|

อย.-กสทช. ขยายแนวรุกลงภาคใต้ จัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย

IMG-4829

อย. -กสทช. เดินหน้าวางแนวรุกขยายการดำเนินงานจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั่วประเทศ เพื่อจัดการปัญหาโฆษณาเกินจริง อย่างครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ พร้อมรุกคืบพื้นที่ต่อไปทางภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ หวังผลสร้างกลไกการตรวจสอบ เฝ้าระวัง ปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 61 ที่ โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พร้อมด้วย นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมแถลงข่าวการประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการจัดการปัญหาการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับพื้นที่ (ภาคใต้) โดยมี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน

พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การกำกับดูแลการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นภารกิจที่ กสทช. และ อย.ต่างก็มีอำนาจหน้าที่ภายใต้กฎหมายของตนเอง โดยที่สำนักงาน กสทช. มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเฉพาะการก กับดูแลการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ ก่อนหน้านี้ การทำงานเป็นลักษณะที่แต่ละหน่วยงานต่างทำงานไปภายใต้ระบบของตนเอง ทำให้การพิจารณาข้อร้องเรียนแต่ละเรื่องกว่าจะได้ข้อยุติและสิ้นสุดกระบวนการต้องใช้เวลาค่อนข้างนานอย่างน้อย 6 เดือน หรือบางกรณีอาจใช้เวลานานร่วมปี นอกจากนี้ บทลงโทษต่อการกระทำความผิดกรรมเดียวกันยังอาจต้องรับโทษ 2 ทาง ทำให้อาจเกิดความซ้ำซ้อนและเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ ทาง กสทช. จึงได้ร่วมกับ อย. ในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมขึ้นใน สำนักงาน กสทช. โดยมีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองหน่วยงานมานั่งทำงานร่วมกัน เมื่อมีข้อร้องเรียนเกิดขึ้นหรือการตรวจพบ การกระทำความผิด เจ้าหน้าที่สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัย และชี้มูลได้ทันที โดยปัจจุบันสามารถสรุปเรื่องให้แล้วเสร็จได้ภายใน 3 วัน ซึ่งถือว่าเร็วมาก และสามารถพิจารณาวินิจฉัยข้อร้องเรียนหรือกรณีการโฆษณาผิดกฎหมายที่ตรวจพบได้เป็นจำนวนมาก

IMG-4825

“จากการปฏิบัติงานร่วมกันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ก่อให้เกิดการตื่นตัวและปรับตัวของผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง เนื่องจากโทษทางปกครองสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำความผิดตามกฎหมาย กสทช. นั้นค่อนข้างสูง ทำให้ปัญหาการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การจัดการปัญหาการโฆษณา อาหาร ยำ และผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับพื้นที่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์อย่างแท้จริง จึงได้กำหนดนโยบายร่วมกันกับกระทรวงสาธารณสุข ขยายผลการดำเนินการไปยังส่วนภูมิภาค โดยมีกระบวนการดำเนินการ คือ มีการตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาร่วมกันระหว่าง สำนักงาน กสทช. ภาค / เขต และ สสจ. โดย สสจ. ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก อย. จะให้ความเห็นเกี่ยวกับการโฆษณานั้นๆ ทั้งนี้ อาจประสานสำนักงาน กสทช. ในส่วนภูมิภาคในเรื่องการเฝ้าระวังและการหำข้อมูลหลักฐานต่างๆ แล้วส่งผลการวินิจฉัยมายัง กสทช. ส่วนกลาง เพื่อดำเนินการกำกับดูแลต่อไป”

IMG-4821

ด้าน นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ได้เห็นความสำคัญในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมายและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค โดยจะมีการดำเนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังการโฆษณาทางสื่อต่างๆ เช่น ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึงสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นทางไม่ให้มีโฆษณาเผยแพร่ผ่านสื่อออกมาหลอกลวงผู้บริโภค ซึ่งการจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายนั้น จำเป็นต้องดำเนินงานเชิงรุก ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันของเครือข่ายทั้งภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด (สสจ.) และภาคประชำชน เช่น เครือข่ายผู้บริโภค

IMG-4822

“อย. ได้เห็นความสำคัญในการปรับลดขั้นตอนกระบวนการทำงานจากเดิม ซึ่งที่ผ่านมามีการทำงานร่วมกันในรูปแบบของคณะทำงานจาก อย. และ สำนักงาน กสทช. ส่วนกลาง โดยมีกระบวนงานใหม่ที่ร่วมกันพิจารณาเนื้อหาการโฆษณาที่ออกอากาศหรือกระจายเสียง ทำให้ลดขั้นตอนเวลาการทำงาน ส่งผลให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทั้งในส่วนของสำนักงาน กสทช. และกระทรวงสาธารณสุขเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ ถือเป็นรูปแบบที่เข้มแข็งและชัดเจน ทำให้เห็นภาพการแก้ไขปัญหาโฆษณาที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา อย. ได้ดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมาย ในปีงบประมาณ 2561 มากถึง 529 คดี โดยแบ่งเป็นอาหาร 361 คดี ยา 81 คดี เครื่องมือแพทย์ 13 คดี และเครื่องสำอาง 74 คดี

IMG-4823

IMG-4819

IMG-4818

IMG-4817

 

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=34515

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us