|

มรภ.สงขลา สอน นร. ใช้ไอทีเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืชท้องถิ่น สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ร่วมกับ อบต.รำแดง

 มรภ.สงขลา ดึงนักเรียน-ชุมชน ใช้สื่อดิจิตัลจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืช ต.รำแดง อ.สิงหนคร ห่วงพืชท้องถิ่นอย่างตาลโตนดเสี่ยงสูญพันธุ์ เหตุถูกคุกคามหนัก เร่งสร้างความตระหนักร่วมอนุรักษ์ สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ผศ.ดร.ศศลักษณ์ ทองขาว

ผศ.ดร.ศศลักษณ์ ทองขาว อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืชท้องถิ่นโดยใช้สื่อดิจิทัล ให้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไปในตำบลรำแดง ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรวบรวม ขยายพันธุ์ และจัดทำบัญชี ชนิดพันธุ์พืชบนต้นตาลโตนด ใน ต.รำแดง ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดทำขึ้นในพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย และเป็นโครงการต่อเนื่องในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชร่วมกัน เช่น กล้วยไม้ บัว เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้คนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของพืชท้องถิ่น และทราบถึงประเภทของพืชคุกคามที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อสภาวะการสูญพันธ์ของพืชเฉพาะในท้องถิ่น

ผศ.ดร.ศศลักษณ์ กล่าวว่า การทำบัญชีชนิดพันธุ์พืชถือเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญ สามารถนำมาใช้ในการวางแผนและจัดการทรัพยากรของชาติ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตลอดจนอนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.รำแดง ที่มีวิถีชีวิต “โหนด นา ไผ่ คน” ปัจจุบันพบว่าตาลโตนดซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง จนเสี่ยงต่อสภาวะการสูญพันธุ์เป็นอย่างมาก ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสูญพันธุ์คือมนุษย์ เนื่องจากมีการประโยชน์จากพืชป่าหายากอย่างมากมาย แต่ขาดการดูแลและอนุรักษ์ ประกอบกับประชาขนขาดความรู้เกี่ยวกับพืชท้องถิ่นที่มีอยู่ จึงทำให้เกิดการทำลายทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งหากไม่มีการดูแลหรือการอนุรักษ์ก็จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของพืชท้องถิ่นในไม่ช้า

27867008_10214759635842750_6904251622106704801_n

มรภ.สงขลา เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เห็นความสำคัญของพืชประจำถิ่น จึงได้ลงพื้นที่ให้ความรู้นักเรียน ป.5-ป.6 และประชาชนที่สนใจ ฝึกใช้แอพพลิเคชันเกี่ยวกับพันธุ์พืช เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพืชในพื้นที่ ต.รำแดง อย่างน้อย 50 ชนิด โดยจัดทำเป็นระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้สามารถค้นหาชื่อพรรณไม้ ประโยชน์และคุณลักษณะของพืชพันธุ์ชนิดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวและว่า

27750685_10214759636962778_4721231816092362779_n

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชน ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชให้แพร่หลาย สามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่เมื่อครั้งปี พ.ศ. 2503 ที่ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ต้นยางนา และทรงให้รวบรวมพืชพันธุ์ไม้ของภาคต่างๆ ทั่วประเทศปลูกไว้ในสวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวพระราชดำริ และสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระองค์

27750550_10214759633042680_3505259239829814851_n

27867285_10156109694864287_2391018258706968217_n

27657229_10214759634282711_7855222915413957875_n

27654506_10214759633882701_4383547556180532762_n

27540912_10214759632642670_833008048682768499_n

27544913_10214759635602744_1047891297644962960_n

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=26668

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us