นอีก 4 เท่าของเครือข่าย Tri Band LTE Advance สำหรับเครือข่าย AIS Wifi ก็จะก้าวสู่ Gigabit Super Wifi เช่นกัน (ด้วยมาตรฐาน 802.11 ac Wave 2) และแน่นอนว่า เครือข่าย AIS Fibre ก็จะพร้อมรองรับการใช้งานได้ถึง 10 กิกะบิทด้วยเช่นกัน”

ขณะนี้ เอไอเอส ไฟเบอร์ ได้ขยายโครงข่ายผ่านไปยังชุมชนแล้วมากกว่า 5 ล้านครัวเรือน โดยมีปริมาณลูกค้าใช้งาน ณ สิ้นปี 59 อยู่ที่ 3 แสนราย และเพิ่มขีดความสามารถในการติดตั้งได้ใกล้เคียงกับผู้ให้บริการรายเดิม แม้จะเปิดให้บริการมาเพียง 2 ปีเท่านั้น

เมื่อโครงข่ายมีขีดความสามารถรองรับการใช้งานระดับกิกะบิท คือ สามารถส่งข้อมูลจำนวนมากๆได้ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว  เราจึงพร้อมตอบสนองความต้องการผู้ใช้บริการในยุคปัจจุบันด้วยคลังวีดีโอ คอนเท็นต์ จากสุดยอดพาร์ทเนอร์ตัวจริง ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านแอปพลิเคชัน  AIS Play บนมือถือ  และกล่อง AIS Play Box จากอินเทอร์เน็ตบ้าน   โดยพร้อมเปิดตัวเป็นครั้งแรกเพื่อคนไทยกับ ช่อง FOX Networks, HBO, NBA รวมไปถึงอุปกรณ์ Chromecast ที่เชื่อมต่อกับมือถือหรือแท็บเล็ตขึ้นสูจอทีวี ซึ่งจะทำให้โลกแห่งการชมวีดีโอคอนเท็นต์ไร้ขีดจำกัดอีกต่อไป

สำหรับภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศนั้น เอไอเอส ได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ ยกระดับ AIS Business CLOUD ด้วยมาตรฐานระดับโลกเข้าสู่ประเทศไทย เป็นครั้งแรก เพื่อ ตอบสนององค์กรทุกขนาด ทุกอุตสาหกรรม เสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันและปรับตัวสู่ธุรกิจดิจิทัล อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

IMG_5634

นำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับรากฐานหลักของประเทศ

นอกจากนี้ แผนงานในปี 2560 ที่เอไอเอสวางวิสัยทัศน์ไว้อีกส่วนหนึ่งก็คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับรากฐานหลักของประเทศ ภายใต้แนวคิด Digital For Thais เพื่อร่วมกับภาครัฐในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยใน 4 ด้านหลักๆ คือ

1) ด้านเกษตรกรรม และผู้ประกอบการ OTOP : เอไอเอส ร่วมกับทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้ความร่วมมือกันในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์กับกลุ่มเป้าหมายวิสาหกิจชุมชน,OTOPและ SMEs โดยได้รับการสนับสนุนในด้านฐานข้อมูลผู้ประกอบการ OTOP  ที่เชื่อมโยงผ่านระบบ Channel Management System ที่พัฒนาขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เชื่อมต่อกับ E-Marketplace ของเอไอเอส นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด ยกระดับการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพของเกษตรกรและผู้ประกอบการ OTOP ผ่านแอปพลิเคชัน “ฟาร์มสุข” เพื่อเพิ่มรายได้ด้วยการสร้างช่องทางในการซื้อ-ขายสินค้า และลดรายจ่าย ด้วยข้อมูลจากคลังความรู้ทางด้านภูมิปัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำการเกษตรจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของสินค้า ด้วยข้อมูลการเพาะปลูกจากอุปกรณ์ IoT, ความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์ และการสร้างความแตกต่างให้สินค้า พร้อมทั้งยังช่วยให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบาย และมั่นใจในสินค้าที่ได้รับอีกด้วย

