|

ท่องเที่ยววิถีชุมชน! ตามรอยประวัติศาสตร์วัด 7 แผ่นดิน ‘ชลธาราสิงเห’ นราธิวาส

DSCF3534

โครงการวิจัยการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เดินหน้าขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ลงพื้นที่ชุมชนวัดชลธาราสิงเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ร่วมกิจกรรม “รำลึกสยาม” ตามรอยประวัติศาสตร์วัด 7 แผ่นดิน (สมัยรัชกาลที่ 4 – รัชกาลที่ 10)

DSCF3523

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561 โครงการวิจัย การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) นำโดย อาจารย์ดวงฤดี อุทัยหอม อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พร้อมด้วย อาจารย์ในสถานศึกษาที่สอนสายสาระสังคมศึกษาและวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน บุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในจังหวัดสงขลา และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ชุมชนวัดชลธาราสิงเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เพื่อร่วมกิจกรรม “รำลึกสยาม” ณ วัดชลธาราสิงเห ตามรอยประวัติศาสตร์วัด 7 แผ่นดิน (สมัยรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 10) เพื่อร่วมกันศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศ และร่วมรณรงค์บันทึกภาพประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว และเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์และสื่ออื่นๆ ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่อไป

โดยก่อนหน้านี้ทางทีมงานวิจัยได้ลงสำรวจการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) จำนวน 10 ชุมชน เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการตลาดให้ชุมชนเป็นที่รู้จักและเปิดตัวกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น

DSCF3556

อ.ดวงฤดี อุทัยหอม อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวว่า โครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดภาคใต้ มี 10 ชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้าร่วมโครงการ และในส่วนของจังหวัดนราธิวาสมีชุมชนวัดชลธาราสิงเห อ.ตากใบ และชุมชนหมู่บ้านจุฬาภรณ์วัฒนา 12 อ.สุคิริน ซึ่งการจัดกิจกรรม “รำลึกสยาม” เป็นส่วนหนึ่งทางการตลาด และจากการลงมาสำรวจพื้นที่เมื่อปลายปีที่แล้ว วัดชลธาราสิงเหมีความพร้อมค่อนข้างสูง เป็นวัดที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ชาติไทยที่สมบูรณ์ และแสดงถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นวัด 7 แผ่นดิน และเมื่อมองกลับไป ที่นี่น่าจะมีกิจกรรมที่สามารถย้อนรอยประวัติศาสตร์ของความเป็นสยาม จึงได้เกิดกิจกรรม “รำลึกสยาม” ณ วัดชลธาราสิงเห ตามรอยประวัติศาสตร์วัด 7 แผ่นดิน (สมัยรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 10) ขึ้น

“วัดชลธาราสิงเหมีสถาปัตยกรรมต่างๆ อาทิ พระอุโบสถที่สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 กุฏิเจ้าอาวาสสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งข้างในกุฏิมีความงดงาม เป็นกุฏิที่มีความแตกต่างจากที่ๆ เคยเห็นมาในหลายๆ วัด มีช่องประตูหน้าต่างที่เรียกว่า ประตูบานจิ๋ว ซึ่งมีที่เดียวในประเทศ รวมทั้ง พิพิธภัณฑ์ในวัดชลธาราสิงเหจะสะท้อนความเป็นประวัติศาสตร์ และความเป็นอยู่ของชาวไทยพุทธและมุสลิมได้อย่างดีมาก และยังถือเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่ทำให้ประเทศไทยไม่สูญเสียเอกราชไปเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นวัดที่คู่ควรต่อการศึกษาและการมาเยี่ยมเยือนเป็นอย่างมาก รวมทั้ง ยังมีกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมต่างๆ ให้ได้สัมผัสและนำกลับไปเป็นของฝาก อาทิ ขนมคุนที หัตกรรมโบราณที่คนเฒ่าคนแก่ในพื้นที่ทำกัน ผ้าพื้นเมือง ลูกหยีกวน เป็นต้น”

อ.ดวงฤดี กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอฝากการท่องเที่ยวโดยชุมชนของวัดชลธาราสิงเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งที่นี่มีของดีเยอะแยะมากมาย และมีอะไรที่คนรุ่นใหม่ยังไม่รู้จักอีกเยอะ อยากเชิญชวนนักท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นครอบครัว หน่วยงานภาครัฐและเอกชน อยากให้ลองแวะมา เพราะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ใครๆ คิด ในทางกลับกันที่นี่ยังมีมิติต่างๆ ให้เราได้ศึกษา ค้นคว้า และได้เรียนรู้อีกเยอะแยะมากมายค่ะ

