|

ม.อ. เดินหน้ารณรงค์ลดใช้พลาสติก มุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว

51116920_1121317184715539_873438495073370112_n

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดินหน้ารณรงค์ โครงการ “ม.อ.ร่วมใจลดการใช้พลาสติก” หลังประสบความสำเร็จในการเลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร สร้างจิตสำนึกที่ดีในการรักษาสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการ – ร้านค้า ให้เกิดความตื่นตัวลดใช้พลาสติก เปลี่ยนใช้ถุงผ้า – กระบอกน้ำ หวังลดปริมาณขยะที่เกิดจากถุงพลาสติก พร้อมมุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว

IMG20190201093254_7

 

วันนี้ (1 ก.พ. 62) ที่ บริเวณหน้าตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผศ.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ม.อ. ร่วมใจลดการใช้พลาสติก” โดยมี บุคลากรสำนักงานอธิการบดี, ตัวแทนนักศึกษา และสื่อมวลชนเข้าร่วมอย่างคึกคัก

51600771_752365111816141_5805806021863538688_n

ผศ.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ร้านค้าในสำนักงานอธิการบดีต้องไม่ใช้ถุงพลาสติก, หลอด, ฝา, แก้ว พลาสติกทั้งหมด โดยทางวิทยาเขตหาดใหญ่ จะมอบกระบอกน้ำ ถุงผ้า แก่บุคลากร เพื่อใช้หมุนเวียนแทนการใช้ถุงพลาสติก, หลอด, ฝา, แก้วพลาสติก และทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะมีการอบรมให้ความรู้บุคลากรเกี่ยวกับการจัดการและพิษภัยของขยะพลาสติก และการลงนามความร่วมมือการลดใช้พลาสติก ระหว่างรองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ และผู้อำนวยการกอง, หัวหน้าหน่วย ในสำนักงานอธิการบดีต่อไป

51101916_968809003507542_5916192204698681344_n

ซึ่งขยะพลาสติกพบในอ่าวไทยจำนวนมาก เมื่อถูกแสงแดด ออกซิเจน และคลื่นจากกระแสน้ำทะเลจะผุพังและแตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหรือเล็กกว่า 5 มม. ที่ถูกเรียกว่า ไมโครพลาสติก ซึ่งมีจำนวนหลายพันชิ้น และสามารถล่องลอยไปทั่วโลกตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงใต้ท้องทะเล เนื่องจากมันมีขนาดเล็ก และมีสีสันใกล้เคียงกับแพลงก์ตอน พืช และสัตว์ จึงทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในทะเลกินมันเข้าไป และสะสม ปนเปื้อนอยู่ในห่วงโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์บริโภคสัตว์น้ำที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกเข้าไป อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัย หรือเป็นสารก่อมะเร็งของมนุษย์ได้

51503053_2162947400702020_7472931078550847488_n

นอกจากนี้ ขยะไมโครพลาสติกยังต้องใช้เวลานาน 400-500 ปี จึงสามารถย่อยสลายตัวได้หมด จึงเป็นผลให้ปริมาณขยะไมโครพลาสติก นับวันจะมีเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เนื่องจากปริมาณขยะที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเลทั่วโลก ปีละ 8 ล้านตัน/ปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในปี พ.ศ.2573 จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยทั้งทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยต้องเริ่มแก้ปัญหา เช่น เปลี่ยนจากการใช้แก้วพลาสติกมาเป็นแก้วกระดาษ เปลี่ยนจากการใช้โฟมบรรจุอาหารมาใช้ใบตองและกระดาษไข หรือภาชนะจากชานอ้อย

51045083_208099256724155_1482824299164205056_n

IMG20190201094557_4

IMG20190201094239_0

IMG20190201093047_2

 

IMG20190201093846_1

ข่าวโดย นางสาวพิมศุภณัฐ อุทัยรัตน์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=37849

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us