|

อาสาสมัครควบคุมยาสูบ 5 จชต. ร่วมถอดบทเรียนขับเคลื่อนลดอัตราการสูบ – ป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดึงอาสาสมัครควบคุมยาสูบ 5 จังหวัดภาคใต้ร่วมถอดบทเรียนผลการดำเนินงานด้านการควบคุมยาสูบ เพื่อวางกรอบและทิศทางในอนาคต หวังขับเคลื่อนลดอัตรา ควบคุมยาสูบ พร้อมป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่

วันนี้ (19 กันยายน 2560) ที่ สยามนครินทร์ คอมเพล็กซ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ดร.ทพ.วิรัตน์ เอื้องพูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 12 สงขลา เป็นประธานเปิดโครงการ “การประเมินติดตามและถอดบทเรียน การดำเนินงานของผู้ผ่านการอบรมด้านการควบคุมยาสูบในเขตบริการที่ 12” โดยมี ดร.ซอฟียะห์ นิมะ อาจารย์ประจำสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ และหัวหน้าโครงการฯ พร้อมด้วย วิทยากร และอาสาสมัครควบคุมยาสูบเข้าร่วมงานกับอย่างคับคั่ง

ดร.ซอฟียะห์ นิมะ อาจารย์ประจำสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ และหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัญหาด้านยาสูบที่ทวีความรุนแรง เริ่มมีการเกิดนักสูบหน้าใหม่ที่อายุน้อยลง ปัญหาดังกล่าวไม่ว่าจะเกิดจากผู้สูบโดยตรงหรือเกิดจากสร้างควันบุหรี่หรือที่เรียกว่า บุหรี่มือสอง ล้วนทำให้เกิดปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ สังคมโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีการริเริ่มดำเนินงานจัดอบรมอาสาสมัครควบคุมยาสูบ มีผู้ร่วมดำเนินงานจากหลายภาคส่วน ประกอบด้วย หน่วยบริการเขต 12 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายสุขภาพ ครูอนุบาลโรงเรียนนำร่องในจังหวัดสงขลา แกนนำเยาวชน ตลอดจนผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ครู และอสม.

โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตรา ควบคุมยาสูบ ป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพจากปัญหายาสูบในพื้นที่ โดยผ่านการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในมิติทางวัฒนธรรม การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ต่อการจัดบริการช่วยเลิกยาสูบและป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ ตามการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ผู้ผ่านการอบรมเหล่านี้มีหน้าที่ในการร่วมกับชุมชนของตนในการออกแบบนโยบายเพื่อการควบคุมยาสูบ ทั้งในด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ การเสริมสร้างหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านควบคุมยาสูบ เช่น การสร้างมารตการทางสังคม และวางแผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองสุขภาพสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ รวมทั้งจัดการกับพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ อีกทั้ง เพื่อให้ผู้เข้ารับการประชุมสามารถปฏิบัติงานด้านขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านควบคุมยาสูบผ่านกลไกต่างๆ อาทิ การผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการทางสังคมที่เอื้อต่อการสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ในระดับครัวเรือนและชุมชน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ผ่านการอบรมได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน โดยการเริ่มกระตุ้นจิตสำนึก และความรับผิดชอบของประชาชนในชุมชน ให้มีจิตสาธารณะ และร่วมกันคิด ร่วมกันจัดหา ร่วมกันเรียนรู้ โดยการสำรวจข้อมูลปญหาและศักยภาพของชุมชน การวิเคระห์สาเหตุ แนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งการดำเนินงานของผู้ร่วมเป็นอาสาสมัครควบคุมยาสูบได้ดำเนินมาระยะหนึ่งแล้วนั้น ถึงเวลาที่ต้องเกิดการประเมินติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียนในโครงการ “ การประเมินติดตามและถอดบทเรียน การดำเนินงานของผู้ผ่านการอบรมด้านการควบคุมยาสูบในเขตบริการที่ 12” เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้รูปแบบการดำเนินงานในแต่ละบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน พร้อมทั้งเรียนรู้สภาพปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานด้านควบคุมยาสูบ เพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาออกมาเป็นกิจกรรม โครงการที่จะแก้ไขปัญหาสถานการณ์ยาสูบในชุมชน พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทาง วางยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านควบคุมยาสูบ แผนการดำเนินงานในอนาคตที่อาสาสมัครพึงอยากจะให้เกิดในโอกาสต่อไป

ทั้งนี้ ภายในงานมีพิธีมอบเอกสาร MOU ให้กับโรงเรียนเอกชนนาร่องจัดสิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่เพื่อเด็กปฐมวัย จ.สงขลา 10 โรง, การเสวนา “ทิศทางการดาเนินงานควบคุมยาสูบในภาคใต้” โดยตัวแทนองค์กรจาก สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ศูนย์วิจัยและ จัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา (สสจ.สงขลา) และตัวแทนองค์กรมุสลิมจากสถาบันวิชาการในภาคใต้, เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ประสบการณ์การดาเนินงานควบคุมยาสูบในพื้นที่ของผู้ที่ผ่านการอบรม”, การระดมสมอง “ก้าวต่อไปของการดาเนินงานควบคุมยาสูบในแต่ละจังหวัด” และ นําเสนอ การให้ข้อเสนอแนะ และการแสดงเจตนํารมณ์ ในก้าวต่อไปในการดาเนินงานควบคุม ยาสูบของแต่ละจังหวัด อีกด้วย

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=21029

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us