2) ด้านสาธารณสุข : เอไอเอสต้องการยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุข และสุขภาพของคนไทย โดยเน้นความทั่วถึง ความมีคุณภาพ และประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณสุข โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค มากกว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วจึงมารักษา จึงจัดทำแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์เป็น แอปฯที่ออกแบบมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือสื่อสารสำหรับการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่นั้นๆ โดยแอปฯ อสม.ออนไลน์ เปิดใช้งานตั้งแต่ปลายปี 2558  มีรพ.สต.ในพื้นที่ภาคใต้นำไปใช้งาน จำนวน  7 แห่ง  จนถึงปัจจุบัน มีรพ.สต.จำนวน 88 แห่งทั่วประเทศ นำไปใช้ในการส่งเสริมศักยภาพสาธารณสุขชุมชน และในปีนี้จะเร่งขยายการเปิดใช้งานในชุมชนที่อยู่ใกล้บริเวณสถานีฐาน   ซึ่งคาดว่าในปี 2562 รพ.สต.จะใช้แอปอสม.ออนไลน์ กันอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงแพทย์ และการดูแลสุขภาพได้อย่างสะดวกและง่ายยิ่งขึ้นผ่านแอปพลิเคชันพบหมอ

IMG_5646

3) ด้านการศึกษา : เอไอเอสยังให้ความสำคัญกับการจัดทำโครงการเพื่อสังคมด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ในโครงการ“สานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง” ซึ่งเป็นโครงการที่เอไอเอสจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ด้วยการมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนไทยที่มีความประพฤติดี แต่ขาดโอกาสโดยการมอบทุนการศึกษาจนจบในระดับปริญญาตรี รวมถึงมอบอุปกรณ์การกีฬาให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “Thailand 4.0”  เอไอเอสจึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการศึกษา โดยจัดทำโครงการสานรัก สานความรู้ ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสการเข้าถึงแหล่งข้อมูล สาระ ความรู้ให้แก่เยาวชนไทยทุกคน ด้วยการติดตั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และ AIS PLAYBOX รุ่นพิเศษที่มาพร้อมกับเนื้อหาที่เกี่ยวกับการศึกษา, สาระความรู้และสารคดี อาทิ DLTV, National Geographic, Edutainment VOD รวมถึง สารคดีชีวิตสัตว์ป่าและธรรมชาติที่หลากหลาย ฯลฯ ให้กับโรงเรียนของน้องๆคนเก่งหัวใจแกร่ง  และโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ จำนว  300 โรงเรียน โดยในส่วนของภาคใต้มีเป้าหมายในการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว  ในพื้นที่ 10 จังหวัด จำนวน 31 โรงเรียน   เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ในการเรียนรู้แก่เยาวชนไทย ให้ได้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลก รวมถึงความร่วมมือกับบริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ในการนำเนื้อหาความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคุณครูเข้ามาพัฒนาองค์ความรู้ในการสอนหนังสือให้กับนักเรียนด้วย

4) ส่งเสริม Start Up (ผู้ประกอบการยุคดิจิทัล) : AIS D.C. Designed For Creation เอไอเอสเล็งเห็นความสำคัญของการต่อยอดองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่  จึงเปิดสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มครีเอเตอร์ให้มีพื้นที่สร้างสรรค์และแบ่งปันแรงบันดาลใจ ร่วมกับ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center (TCDC) เพื่อเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้และเพิ่มขีดความสามารถของคนไทย ให้นำความสามารถนั้นไปต่อยอดในการพัฒนาประเทศ โดยภายใน AIS D.C. ประกอบด้วย บริการมากมายที่ตอบโจทย์กลุ่มครีเอเตอร์รุ่นใหม่ รวมถึง AIS Playground ที่แรกในประเทศไทยที่ให้ StartUp ได้ทดสอบระบบเชื่อมต่อ API บน Product & Service ของตนเอง กับ AIS Digital Platform ที่รองรับการทำ Digital Business ที่หลากหลาย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอสที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ยังได้มีการให้ข้อมูลความรู้และการจัดทำ workshop ให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ภาคใต้รวมถึงการทำ E-commerce clinic by AIS ซึ่งจะเปิดให้คำปรึกษาด้านการทำธุรกิจ Online ในระดับภูมิภาค

17361219_1618714018169058_784132765_n

17373404_1618714024835724_316159908_o

 

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=14702

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us