|

ท่องเที่ยววิถีชุมชน ‘ท่าหิน’ – ‘คลองแดน’ วันธรรมดาก็เที่ยวได้

DSCF1944

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เดินหน้าขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดึง 2 ชุมชนในจังหวัดสงขลา ‘ท่าหิน’ – ‘คลองแดน’ เข้าร่วม ชูแนวคิด สัมผัสวิถีภูมิปัญญาโหนด นา เล – ชมสวนผสมทางการเกษตรตามแนววิถีเศรษฐกิจพอเพียง เที่ยวได้ทุกวัน ไม่ใช่แค่วันหยุด

DSCF1830

เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 61 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นำโดย ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช อาจารย์ประจำสาขาอุตสาหกรรมบริการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ชุมชนท่าหิน อำเภอสทิงพระ และชุมชนคลองแดน อำเภอระโนด ซึ่งเป็น 2 ใน 10 ชุมชน ที่ได้ร่วมโครงการวิจัย ตามโครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ซึ่งทีมวิจัยฯ ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจชุมชนและได้ทำแผนพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้กับชุมชนท่าหินภายใต้แนวคิด สัมผัสวิถีภูมิปัญญาโหนด นา เล และชุมชนคลองแดน ภายใต้แนวคิด นำชมสวนผสมทางการเกษตรตามแนววิถีเศรษฐกิจพอเพียง

DSCF1937

ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช อาจารย์ประจำสาขาอุตสาหกรรมบริการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยว่า โครงการวิจัยตามโครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เป็นโครงการที่ต่อยอดจากงานวิจัยที่เคยทำมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งทำเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่การหาศักยภาพการท่องเที่ยวในชุมชน เรื่องการจัดการ การตลาด ซึ่งเป็นการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน โดยในช่วงแรกมีชุมชนเข้าร่วมโครงการทั้งหมดประมาณ 20 ชุมชน แต่เมื่อได้ศึกษาเรื่องศักยภาพของชุมชนที่พอจะทำการตลาดได้ ทำให้เหลือแค่ 10 ชุมชน และได้ยกระดับชุมชนขึ้นมา เพื่อให้คนมาท่องเที่ยวในชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ได้รับประโยชน์ ทั้งในเรื่องอาหาร ที่พัก กิจกรรมท่องเที่ยว ของที่ระลึก นักสื่อความหมายท้องถิ่น และยานพาหนะเดินทาง ซึ่งคิดว่าการท่องเที่ยวแบบนี้ชาวบ้านจะได้ประโยชน์

“การทำโครงการนี้ต่อยอดมาจาก 10 ชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคลองแดนเป็น 1 ใน 10 ชุมชนที่มีความพร้อม ทั้งเรื่องศักยภาพ การตลาด และเว็บไซต์ โดยคลองแดนในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ จะมีคนมาเที่ยวเป็นประจำอยู่แล้ว แต่อยากให้คนมาเที่ยวคลอดงแดนในวันธรรมดาด้วย ได้ไปสัมผัสวิถีชีวิต อาทิ รับประทานอาหารท้องถิ่น ไหว้พระ นั่งเรือ นอนริมน้ำ นั่งรถอีแต๊กชมทุ่งนา เที่ยวสวนเกษตรพอเพียง ซื้อของที่ระลึกต่างๆ ซึ่งยังไม่ค่อยมีคนมาเที่ยว โดยแต่ละชุมชนจะมีความแตกต่างกัน”

ดร.ปรัชญากรณ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีชุมชนที่เข้าร่วมโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนจำนวนกว่า 700 ชุมชน การท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นตัวที่ช่วยชุมชนได้ ซึ่งในปัจจุบันการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้เป็นกระแสของโลก โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเรียกว่า “ประสบการณ์ที่ได้จากการเดินทางท่องเที่ยว” ซึ่งประสบการณ์ส่วนหนึ่งนั้นอยู่ในชุมชน

DSCF1927

DSCF1930

DSCF1931

DSCF1932

DSCF1940

DSCF1942

DSCF1943

DSCF1944

DSCF1946

DSCF1947

DSCF1948

สำหรับชุมชนท่าหิน จะมีเสน่ห์ในเรื่องวิถีชีวิตในรูปแบบ ภูมิปัญญาโหนด นา เล ซึ่งวิถีชีวิตของคนท่าหินอยู่กับโหนด กับนา กับเล มีการพึ่งพาตัวเอง โดยการนำตาลโตนดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ สบู่ โลชั่น โดยใช้วัตถุดิบจากตาลโตนด ตั้งแต่รากถึงใบ หากนักท่องเที่ยวสนใจมาสัมผัสวิถี โหนด นา เล ในรูปแบบของคนท่าหิน ซึ่งชาวบ้านมีโฮมสเตย์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวในราคาเพียง 200 บาท ต่อคน รวมอาหารเช้า และยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้ได้สัมผัส อาทิ การทำสบู่จากตาลโตนด หยอดน้ำตาลแว่น ทำขนม จักสาน ซีข้าว ดำนา ก่อนนอนจะมีมโนราเด็ก หนังตะลุง เพลงบอก ให้ได้ชมกัน และในช่วงเช้าอีกวันจะมีการลงเรือดูวิถีชีวิตชาวเลในทะเลสาบสงขลา ดูการเก็บอวน กู้ไซ ทอดแห และทานข้าวห่อใบบัวบนเรือ และเมื่อกลับมาที่บ้านจะมีการทำกิจกรรมต่างๆ อีก อาทิ การเพาะเห็ด ทำนาในโรงสี เลี้ยงสัตว์ ทำแก๊สชีวภาพ เผาถ่าน ทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ หากใครสนใจสามารถโทรไปสอบถามราคาและจองทริปล่วงหน้าได้ที่ 081-275-7156 ผู้ประสานงานศูนย์เรียนรู้วิถีโหนด–นา–เล

DSCF1855

DSCF1834

DSCF1840

DSCF1836

DSCF1837

DSCF1858

DSCF1848

DSCF1863

DSCF1864

DSCF1866

DSCF1880

DSCF1883

DSCF1885

DSCF1901

ทั้งนี้ โครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ได้รับการสนับสนุนจาก UCCN หรือ หน่วยประสานงานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยให้งบประมาณมหาวิทยาลัยในการดำเนินการ

‘การท่องเที่ยวโดยชุมชน’ กับ ‘การท่องเที่ยวในชุมชน’ นั้นต่างกัน ‘การท่องเที่ยวโดยชุมชน’ คือ ชาวบ้านจะมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน มีความแบ่งปันกัน แต่ ‘การท่องเที่ยวในชุมชน’ คือ การขับรถไปเที่ยวแล้วกลับ ซึ่งชาวบ้านอาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไร ได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ

DSCF1904

DSCF1911

DSCF1914

DSCF1912

DSCF1913

DSCF1925

DSCF1920

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=26273

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us