|

5 มหา’ลัยภาคใต้ เรียกร้องรัฐฯ กำหนดเกณฑ์การสอบข้าราชการครู – ครูผู้ช่วยให้ชัดเจน

NM4A4422

คณบดีด้านการผลิตครูจาก 5 มหาวิทยาลัยในภาคใต้ ไม่เห็นด้วยกับวิธีการรับสมัครบุคคลเข้ามาเป็นข้าราชการครูและครูผู้ช่วย โดยไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ชี้นโยบายนี้ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมสำหรับบัณฑิตวิชาชีพครู 5 ปี และเรียกร้องให้คุรุสภา ดูแลบุคลากรครูของประเทศอย่างจริงจัง

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดเสวนา หัวข้อ “เส้นทางวิชาชีพครูจะไปทางไหน” เพื่อทบทวนมติการแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันครูผู้ช่วยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2560 เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 60 ได้เปลี่ยนหลักเกณฑ์การบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สำหรับผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตปฏิบัติการสอนที่คุรุสภาออกให้ สามารถสมัครสอบแข่งขันได้ โดยมีคณบดีคณะศึกษาศาสตร์จาก 5 สถาบันการศึกษาในภาคใต้เข้าร่วมการเสวนา ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกรินทร์  สังข์ทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี กระโหมวงศ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา กุณฑล คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และดร.ฆนัท ธาตุทอง อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนากว่า 400 คน

IMG_0143

ผศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และคณะครุศาสตร์ที่เข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ต่างผิดหวังกับนโยบายดังกล่าว แม้คณบดีบางท่านจะเห็นด้วยในเชิงนโยบาย แต่ทุกท่านไม่เห็นด้วยในวิธีปฏิบัติในการรับสมัครบุคคลเข้ามาเป็นข้าราชการครูและครูผู้ช่วย โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตปฏิบัติการสอนรับรองจากครุสภาก็สามารถสอบแข่งขันได้ เพราะนโยบายนี้ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมกับบัณฑิตวิชาชีพครู 5 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายถูกทางแต่ไม่รอดูผลในระยะยาว ทุกท่านต่างยืนยันว่า คนที่จะเป็นครูต้องผ่านกระบวนการมาตรฐานวิชาชีพครู เพราะคนที่มาประกอบวิชาชีพครู แต่ไมได้จบการศึกษาด้านวิชาชีพครูแม้จะเป็นคนเก่งแต่ไม่มีจิตวิทยาในการสอนลูกศิษย์ และหลายสถาบันได้ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ

IMG_0169

ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวว่า สถาบันที่ผลิตครูต้องบูรการการศักยภาพในการผลิตครู และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ควรพัฒนาศักยภาพครูในมหาวิทยาลัยโดยไม่ยึดติดกับใบปริญญาบัตร งานวิจัยและผลงาน และไม่เห็นด้วยกับการอบรมผู้ที่ไม่ได้เรียนวิชาชีพครูมาอบรมเพียงระยะเวลา 1 ปี เพราะผู้ที่เรียนครู 5 ปี ถูกปลูกฝังการมีความรู้ 11 มาตรฐานและต้องปฏิบัติการสอนเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งใช้เวลา 5 ปีในการปลูกฝังความเป็นครู นี่คือข้อแตกต่าง แต่นโยบายนี้ผู้ที่เรียนจบวิชาเอก 4 ปี สามารถสอนได้ทันที จึงไม่เชื่อว่า ผู้ที่เรียน 4 ปี จะเป็นครูที่ดี เมื่อเทียบกับผู้ที่จบครู 5 ปี วิธีการเหล่านี้รัฐบาลทำผิดพลาด คนเหล่านั้นควรเป็นติวเตอร์มากกว่าเป็นครู

ผศ.ดร.เรวดี กระโหมวงศ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผศ.ดร.เรวดี กระโหมวงศ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวว่า ผิดหวังกับนโยบายของรัฐบาล ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาสะสมมานาน ครูไม่ตรงวุฒิบ้าง ครูไม่ตรงวิชาเอกบ้าง เรามีหน้าที่ผลิต ครูดี ครูเก่ง สอนดี สอนเก่ง เราสร้างได้ สิ่งที่เกิดขึ้นผู้บริหารไม่มีมุมมองและกระทรวงศึกษาธิการไม่มองให้รอบทั้งที่ทุกหย่อมหญ้ามีข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการอยู่ รู้สึกสงสารลูกศิษย์ แต่เป็นโอกาสที่จะแสดงให้สาธารณะเห็นว่าผู้ที่เรียนครู 5 ปี มีความพร้อมของวิญญาณความเป็นครูที่ดีกว่าผู้ที่เรียน 4 ปีแน่นอน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา กุณฑล คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

ผศ.ดร.กฤษฎา กุณฑล คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา กล่าวว่า ผิดหวังกับมติรัฐบาล แต่ขอให้เป็นมติที่ชัดเจน สงสารลูกศิษย์ จะเป็นครู 5 ปี หรือ 4 ปี ขอมติ ครม.ที่ชัดเจน และไม่ว่าใครจะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี หรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ควรเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์โดยขาดการวิเคราะห์ที่ชัดเจน

ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจียง

ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวในฐานะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชน ว่าหลักสูตรกว่าจะผ่านต้องใช้เวลาในการดำเนินการ แต่เมื่อมีปัญหาคุรุสภาไม่ได้เป็นปากเสียงแทนสถาบันการศึกษา และสงสารลูกศิษย์ รัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนแน่นอน เป็นมาตรฐาน พร้อมทั้งกล่าวว่า ต้นแบบที่ดีในการผลิตครู คือ ครูเรียนวิชาเนื้อหาจากครูที่เชี่ยวชาญจากคณะสาขาวิชาเฉพาะทาง พร้อมทั้งเรียกร้องให้ยกฐานะวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เพราะครูเป็นผู้ผลิตคนทุกสาขาอาชีพ

NM4A4260

นอกจากนี้ คณบดีทั้ง 5 สถาบันต่างทั้งเรียกร้องให้คุรุสภา ดูแลบุคลากรครูของประเทศอย่างจริงจัง ต้องยกฐานะวิชาชีพครูให้เทียบเท่าวิชาชีพทางการแพทย์ ครุสภาต้องคงศักดิ์และสิทธิ์ของวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงตลอดไป เพราะจิตวิญญาณของความเป็นครูต้องใช้เวลาบ่มเพาะเพื่อสร้างความภาคภูมิใจและเป็นครูที่สมบูรณ์แบบ ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องวิเคราะห์ข้อมูลอัตรากำลังข้าราชครูและครูผู้ช่วยให้ชัดเจน เพราะข้อมูลที่ไม่อยู่ไม่ตรงกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=15753

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us