|

สธ.สงขลา ร่วม สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เดินหน้าสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงควบคุมการบริโภคยาสูบ

PNEWS17111309320900113

สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เป็นองค์กรที่มีสมาชิกทั้งจากภาครัฐและเอกชน ร่วมขับเคลื่อนงานในเชิงรุก พัฒนาเพิ่มศักยภาพภาคีเครือข่ายภาคใต้ในการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงปัญหาและโทษพิษภัยของบุหรี่

PNEWS17111309320900101

นายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ได้เห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมการรณรงค์คุ้มครองสุขภาพของประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ และเลือกจังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ในการจัดประชุม “ขับเคลื่อนสังคมไทยปลอดบุหรี่ครั้งที่ 3” ในวันนี้ (13 พ.ย. 60) ณ โรงแรม บี.พี. สมิหลา บีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อระดมความคิดเห็นในการพัฒนาศักยภาพ เผยแพร่ความรู้ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบ ทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข โรงงาน ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 400 คน โดยมี นายศักระ กปิลกาญจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี และมีนายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข , นายพงศ์เทพ ไข่มุกด์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี , ดร.นายแพทย์บัณฑิต ศรไพศาล รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ , ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ , ศาสตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ เลขาธิการสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ , คณะกรรมการสมาพันธ์ฯ และคณะกรรมการสมาพันธ์จังหวัด ร่วมเป็นเกียรติในพิธี

PNEWS17111309320900106

 

นายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล เปิดเผยถึงสถานการณ์การบริโภคยาสูบในจังหวัดสงขลา ว่า มีแนวโน้มการสูบบุหรี่สูงขึ้น จากร้อยละ 22.81 ปี 2554 เพิ่มเป็นร้อยละ 23.5 ในปี 2560 (ข้อมูล 8 พ.ย. 60) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศและจากผลการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วม “โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน” ปี 2560 – 2562 จังหวัดสงขลามีกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 53,121 คน มีผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ ในปี 2560 จำนวน 33,174 คน คิดเป็นร้อยละ 62.45 สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จหลังติดตามครบ 6 เดือน จำนวน 5,926 คน คิดเป็นร้อยละ 17.86 มาตรการสำคัญในการดำเนินงานเพื่อเชิญชวนให้สมัครใจเลิกสูบบุหรี่ โดยให้สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ จัดคลินิกคัดกรองผู้สูบบุหรี่บูรณาการในคลินิกให้บริการอื่นๆ เปิดให้คำปรึกษาสำหรับผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ ในคลินิกเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลทุกแห่ง และเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทุกแห่ง นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ความรู้ให้เห็นถึงโทษพิษภัยของบุหรี่ซึ่งมีผลทั้งต่อตัวผู้สูบโดยตรงและผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองและมือสาม รวมทั้งการใช้พลังเครือข่าย อสม.ในการค้นหาและเชิญชวนให้สมัครใจเข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่ บุหรี่เมื่อเกิดการเผาไหม้จะมีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด เช่น นิโคติน ทาร์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ แอมโมเนีย สารกัมมันตรังสี เป็นต้น

PNEWS17111309320900108

ทั้งนี้ สารพิษในบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย ได้แก่ โรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ปอดอุดกั้น โรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ โรคระบบทางเดินอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาการตาบอด การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แท้งบุตร

PNEWS17111309320900114

สำหรับผู้ที่ได้รับควันบุหรี่หรือผู้สูบบุหรี่มือสอง จะทำให้เกิดโรคหอบหืด มะเร็งปากมดลูก มีผลต่อทารกในครรภ์อาจเกิดการแท้งหรือพิการแต่กำเนิด เด็กที่คลอดออกมาจะมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคมะเร็งปอด และโรคถุงลมโป่งพอง/ปอดอุดกั้นในปี 2554 – 2558 โดยในส่วนของจังหวัดสงขลา พบอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงสุด รองลงมา คือ โรคมะเร็งปอดและโรคถุงลมโป่งพอง ผู้ที่สนใจต้องการเลิกบุหรี่ สามารถรับบริการได้ที่ หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่งใกล้บ้าน หรือโทรศัพท์ปรึกษา สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600

PNEWS17111309320900111

สุธิดา พฤกษ์อุดม สวท.สงขลา

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=23111

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us