|

มรภ.สงขลา ฟื้นโนราตัวอ่อน ร.ร.บ้านกะทิงสร้างสรรค์นวัตกรรมถ่ายทอด-ดึงชุมชนร่วมอนุรักษ์

โนราตัวอ่อน ร.ร.บ้านกะทิง

มรภ.สงขลา ทำวิจัยพลิกฟื้นโนราตัวอ่อน ร.ร.บ้านกะทิง ออกแบบนวัตกรรมการถ่ายทอด แก้ปัญหาขาดแคลนครูผู้สอน ใช้เฟสบุ๊คเป็นสื่อกลางการสอนและเผยแพร่ผลงาน พร้อมดึงชุมชนร่วมสร้างความเข็มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

อ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงงานวิจัยถ่ายทอดโนราตัวอ่อนโรงเรียนบ้านกะทิง ต.ทับช้าง อ.นาทวี จ.สงขลา ว่า วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและออกแบบนวัตกรรมการถ่ายทอดโนราตัวอ่อน ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1. การยืดหยุ่นร่างกาย  2. การดัดร่างกายด้วยท่ารำโนราตัวอ่อน 3. การวางโครงสร้างมือสำหรับการรำโนรา  4. การวางโครงสร้างเท้าสำหรับการรำโนรา 5. การถ่ายทอดทำรำโนราตัวอ่อน และ 6. การใช้โซเชียลมีเดีย  (Facebook) เป็นสื่อกลางระหว่างผู้เรียนกับครูโนราเพื่อสั่งการบ้านท่ารำ  ตรวจการบ้าน นัดหมายเวลาฝึกซ้อม ประชาสัมพันธ์ผลงานการเผยแพร่ โดยมีการก่อตั้งกลุ่มโนราโรงเรียนบ้านกะทิง ชุมชนบ้านเกาะงุน- กะทิง ซึ่งการรับงานแสดงแต่ละครั้งนักเรียนมีรายได้ แต่ละคนมีบัญชีเงินฝากสหกรณ์หมู่บ้าน และรายได้ส่วนหนึ่งหักเข้ากลุ่มโนราเพื่อจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการรำโนรา

อ.ทัศนียา คัญทะชา

อ.ทัศนียา กล่าวว่า การออกแบบนวัตกรรมการถ่ายทอดโนราตัวอ่อน ออกแบบขึ้นเพื่อต้องการแก้ปัญหาการขาดครูโนราในโรงเรียบบ้านกะทิง โดยเริ่มกระบวนการออกแบบจากการศึกษาวิธีการถ่ายทอดโนราตัวอ่อนจากครูโนรา  2  ท่าน  คือ ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ และ นางอรทัย ราชรังรองนุชิต นำมาวิเคราะห์และพัฒนาเป็นนวัตกรรมการถ่ายทอดโนราตัวอ่อน จากนั้นนำไปใช้ถ่ายทอดให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านกะทิง 8 คน สามารถทำให้นักเรียนรำโนราตัวอ่อนได้ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ซึ่งการถ่ายทอดโนราตัวอ่อนที่พัฒนาขึ้นใหม่โดยนำ Facebook เข้ามาใช้ด้วย ทำให้นักเรียนสามารถฝึกท่ารำได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องมีครูอยู่ในโรงเรียน อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์การรำโนราตัวอ่อน ประชาสัมพันธ์ให้เด็กๆ สนใจการแสดงพื้นบ้านโนรามากขึ้น   

อ.ทัศนียา เมื่อครั้งฝึกโนราตัวอ่อน

ประธานโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง กล่าวอีกว่า ผลจากการใช้นวัตกรรมถ่ายทอดโนราตัวอ่อน ทำให้โรงเรียนบ้านกะทิงกลับมามีชื่อเสียงทางด้านโนราอีกครั้ง และการกลับมาครั้งนี้ได้มีการก่อตั้งกลุ่มโนราโรงเรียนบ้านกะทิงขึ้น ซึ่งเป็นการดูแลร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ทำให้กลายเป็นชุมชนที่มีความเข็มแข็งทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืน โดยกลุ่มโนราโรงเรียนบ้านกะทิงได้เผยแพร่โนราตัวอ่อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี  2557 เช่น รำงานพิธีเปิดกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบลทับช้าง รำโนราพิธีเปิดงานรับปริญญาหนูน้อย รำโนราในงานรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่  รำโนราในงานเกษียณอายุราชการ Mr.Marzuki ผู้อำนวยการโรงเรียน Kebangsaan รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น

ออกแสดงหาประสบการณ์

 ปัจจุบันกลุ่มโนราโรงเรียนบ้านกะทิง ได้รับสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องดนตรี ชุด และชุดโนรา 15 ชุดจากผู้ใหญ่บ้านจักรพร วิศพันธุ์ ผู้นำชุมชนบ้านเกาะงุน-กะทิง และ นายโสมนัส นวลแก้ว สมาชิกองค์บริหารส่วนตำบลทับช้างจัดซื้อเพิ่มอีก 15 ชุด ส่วนการบริหารจัดการของกลุ่มชาวบ้านมีการแบ่งฝ่ายรับผิดชอบออกเป็น 6  ฝ่าย ได้แก่ 1. ฝ่ายฝึกซ้อม  2. ฝ่ายแต่งหน้า 3. ฝ่ายยานพาหนะ 4. ฝ่ายนักแสดงโนรา 5. ฝ่ายนักดนตรี และ 6. ฝ่ายการเงิน นอกจากนั้น นักเรียนทุกคนที่รำโนราและนักดนตรีมีรายได้จากการแสดงโนราครั้งละ 100 บาท เป็นรายได้เสริมระหว่างเรียนอีกด้วย” ประธานโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง กล่าว

ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น

23844603_10208339612048528_3150115923537141130_n

18157280_10207079206179169_6405881615827228999_n

13879275_10205272337448580_5553004627929262961_n

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=24952

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us