|

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนภาคใต้ด้านเศรษฐกิจ เดือน ต.ค. ปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากรายได้เกษตรที่ลดลง

ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ ในเดือนตุลาคม 2560  เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนภาคครัวเรือน ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.20 เพศชาย ร้อยละ 46.80 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.70 และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 31.10

1

2

ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ เดือนตุลาคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน ส่วนหนึ่งมาจากรายได้จากภาคเกษตรที่ปรับตัวลดลง

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงานโอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ เนื่องมาจากปัจจัยของสินค้าเกษตร ยางพาราและปาล์มน้ำมันที่มีแนวโน้นลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนตุลาคม โดยน้ำยางพาราสดมีราคา 42.50 บาท ซึ่งราคาลดลงถึง 5.50 บาทต่อกิโลกรัม (การยางแห่งประเทศไทย) ส่งผลให้รายได้ของประชาชนลดลง ประกอบกับประชาชนมีความกังวลและระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆ

อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้านรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ การเดินทาง ของฝาก ฯลฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยบวกจากการเปิดฤดูการท่องเที่ยวทะเลฝั่งอันดามันและการเดินทางของประชาชนเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอีกด้วย

ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แลรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 32.50 และ 34.30 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ36.40 และ 43.30 ตามลำดับ โดยคาดว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญและปัจจัยจากราคาสินค้าเกษตร

ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 36.20 รองลงมา คือ หนี้สินครัวเรือน และราคาสินค้า คิดเป็นร้อยละ 28.10 และ 12.70 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก คือ ค่าครองชีพ รองลงมา คือ หนี้สินครัวเรือน และ ราคาสินค้า ตามลำดับ

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=22945

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us