|

มรภ.สงขลา ชวนน้องเรียน “เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์” รุ่นพี่การันตีเลือกอาชีพได้หลากหลาย ตลาดงานรองรับ

12235118_10206257162402809_8324264218414343857_n

รุ่นพี่ มรภ.สงขลา ชวนน้องเรียนเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ เผยเรียนไม่ยาก จบแล้วตลาดรองรับ บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จองตัวทำงาน แถมยังเลือกทางเดินอาชีพได้หลากหลาย

นายกิตตินันท์ ช่วยดำ และ น.ส.ศศิลักษณ์ ชีทอง เพิ่งสำเร็จการศึกษาในโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ปัจจุบันทำงานที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จ.ชลบุรี เล่าว่า หลังจากพวกตนมีโอกาสฝึกงานที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใน จ.ชลบุรี เป็นระยะเวลา 4 เดือนและได้เรียนรู้งานทุกด้านของหน่วยงาน ก็ได้รับความไว้วางใจให้เข้าทำงานทันที เนื่องจากในแต่ละปีมีคนที่สำเร็จการศึกษาในศาสตร์แขนงนี้น้อยมาก ตลาดแรงงานจึงมีความต้องการบัณฑิตด้านนี้สูง บางบริษัทแทบจะจองตัวเลยก็ว่าได้ เช่นเดียวกับที่ตนและเพื่อนๆ ที่เรียนมาพร้อมกันต่างก็ได้งานทำเกือบ 100% ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับน้องๆ เพราะการแข่งขันไม่สูงมากเมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆ

29214696_1682808748453409_8947885541634867200_o

นายกิตตินันท์ กล่าวว่า การเรียนในศาสตร์แขนงนี้ไม่ได้ยากมากอย่างที่คิด โดยจะเรียนรู้ควบคู่กันไปทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งตนนำความรู้ที่ได้จากห้องเรียนมาปรับใช้ในการฝึกงาน โดยเฉพาะการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ และคิดค้นพัฒนาสูตรให้ดียิ่งขึ้น จนได้รับการยอมรับจากบริษัทที่เข้าฝึกงาน นอกเหนือจากการทำงานในบริษัทเอกชนแล้ว ผู้ที่เรียนด้านนี้ยังสามารถเป็นอาจารย์สอนในสายเทคนิคได้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีรุ่นพี่หลายคนจาก มรภ.สงขลา ทำงานเป็นครูสอนสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ในระดับ ปวช. ที่วิทยาลัยเทคนิค นอกจากนั้น ยังสามารถทำงานเป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับยาง

29598008_10213538331147477_9032742668929305266_n

น.ส.ศศิลักษณ์ กล่าวว่า หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า มรภ.สงขลา เปิดการเรียนการสอนในศาสตร์แขนงนี้ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้หญิงเข้ามาเรียนมากขึ้น และตลาดงานยังต้องการมากๆ เพราะมีสถาบันการศึกษาไม่กี่แห่งที่เปิดให้เลือกเรียน ที่สำคัญ การเรียนในสาขานี้ไม่ได้เน้นเรื่องยางพาราเพียงอย่างเดียว บางคนเข้าใจผิดว่าเรียนกรีดยางด้วยซ้ำ แต่จริงๆ แล้วเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตและตรวจสอบภัณฑ์เกี่ยวกับยางและพอลิเมอร์ทุกชนิด รวมถึงพลาสติกด้วย ซึ่งในช่วงของการฝึกงานตนได้รับมอบหมายให้ทดลองออกสูตรยางสำหรับทำผลิตภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่กระบวนการคิด นำไปทดลอง จนสามารถใช้งานได้จริงเป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของบริษัท

29791629_2081022248831394_637069268530538100_n

ทั้งนี้ ระหว่างเรียนที่ มรภ.สงขลา พวกตนมีโอกาสไปนำเสนอผลงานวิจัยด้านยางและพอลิเมอร์ ในเวทีวิชาการต่างๆ ซึ่งเป็นเหมือนการประชาสัมพันธ์โปรแกรมวิชาที่เรียนไปในตัว และเป็นโอกาสในการแสดงศักยภาพของ มรภ.สงขลา ให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีวิชาการ โดยงานวิจัยเรื่อง การศึกษาการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมสารตัวเติม 3 ชนิด ได้แก่ เขม่าดำเกรด N550 แคลเซียมคาร์บอเนต และ ซิลิกา และงานวิจัยเรื่อง อิทธิพลของชนิดและปริมาณสารตัวเติมต่อการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติ ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น (Best Paper Award)

34199592_10213957528267143_6870704727244406784_n

อาจารย์และ นศ.ในโปรแกรมฯ

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=30863

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us