|

ม.อ. ร่วม มจร.ว ส.ปัตตานี เปิดกิจกรรม ‘ศาสนิกสัมพันธ์’ ส่งเสริม นศ. ต่างศาสนาใช้ชีวิตร่วมกัน

5D8FCB6E-8F1D-4273-BC82-F9F9D359AE1C

แผนกพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี เปิดโครงการศาสนิกสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน หวังให้นิสิตนักศึกษาต่างศาสนาเรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกัน พร้อมพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอสะเดา

4C4087D4-07F8-46F6-88C3-676388C3BC87

เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 61 ที่ ลานอเนกประสงค์ อ่างเก็บน้ำคลองสะเดา (เขื่อนห้วยคู) ต.สำนักแต้ว อ.สะเดา จ.สงขลา นายศักระ กปิลกาญจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดโครงการศาสนิกสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน ประจำปี 2562 โดยมี พระมหาวิเชียร วชิรธัมโม ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รศ.ดร.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นิสิต นักศึกษา จาก 2 มหาวิทยาลัย อาทิ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีและการสื่อสาร อิสลามศึกษา ศึกษาศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาสังคม เป็นต้น รวมทั้ง นักศึกษาต่างชาติจาก ประเทศจีน และกลุ่มประเทศอัฟริกา เข้าร่วมกิจกรรม

D49B281D-DBAD-4F61-AD8F-EE7BFCD7F6CB

พระมหาวิเชียร วชิรธัมโม ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี และ แผนกพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวชุมชนตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จัดกิจกรรมโครงการศาสนิกสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและชุมชน เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอสะเดา โดยใช้พลังชุมชนเป็นฐานในการดำเนินกิจกรรม ในระหว่างวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2561 โดย นิสิต นักศึกษา จาก 2 มหาวิทยาลัย เข้ามาใช้ชีวิต เรียนรู้วิถีชีวิตคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขถึงแม้จะต่างความเชื่อ ต่างการปฏิบัติ ต่างศาสนา แต่ประชาชนอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นหนึ่ง และมีความตั้งใจที่จะช่วยกันพัฒนาเขตพื้นที่ตำบลสำนักแต้ว ทั้ง 10 หมู่บ้าน ให้เป็นเขตการพักผ่อนและการท่องเที่ยวชุมชน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะเชื่อเชิญคนต่างถิ่นให้มาเยี่ยมเยือน พื้นที่ตำบลสำนักแต้ว เป็นส่วนหนึ่งใน 4 ตำบล (ตำบลสำนักขาม ตำบลปาดังเบซา และตำบลสะเดา) ของอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ที่อยู่ในนโยบายการพัฒนาในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ อันมีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ ที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ติดชายแดนเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว

A76830D2-1D4E-45D1-938F-E502A6A89814

“การจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการพัฒนาพื้นที่ เพราะเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยฐานของชุมชนจากการท่องเที่ยว และส่งเสริมความสามารถ ความเชื่อมั่นของชุมชนในการที่จะเตรียมตัวในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว การบริการจากฐานวัฒนธรรมความเป็นตัวตนของตนเอง และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสภาพภูมินิเวศน์ จากการสร้างความมั่นใจของชุมชนโดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมสร้างกระบวนการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จาการทำกิจกรรมกับ นิสิต นักศึกษาจากทั้ง 2 สถาบัน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบริการนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน อันจะเป็นฐานที่จะนำเสนอเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามเป้าประสงค์ของการส่งเสริมกิจกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ 1. ส่งเสริมการลงทุนด้านการท่องเที่ยวชุมชนในประเทศ 2. ส่งเสริมการศักยภาพชุมชนในด้านการบริการการท่องเที่ยว จากการต้อนรับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนิสิตนักศึกษาและคณาจารย์จากสองสถาบัน 3. ส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีชุมชน หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการโฆษณาความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จากคนรุ่นใหม่ อันจะนำไปสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนของประชาชนในพื้นที่ต่อไป”

นางสิโนรัตน์ รัตนศรี ปลัด อบต.สำนักแต้ว กล่าวว่า ทางตำบลสำนักแต้วมีความตื่นเต้นและยินดีเป็นอย่างมากที่นิสิตนักศึกษาได้เข้ามาทำกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มาเรียนรู้วิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งมั่นใจว่าทุกคนจะสามารถไปด้วยกันได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอสะเดาให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย

ด้าน นายทัศนพล ชื่นอิ่มทรัพย์ นิสิตชั้นปี 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี กล่าวว่า เป็นกิจกรรมที่ดี ทำให้นักศึกษาทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน ได้เรียนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน ส่งเสริมความสามัคคี สร้างประสบการณ์ใหม่ให้นิสิตนักศึกษา พร้อมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและชาวบ้านอีกด้วย

06AB2331-A445-4837-A48E-49226626D093

67B91E26-4BFE-4FF4-B897-EDCC75E981FD

1971D841-087E-40F4-8160-5CDADB0CC723

BD0EC4E6-B135-4C4B-982D-284024CACB9C

D9821DA1-9634-4643-9E82-297927D6B69D

C44A96E7-5A09-43F8-8D80-623BB893CD82

E34F8C74-AB41-4C91-966A-3ABFA817A568

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=34790

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us