|

สงขลาเตรียมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มในช่วงฤดูมรสุม

PNEWS18101814295400501

จังหวัดสงขลา เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มในช่วงฤดูมรสุม ย้ำทุกหน่วยพร้อมปฏิบัติงานอย่างทันท่วงที หากเกิดสถานการณ์ในพื้นที่

ช่วงบ่ายวานนี้ (18 ต.ค. 61) ที่ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นำหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา , นายเชาวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา , นางสาวพะเยาว์ เมืองงาม ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ,โครงการชลประทานสงขลา , สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 , ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา , องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา , ทัพเรือภาคที่ 2 , มณฑลทหารบกที่ 42 , กองบิน 56 , สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา ฯลฯ ร่วมประชุมเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม จังหวัดสงขลา ประจำปี 2561 โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน

นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเขตร้อนพัดผ่าน ซึ่งมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมกราคม มีผลทำให้จังหวัดสงขลา เข้าสู่ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม อาจมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อน เป็นเหตุให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากเป็นบริเวณกว้าง อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้

PNEWS18101814295400512

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติในด้านอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดสงขลา ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา พ.ศ.2558 ซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนของจังหวัดสงขลาที่จะได้นำมาใช้อย่างเป็นระบบ มีเอกภาพ และประสิทธิภาพสอดคล้องกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 ตลอดถึงสอดรับสถานการณ์สาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา จึงได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ของจังหวัดสงขลา โดยให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา เป็นที่ปฏิบัติการ และแต่งตั้งคณะทำงานศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดสงขลา จำนวน 3 ส่วน 2 ศูนย์ฯ และคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วย ส่วนอำนวยการ ส่วนปฏิบัติการ ส่วนสนับสนุน ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วมและศูนย์ประสานการปฏิบัติ พร้อมทั้งคณะที่ปรึกษาและปู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทุกหน่วยบูรณาการการทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สามารถให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที หากเกิดสถานการณ์ในพื้นที่

PNEWS18101814295400514

ขณะที่ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการสนับสนุนเครื่องจักรกลแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ในการขุดลอกคูคลอง และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะมีฝนตกหนักในพื้นที่ช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก หรือพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาบนคาบสมุทรสทิงพระ พร้อมให้มีการแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน หรือในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้มีความเป็นเอกภาพในการสื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อป้องกันการเกิดข่าวลือที่อาจทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความสับสน และเข้าใจผิดได้

PNEWS18101814295400508

สุธิดา พฤกษ์อุดม สวท.สงขลา

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=34469

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us