DSCF3553

ด้าน น.ส.บุญเรือน ไชยรัตน์ วิทยากรชุมชนวัดชลธาราสิงเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส กล่าวว่า วัดชลธาราสิงเห สร้างขึ้นตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 เมื่อปี 2403 สร้างโดยพระครูโอภาสพุทธคุณ ซึ่งในสมัยนั้นพื้นที่ขึ้นอยู่กับรัฐกลันตัน มีพระยากลันตันปกครองอยู่ และเมื่อมองไปรอบๆ ที่เต็มไปด้วยแม่น้ำ เลยได้ไปขอพื้นที่ตรงนี้จากพระยากลันตันเพื่อที่จะสร้างวัดขึ้นมา ส่วนอุโบสถได้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี 2416 พร้อมพระประทานและภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง โดยเมื่อก่อนวัดนี้ใช้ชื่อว่า วัดท่าพรุ หรือวัดเจ๊ะเหตามชื่อหมู่บ้านและตำบล และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชลธาราสิงเห เพราะวัดอยู่ติดริมน้ำ และคำว่า สิงเห มาจากบุญญาธิการของหลวงพ่อโอภาสพุทธคุณที่มีอิทธิฤทธิ์ดุจดั่งสิงห์ เลยรวมกันเป็น “ชลธาราสิงเห” และมีอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย” เพราะในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี 2452 ประเทศอังกฤษได้เข้ามาล่าอาณานิคมทำให้ต้องเสียดินแดนทั้งหมด 4 รัฐ ได้แก่ สายบุรี ตรังกานู เปอร์ลิส และกลันตัน ที่รวมพื้นที่อำเภอตากใบไปด้วย รัชกาลที่ 5 เลยทรงหยิบยกวัดชลธาราสิงเหเป็นข้ออ้างในการทักท้วง ปราบปรามเขตแดน โดยยกเอาอุโบสถ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญกับพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่สมควรที่จะตกไปเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อังกฤษจึงได้ยอมจำนนในเหตุผลของพระองค์ท่าน เลยถอยการปราบปรามเขตแดนออกไปทางใต้ไปจนถึงแม่น้ำสุไหงโก-ลก วัดนี้จึงได้ขนานนามว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”

“วัดชลธาราสิงเหมีจุดเด่นที่สวยงามโดยอาคารสถาปัตยกรรมแต่ละหลังจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นมาก เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความเป็นพุทธ มุสลิม และจีน ภูมิทัศน์รอบวัดเป็นบรรยากาศริมน้ำ ซึ่งสามารถเป็นที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยวมานั่งรับประทานอาหาร ให้อาหารปลาในวันหยุด รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา และมีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของคนตากใบ คือ ภาษาเจ๊ะเห ที่คนในพื้นที่ใช้พูดคุยสื่อสารกัน ซึ่งตอนนี้ภาษาเจ๊ะเหได้ขึ้นทะเบียนทางวัฒนธรรมประจำชาติ เป็นภาษาถิ่นที่ใช้กันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงมีอาหารถิ่นไว้รองรับนักท่องเที่ยว โดยการใช้เครื่องสมุนไพรเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุง อาทิ ปลาต้มส้มแขก ข้าวยำกือหยา ขนมคุนที เป็นต้น”

น.ส.บุญเรือน กล่าวอีกว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจะเป็นคณะเล็กๆ มาเป็นครบครัวบ้าง แต่มีเข้ามาทุกวัน เฉลี่ยแต่ละเดือนที่เคยทำสถิติไว้อยู่ที่ประมาณ 400 – 500 คน รวมถึงนักเรียนนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาดูงานอีกด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของการขับเคลื่อนงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ทางชุมชนได้พยายามค้นหาการละเล่นหรือสิ่งต่างๆ ที่ทำกันในสมัยก่อน และเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จัก มารื้อฟื้นใหม่ ซึ่งเวลานักท่องเที่ยวเข้ามาก็อยากนำเสนอสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

“ตากใบอาจจะเป็นเมืองชายแดนแต่เป็นพื้นที่ที่มีอากาศที่ดี อยู่ติดริมทะเลและแม่น้ำ รวมทั้งเป็นเมืองการค้าชายแดน ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้ที่อื่นๆ อยากขอเชิญชวนทุกท่านให้มาท่องเที่ยวที่วัดชลธาราสิงเห และชุมชนท่องเที่ยวตากใบกันค่ะ” น.ส.บุญเรือน กล่าวทิ้งท้าย

DSCF3444

DSCF3448

DSCF3451

DSCF3560

DSCF3555

DSCF3549

DSCF3540

DSCF3525

DSCF3469

DSCF3470

DSCF3474

DSCF3478

DSCF3485

DSCF3488

DSCF3497

DSCF3511

DSCF3463

DSCF3552

DSCF3459

DSCF3458

DSCF3455

DSCF3454

DSCF3452

DSCF3462

DSCF3457

DSCF3461

DSCF3501

DSCF3502

DSCF3504

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=27452

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us