|

กลุ่มละครมาหยา สร้างสุขด้วยกะลาสร้างสรรค์ชุมชน

กลุ่มละครมาหยา ศูนย์สื่อสารเด็กไทยฯ จัดกิจกรรม “เด็กนอกกะลา” สร้างแกนนำ ผ่านละครหุ่นกะลา” ในโครงการ วิถีชุมชนท่ามะพร้าว สร้างสุขด้วยกะลา ภายใต้การสนับสนุนโดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ระหว่างวันที่ 3 – 6 สิงหาคม 2560 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง “บ้านไร่สุขสันต์” และ โรงเรียนบ้านท่ามะพร้าว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

กะลาสร้างสุข ถือเป็นการนำกะลามะพร้าวในชุมชนมาให้เด็กได้เรียนรู้ถึงรากเหง้า คุณค่า ความงามสู่การใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง ผ่านครูภูมิปัญญา ผู้นำชุมชน ที่การมองลึกลงไปกว่า “ตัวสื่อศิลปะ-วัฒนธรรม” ไปให้ถึงกระบวนการ การทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงสังคมของสื่อศิลปะนั้นๆ แบบสะสมและต่อเนื่อง การนำ “ศิลปะ-วัฒนธรรม” เข้าไปเปลี่ยนแปลงชุมชน

นายปริวัตร กิจนิตย์ชีว์ ประธานโครงการวิถีชุมชนท่ามะพร้าว สร้างสุขด้วยกะลา ได้กล่าวว่า กิจกรรม “เด็กนอกกะลา” สร้างแกนนำ ผ่านละครหุ่นกะลา” ก่อนที่จะจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีการพูดคุยออกแบบกิจกรรมกับคนในพื้นที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง และได้ชวนเด็กๆ แกนนำลงพื้นที่ในชุมชนในการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างนักวิจัยน้อยในชุมชนอย่างง่าย เพื่อให้เด็กได้รู้จักชุมชนตนเองมากขึ้น กิจกรรมครั้งนี้ มีการเรียนรู้กระบวนการละครหุ่นกะลาเพื่อสร้างเป็นละครสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงในชุมชนโดยมีภาคีสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมหมอลำหุ่นคณะเด็กเทวดา ร่วมกับกลุ่มละครมาหยา มาร่วมจัดกระบวนการครั้งนี้ นอกจากนั้น เด็กๆ ยังได้ร่วมกันออกแบบสวนสุขภาพจากกะลาเพื่อเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับคนสูงวัย และทำแปลงปลูกผักในไร่สุขสันต์เพื่อเป็นศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

นายสมจิตร แออ้อย ปราชญ์ชุมชนบ้านท่ามะพร้าว ซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาที่มีความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง ได้นำเด็กๆ แกนนำกว่า 40 คน ในชุมชนลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง “บ้านไร่สุขสันต์” พร้อมเล่าถึงคุณค่าความเป็นวิถีวัฒนธรรมของชุมชน โดยนำหลักคิดปรัชญาของพ่อหลวง 3ห่วง2เงื่อนไข มาเป็นหลักในการทำสวนผักพอเพียง พร้อมได้ชวนเด็กๆ ได้รู้จักผักรวมถึงลงมือในการเพาะปลูกผักและร่วมกับคนในชุมชนทำสวนกะลาสุขภาพพร้อมกับเด็กๆ แกนนำในชุมชน

เด็กหญิงอิศรา ทักกระจ่าง แกนนำเยาวชนบ้านท่ามะพร้าว ได้กล่าวว่า ตนมีความสุขที่ได้เห็นคุณค่าของมะพร้าว ถึงแม้อายุตอนนี้ 10ขวบเพิ่งมารู้จักชื่อที่มาของหมู่บ้าน รู้สึกตื่นเต้นยิ่งได้มาเรียนรู้การเล่นละครหุ่นจากกะลา ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่มากยิ่งได้คิดสร้างสรรค์ตัวละครหุ่นกะลา และได้ร่วมคิดบทเพื่อนำเสนอเรื่องราวปัญหาในชุมชนยิ่งทำให้ตนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ และจะนำละครหุ่นกะลาเรื่องราวในชุมชน และเรื่องราวที่ชวนเด็กเล็ก เด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชนชวนมากินผักกัน

สุขด้วยกะลา จึงเป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์และพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะชุมชน (Healthy Space) ที่เชื่อมโยงกับประเด็นทางด้านสุขภาวะโดยเฉพาะเรื่องของ อาหาร โภชนาการสมวัย โดยประเด็นดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนผ่านกะลา ทั้งนี้ ถือเป็นการสร้างพลเมืองตื่นรู้ด้วยสื่อศิลปวัฒนธรรมผ่านกะลามะพร้าวสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยสื่อศิลปวัฒนธรรมในชุมชน

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=19580

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us