|

มรภ.สงขลา สัมมนาศิลปินปี่พื้นบ้าน 

20369486_1105542189545882_7999489470740863227_o

สำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา ดึงศิลปินพื้นบ้านร่วมจัดทำมาตรฐานเพลงปี่ มอบ ควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง เป็นหัวหอกนำทีมอนุรักษ์วัฒนธรรมภาคใต้

นายโอภาส อิสโม ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการสัมมนาจัดทำมาตรฐานเพลงปี่และเทคนิคการเป่าปี่สำเนียงสงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเครือข่ายศิลปินปี่ และนำองค์ความรู้จากศิลปินพื้นบ้านมาจัดทำเป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ สำหรับเผยแพร่ให้แก่เครือข่ายทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม สถานศึกษา ศูนย์ฝึกศิลปินพื้นบ้าน และประชาชนผู้สนใจ โดยมีศิลปินปี่ในพื้นที่ จ.สงขลา จำนวน 30 คน จาก 16 อำเภอ ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับทีมวิทยากร ประกอบด้วย นายควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ปี 2553 นายปวริศ ประวัติ บุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม นายชัย เหล่าสิงห์ ประธานสมาพันธ์ศิลปินพื้นบ้าน จ.สงขลา และ นายประเสริฐ รักวงษ์ เลขาสมาพันธ์ศิลปินพื้นบ้าน จ.สงขลา

20286858_1105543262879108_3070018443667266113_o

นายโอภาส กล่าวว่า สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเป่าปี่ และเป็นผู้เป่าปี่สำเนียงสงขลา คือ ครูควน ทวนยก ดังนั้น เพื่อเป็นการสืบสาน สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นและของชาติ สำนักศิลปะฯ จึงได้จัดทำโครงการสัมมนาเพื่อจัดทำมาตรฐานเพลงปี่และเทคนิคการเป่าปี่สำเนียงสงขลา ซึ่งในแต่ละจังหวัดจะมีสำเนียงการปี่ที่แตกต่างกันออกไป แต่สำเนียงหลักๆ ที่เป็นที่รู้จักกันมาก คือ สำเนียงปี่สงขลา สำเนียงปี่พัทลุงและสำเนียงปี่นครศรีธรรมราช ซึ่งสำเนียงปี่ของ จ.นครศรีธรรมราชกับพัทลุง จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่สำเนียงปี่ของ จ.สงขลาจะแตกต่างออกไป และถือว่าเป็นสำเนียงที่เป่าค่อนยากและไม่เหมือนสำเนียงอื่น อีกทั้งยังเป็นสำเนียงที่โดดเด่น

20248004_1105543366212431_6333144933775869139_o

ภาคใต้ของไทยมีวงดนตรีประเภทหนึ่ง ที่ใช้บรรเลงประการแสดงหนังตะลุงและโนรา ชาวบ้านเรียกวงดนตรีประเภทนี้ตามลักษณะของการแสดงว่าเครื่องหนังตะลุง เครื่องโนรา หรือเรียกว่าเครื่องห้า ส่วนภาคกลางจะเรียกวงดนตรีประเภทนี้ว่าวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบาหรือปี่พาทย์ชาตรี  วงเครื่องห้าประกอบด้วยเครื่องดนตรีห้าชิ้นตามลักษณะการเรียกชื่อวง ประกอบด้วย ทับ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และปี่  เครื่องดนตรีภายในวงส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องกำกับจังหวะ มีปี่เพียงเลาเดียวที่ทำหน้าที่ในการบรรเลงทำนอง แต่ในตอนหลังได้นำเอาซอเข้ามาช่วยในการเดินทำนอง เพลงที่ใช้ในการบรรเลงส่วนใหญ่เป็นเพลงไทยเดิม และเพลงพื้นบ้านของภาคใต้ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าว

20247964_1105542586212509_534869500199239842_o

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=19175

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us