|

“รัตภูมิวิทยา” ชู “KIDS – DE Model” เสริมสร้าง นร. เป็นคนดี

IMG_3589

การที่จะพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง และมีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อน กระบวนการการพัฒนาทั้งในระยะกลางและระยะยาว โดยเฉพาะ “การพัฒนาคน” ให้มีการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 กระทรวงศึกษาธิการมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษา มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดีมีความสามารถและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข ภายใต้วิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 ที่ว่า “มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคม”

IMG_3588

นายกิตติ์ภูมิ คงศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนรัตภูมิวิทยา กล่าวถึงนโยบายในการบริหารงานโรงเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ว่า ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา มีความตระหนักต่อการเสริมสร้างความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนรัตภูมิวิทยาโดยใช้ KIDS – DE Model เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และสนองจุดเน้นตามนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นครู บุคลากรในโรงเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยตัวชี้วัดของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) ที่เรียกว่า “ภูมิจริยธรรม” เป็นมาตรฐานวัดความดีงามที่สังคมยอมรับไว้ 9 ประการ คือ 1. มีคุณธรรมจริยธรรม 2. มีระเบียบวินัย 3. มีจิตสำนึกที่ดี 4. รักการเรียนรู้ 5. มีความเอื้ออาทรบุคคลในครอบครัว 6. มีความเป็นไทยและวัฒนธรรมไทย 7. มีสุขภาพกายและจิตที่ดี 8. มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย และ 9. ไม่มั่วสุมอบายมุข

IMG_3587

โรงเรียนมุ่งมั่นในการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทุกคน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศชาติ พัฒนาให้เป็นพลเมืองดี มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ อยู่ในระเบียบวินัย เป็นผู้นำ มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ เป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ โดยจัดกิจกรรมเสริมทักษะให้นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เช่น 1. กิจกรรมค่ายพุทธบุตร 2. กิจกรรมเรียนเพิ่มเวลารู้ 3. กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการ 4. กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา 5. กิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรี – นาฏศิลป์ 6. กิจกรรมโครงการห้องเรียนพิเศษ SMEP และ SMP 7. กิจกรรมทวิศึกษา 8. กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ

IMG_3590

ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนรัตภูมิวิทยามีผลงานในการปฏิบัติงานและรางวัลแห่งความภาคภูมิใจมากมาย อาทิ ได้พัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาจนผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจาก สมศ.ในรอบที่ 3, พัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจนได้รับการรับรองเข้าสู่โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 3 โรงเรียนดีใกล้บ้าน, ได้รับรางวัลผู้บริหารคุณธรรมดีเด่น, ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยสานักผู้ตรวจราชการแผ่นดิน, ได้รับรางวัลสถานศึกษาพอเพียง โดยกระทรวงศึกษาธิการ, ได้รับรางวัลผู้บริหารระดับสถานศึกษาดีเด่นระดับชาติ โดยสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย และได้รับรางวัลโรงเรียนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น

IMG_3591

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน การศึกษาไทยนั้นตกต่ำลงอย่างมาก และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นแทบจะกลายเป็นปัญหาคาราคาซัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้คือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเหล่าเด็กไทยที่เข้าเรียนในระบบการศึกษาไทย และปัญหาเหล่านี้ แทบจะเห็นกันอย่างชินชา เช่นปัญหาเหล่านี้ 1. คุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่ำในการจัดการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test: O-Net) ในทุกๆ ปีนั้น ผลที่ออกมามักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกๆ ปี นั่นก็คือ เด็กไทยมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่เสมอๆ หรือแม้แต่การศึกษาขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economics Co-operation and Development, OECD) ที่รู้กันในชื่อของ PISA (Programme for International Students Assessment) พบว่า นักเรียนไทยที่จัดได้ว่ามีความรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูงมีเพียง 1% เท่านั้นเอง ทั้งๆ ที่เราใช้เวลาในการเรียนการสอนมากกว่า 8 ชม. ต่อวัน PISA ยังพบว่า เด็กไทย 74% อ่านภาษาไทยไม่รู้เรื่อง คือมีตั้งแต่อ่านไม่ออก อ่านแล้วตีความไม่ได้ วิเคราะห์ความหมายไม่ถูก หรือแม้แต่ใช้ภาษาให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาวิชาอื่นๆ แต่เรากลับมองสภาพเหล่านี้ด้วยความเคยชิน และยังคงเชื่อว่าลูกหลานของเราจะต้องได้รับการพัฒนาโดยการจัดการศึกษาแบบเดิมๆ อย่างทุกวันนี้

