|

อุตสาหกรรมนราธิวาส ผนึก ราชภัฎสวนสุนันทา ทดสอบตลาด ‘ผลิตภัณฑ์จากสิ่งปฏิกูล- วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว’ จากโรงงานอุตสาหกรรม จชต.

IMG-4275

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จัดงานแสดงนิทรรศการ ออกร้านเพื่อทดสอบตลาด พร้อมแถลงข่าวผลิตภัณฑ์โครงการสร้างนวัตกรรมจากสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้

วานนี้ (24 ก.ย. 61) ที่ ศูนย์การค้าไดอาน่าคอมเพล็กซ์ หาดใหญ่ จ.สงขลา นายคณบดี สัมพัชนี หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานในงานแถลงข่าวผลิตภัณฑ์โครงการสร้างนวัตกรรมจากสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2561 และงานแสดงนิทรรศการ ออกร้านเพื่อทดสอบตลาด โดยมีนายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา อาจารย์ยงยุทธ เจริญรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน

IMG-4262

นายคณบดี สัมพัชนี หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า จากนโยบายรัฐบาลโมเดลประเทศไทย 4.0 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน จึงได้จัดโครงการสร้างนวัตกรรมจากสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2561 ขึ้น โดยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME OTOP และวิสาหกิจชุมชนได้นำกากวัสดุของเสีย หรือเหลือใช้นำมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และที่เกี่ยวข้องให้สามารถต่อยอดการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ หรือเชิงนวัตกรรมต่อไป

IMG-4274

ในการดำเนินงานโครงการครั้งนี้ ได้ทำการคัดเลือกสถานประกอบการ SME ในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1. บริษัท นราทองพลัส จำกัด จากจังหวัดนราธิวาส ประกอบกิจการประดิษฐ์ วงกบ ประตู หน้าต่าง เครื่องใช้ในครัวเรือนโดยใช้ไม้แปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ ยางรองพื้นในรถยนต์ จากปีกไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ขี้กบ ขี้เลื่อย ฝุ่นไม้ และฝุ่นขี้เลื่อย 2. ชุมชุมสหกรณ์ปาล์มน้ำมันชายแดนใต้จากจังหวัดยะลา ประกอบกิจการ ผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ พัฒนาผลิตภัณฑ์อิฐบล๊อคปูพื้นจากเส้นใยกากเยื่อใยปาล์ม (ทรายปาล์มเปล่า) 3. บริษัท ตอยยีบัน จำกัด จากจังหวัดยะลา ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายน้ำนมถั่วเหลืองแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ Snack Bar จากกากถั่วเหลืองที่เหลือจากการผลิตน้ำมันถั่วเหลือง 4. วิสาหกิจชุมชนคลัสเตอร์กล้วยหินยะลา จากจังหวัดยะลา ประกอบกิจการผลิตกล้วยหินต้ม พัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษ ซึ่งนำมาจัดทำเป็นถุงกระดาษบรรจุผลิตภัณฑ์จากเศษเปลือกกล้วยหิน 5. บริษัท เทพพิทักษ์ซีฟูด จำกัด จากจังหวัดปัตตานี ประกอบกิจการอาหารทะเลแช่แข็ง พัฒนาผลิตภัณฑ์ แผ่นยางปูพื้น จากเศษยางรัดของและยางรัดบล็อก

IMG-4260

โดยสถานประกอบการ SME ทั้ง 5 แห่ง ได้เข้าสู่กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากกากวัสดุของเสียหรือเหลือใช้อย่างครบวงจร ได้แก่ กระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการสร้างแบรนด์ โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการเข้าให้คำปรึกษาแนะนะเชิงลึกจากที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี

IMG-4256

จากผลการดำเนินงานของสถานประกอบการทั้ง 5 แห่ง ที่สามารถนำกากวัสดุของเสียหรือเหลือใช้ มาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่า ต่อยอดการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในเชิงสร้างสรรค์หรือเชิงนวัตกรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น อีกทั้ง เป็นการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโดยการนำของเสียมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกทางหนึ่ง ถือเป็นการดำเนินงานโครงการที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ในเรื่องการพัฒนาที่สมดุล สร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง มุ่งสู่ความมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป

IMG-4255

IMG-4253

IMG-4252

IMG-4251

IMG-4250

IMG-4248

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=33797

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us