|

รพ.กรุงเทพหาดใหญ่ แนะเคล็ดไม่ลับ สุขภาพดี ช่วงรอมฎอน

IMG_6784s

โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่แนะนำเคล็ดลับการดูแลสุขภาพแก่่ผู้ป่วย และประชาชนในช่วงรอมฎอน กับคำถามสุดฮิต เพื่อสุขภาพ ช่วงรอมฎอน

1.ดูแลสุขภาพอย่างไรให้ถือศีลอดได้ตลอดเดือน?

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไมเกรน โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ช่วงรอมฎอน 2 อาทิตย์ – 1 เดือน เพื่อให้แพทย์ประจำปรับยาให้เหมาะสม และ แนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวช่วงถือศีลอด เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตลอดทั้งช่วงรอมฎอน

2.ประโยชน์ของการถือศีลอดต่อสุขภาพ?

จากผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยโรคประจำตัวที่แพทย์ได้ปรับยา และแนะนำให้ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในช่วงถือศีลอด มีผลต่อสุขภาพโดยลดอาการและโรคเหล่านี้ลงได้ ได้แก่ ความดันโลหิต ไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด อาการอัลไซเมอร์ อาการพากินสัน และสามารถป้องกันโรคได้ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์

3.ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงถือศีลอด?

– การถือศีลอด ไม่ได้ทำให้โรคในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น

– งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ด เปรี้ยวจัด เพราะกรดจะออกมากขึ้น

– งดอัดลม เพราะมีผลต่อแผลในกระเพาะอาหาร

– ควรเคี้ยวอาหารช้าๆ รับประทานแต่พออิ่ม อย่าทานเยอะๆ เร็วๆ เพราะจะทำให้อืด แน่นท้อง

– ทำจิตใจให้สงบเพื่อลดความเครียด ส่งผลดีต่อโรคกระเพาะอาหาร

– ปรึกษาแพทย์ก่อนถือศีลอดเพื่อมีการปรับยาหรือแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

4.การปรับยาของผู้ป่วยโรคประจำตัวในช่วงรอมฎอน

– เปลี่ยนเวลากินยา ได้แก่ ยาเช้า ให้ไปกินเย็น ยาเย็นให้ไปกินหัวรุ่ง

– ปรับยาเบาหวาน : กินก่อนอาหารลดยาลง ครึ่งหนึ่ง เช่นเดิมกิน 1 เม็ด ก็กิน 1/2เม็ด เพื่อป้องกันน้ำตาลต่ำ

– ปรับยาฉีด : ยาฉีดเช้า ไปฉีดเย็น, ยาฉีดเย็น ไปฉีดหัวรุ่งแต่ลดเหลือแค่ครึ่ง dose

อย่างไรก็ตาม การปรับยาควรต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ประจำตัวเท่านั้น และ หากมีภาวะน้ำตาลต่ำหรือน้ำตาลสูง เช่น เป็นลม อ่อนเพลีย หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออกมาก ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ความรู้สุขภาพ

5.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงถือศีลอด?

– การถือศีลอดไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิต หรือ โรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยความดันก็สามารถถือศีลอดได้ แต่ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ประจำ เรื่อง การเปลี่ยนยาความดัน บางกลุ่มที่เป็นยาขับปัสสาวะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหน้ามืด วูบ จากความดันต่ำได้

– ส่วนการกินยาความดัน สามารถไปรับประทานเป็นมื้อเย็นแทนได้ โดยแพทย์จะแนะนำ

– หลีกเลี่ยง อาหาร เค็ม เช่น ปูดู หน้าปลา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

6.ป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในผู้ป่วยเบาหวานช่วงรอมฎอน

อาการของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำ ได้แก่ ใจสั่น หิว เหงื่อออก หน้ามืด อ่อนเพลีย เป็นลม ปลุกไม่รู้สึกตัว ฯลฯ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อเจาะน้ำตาลในเลือดหากมีค่าต่ำกว่า 60 ก็ควรละศีลอดเลย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาในช่วงรอมฎอน และงดออกกำลังกายแบบหนักๆ หรือการละหมาดก็เป็นการออกกำลังกายแบบหนึ่งแล้ว

7.ป้องกันภาวะน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานช่วงรอมฎอน

อาการของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลสูงได้แก่ หิวน้ำ ปัสสาวะบ่อย ตาพร่า ปากแห้งคอแห้ง ฯลฯ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อเจาะน้ำตาลในเลือดหากมีค่ามากกว่า 300 ก็ควรละศีลอดเลย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาในช่วงรอมฎอน และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทีละมากๆ แต่ควรรับประทานอินทผลัมแล้วค่อยละหมาด ทานข้าว 1 จานพออิ่ม ฯลฯ

8.การละศีลอดที่ถูกวิธี

ควรรับประทานแต่พออิ่ม ไม่ทานมากเกินไป ไม่ทานเร็วเกินไป ไม่ทานอาหารหวานจัด ควรรับประทานอินทผลัม 1-3 เม็ด แล้วไปละหมาด เพราะอินทผาลัมมีน้ำตาลฟรุ๊กโตส ไฟเบอร์ น้ำ แร่ธาตุ แมกนีเซียม จึงสามารถแก้กระหาย แก้หิวได้อย่างรวดเร็ว ควรจิบน้ำบ่อยๆ ให้ได้ 8 แก้ว/วันแนะนำรับประทานขนมปังโฮวีท สลัด ข้าวกล้อง

หากมีข้อสงสัยและต้องการขอคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติต่อได้ที่ 1719 คลินิกอายุรกรรม ชั้น 4 โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ หรือ www.bangkokhatyai.com และ facebook : โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่

นพ.วีรวรรธ คลายนา แพทย์อายุรกรรมประจำโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่

 

 

 

 

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=29681

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us