IMG_3592

2. ปัญหาของครู ในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่คุณภาพการศึกษาสูงอันดับต้นๆ ในโลก วิชาชีพที่ประชาชนนิยม และให้การยอมรับนับถือมากที่สุดคือ วิชาชีพครู แต่ในประเทศไทย สังคมกลับเห็นว่าในปัจจุบันวิชาชีพนี้ ไม่เป็นที่นิยมเท่ากับการประกอบอาชีพหมอ หรือวิศวกรตามที่สังคมได้คาดหวัง ประเทศไทยมีการผลิตครูมากถึงปีละประมาณ 12,000 คน ในขณะที่อัตราการบรรจุครูใหม่ในแต่ละปีมีเพียง 3-4 พันคนเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าในแต่ละปี บัณฑิตครูที่จบออกมาใหม่จะมีการตกงานเบื้องต้นเกือบหนึ่งหมื่นคน แต่ในภาพรวมประเทศไทยยังนับว่าขาดแคลนครู โดยเฉพาะครูในสาขาวิชาสำคัญๆ ยังพบอีกว่า ไม่มีความชัดเจนทางนโยบายในการที่จะสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่ตรงกับเนื้อหาสาระ ในทางตรงกันข้ามยังกลับพบมาตรการในเชิงกีดกันอีกด้วย ปัญหาที่เป็นอมตะของครูไทยเห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องหนี้สินครู ที่เป็นคำถามว่า ทาไมเรื่องหนี้สินจึงจะต้องเป็นเรื่องที่คู่กับวิชาชีพนี้ อันที่จริง หากคิดให้เป็นธรรม ก็คงต้องยอมรับว่าประเทศไทยเรามีโครงสร้างเงินเดือนในระบบราชการที่โบราณ จนไม่เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เรามีความแตกต่างระหว่างเงินเดือนแรกเข้าทำงานกับเงินเดือนที่พึงได้รับสูงสุดในชีวิตการทำงานถึงเกือบ 10 เท่า ในขณะที่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบความแตกต่างเพียง 3-4 เท่า ซึ่งหมายความว่า บุคคลจะได้รับค่าจ้างเมื่อแรกเข้าทำงานสูงมากเพียงพอที่จะยังชีพได้ เมื่อครูไม่ได้รับค่าตอบแทนที่จะสามารถดำรงชีพได้อย่างปกติ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดแรงจูงใจให้คนเก่งมาเป็นครูเมื่อครูไม่เก่ง เด็กจะเก่งได้อย่างไร

IMG_3593

สำหรับโรงเรียนรัตภูมิวิทยาเลขที่ ถนนเพชรเกษม (สายเก่า) ต.กาแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เริ่มทำการสอนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2513 มี 2 ห้องเรียน นักเรียน 80 คน โดยอาศัยอาคารเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ซึ่งเป็นโรงเรียนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มีครูประจาการ 5 คน มีนายไพบูลย์ เสรีรัตน์ ดารงตำแหน่งเป็นครูใหญ่ และเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารใหม่ จึงโอนย้ายโรงเรียนไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียนจำนวน 1,115 คน และมีข้าราชการครู/บุคลากรจำนวน 65 คน

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=21858

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us