|

มรภ.สงขลา ร่วมสัมมนาสถาบันอุดมศึกษา 9 เครือข่าย ปั้นแกนนำ นศ. รู้เท่าทัน ป้องกันสารเสพติด

51003329_295669211122519_272403318586736640_n

2 หนุ่มคณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมสัมมนาสถาบันอุดมศึกษา 9 เครือข่าย “นักศึกษาแกนนำ รู้เท่าทัน ป้องกันสารเสพติด” เจ้าตัวเผยความประทับใจได้ฝึกกระบวนการคิด สร้างมิตรภาพเพื่อนร่วมค่าย พร้อมนำประสบการณ์ช่วยพัฒนามหาวิทยาลัย

อนุพงศ์ ศรีสุวรรณ นักศึกษา มรภ.สงขลา

นายกิตติพงศ์ แก้วขอมดี นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า จากการได้ไปแลกเปลี่ยนความรู้ในโครงการสัมมนาสถาบันอุดมศึกษา 9 เครือข่าย “นักศึกษาแกนนำ รู้เท่าทัน ป้องกันสารเสพติด” ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นกลุ่มผู้นำนักศึกษา สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และผู้นำต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยได้รับการต้อนรับจากทางมหาวิทยาลัย และองค์การนักศึกษาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ เป็นอย่างดี ซึ่งวันแรกเป็นการทำความรู้จักกันโดยทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม พร้อมทั้งสอดแทรกองค์ความรู้ด้านการป้องกันยาเสพติด จากนั้นเข้าสู่การอบรมด้านวิชาการกับวิทยากร และแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม โดยต้องเข้าฐานทั้ง 8 หมุนเวียนกันไป ในแต่ละฐานมีทั้งองค์ความรู้และข้อคิดเกี่ยวกับยาเสพติด

51308369_2180124135570591_6005168289095876608_n

นายกิตติพงศ์ กล่าวว่า ฐานที่ 1 ให้นำภาพไปจับคู่กัน โดยมีภาพที่เป็นข่าวเกี่ยวกับยาเสพติดและภาพที่มีข้อความพาดหัวข่าว โดยให้วิ่งไปจำภาพข่าวแล้วมาเลือกพาดหัวข่าวให้ถูกต้อง ฐานที่ 2 ให้จดจำข้อความที่เกี่ยวกับยาเสพติด และพูดต่อๆ กันไป คนสุดท้ายนำข้อความที่ได้ฟังไปเขียนลงในกระดาษ ฐานที่ 3 ปาลูกบอลโดยจะมีแต้มที่ต่างกัน หากปาลงตรงกลางก็จะได้ 20 แต้ม แต่หากปาลงจุดอื่นก็จะได้ 10 แต้ม ซึ่งเกมนี้ต้องใช้ความสามัคคีเป็นอย่างมากและมีการวางแผนที่ดี ฐานที่ 4 ใช้ไม้แบดมินตันตีให้ลงตรงแต่ละจุดที่มีภาพยาเสพติดหลากหลายชนิด แต่ละภาพก็จะมีคะแนนต่างกันออกไป ฐานที่ 5 เป็นฐานที่ใช้ความสามัคคีเป็นอย่างมาก โดยจะมีเชือกผูกกับยางให้และให้นำไปจับกับกระปุกหรือแก้วที่วางไว้ในวง และให้นำไปยังจุดวางแล้วตอบคำถามเกี่ยวกับชนิดและผลของยาเสพติด ฐานที่ 6 ให้ทำท่าทางแล้วทายว่าเป็นยาเสพติดชนิดใด อยู่ในประเภทไหน โดยให้นำยาเสพติดชนิดนั้นไปแขวนไว้ยังประเภทที่คิดว่าใช่ ฐานที่ 7 นำลูกบอลไปและกลับมายังจุดเดิม พร้อมทั้งตอบคำถามเกี่ยวกับยาเสพติด และ ฐานที่ 8 ต่อจิ๊กซอว์

51899392_1216777485143098_6388400378307674112_n

นายกิตติพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรมในวันที่สองเป็นการทำโปรเจกต์เกี่ยวกับสารเสพติดเรื่องอะไรก็ได้ ซึ่งกลุ่มของตนเลือกทำเรื่องคาเฟอีน โดยมี อาจารย์ใจบุญ แย้มยิ้ม จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมี เป็นที่ปรึกษา และนำลงพื้นที่ชุมชนบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัย โดยมีการเล่นเกมเกี่ยวกับคาเฟอีนที่อยู่ในเครื่องดื่มหรืออาหาร ทายว่ารูปภาพที่เราให้ดูมีคาเฟอีนอยู่หรือไม่และสอบถามว่าในแต่ละวันกินอาหารหรือเครื่องดื่มอะไรบ้าง และอธิบายว่าอาหารหรือเครื่องดื่มชนิดใดบ้างที่มีสารเสพติด พร้อมทั้งบอกถึงโทษและประโยชน์ของคาเฟอีน เมื่อสัมภาษณ์เสร็จก็อัดวิดีโอไว้ด้วย นำเสนอออกมาในเชิงรายการ vlog ที่มีความน่าสนใจ สนุกสนานและเข้าถึงได้ง่าย ส่วนในวันที่สามเป็นการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งกลุ่มของตนเลือกใช้การแสดงละคร และนำเสนอวิดีโอ โปสเตอร์ และรูปแบบพอยท์ โดยตนมีหน้าที่จัดทำวิดีโอและนำเสนอข้อมูล

อนุพงศ์ ศรีสุวรรณ นักศึกษาจาก มรภ.สงขลา

ด้าน นายอนุพงศ์ ศรีสุวรรณ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า ตนและเพื่อนๆ ได้รับการเสริมสร้างความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีในสังคมปัจจุบัน ทั้งในเรื่องชนิดของสารเสพติดและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกาย นอกจากนั้น ยังมีการถอดบทเรียนของสมาชิกแต่ละกลุ่มว่าแต่ละพื้นที่พบเจอปัญหาเกี่ยวกับสารเสพติดหรือสถานการณ์เป็นแบบใด อาทิ พื้นที่รอบๆ สถานศึกษาของตนพบเจอสารเสพติดประเภทใดมากที่สุด การจัดการของสถานศึกษามีแนวทาวทางการแก้ไขอย่างไรบ้างกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  เมื่อกลุ่มของตนซึ่งประกอบด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยพะเยา มรภ.สงขลา มรภ.พระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ช่วยกันถอดบทเรียนครบถ้วนแล้วก็เตรียมข้อมูลและกิจกรรมที่จะนำเสนอ โดยให้มีเนื้อที่เข้าใจได้มากที่สุด ทางกลุ่มจึงคิดใช้เกม Kahoot ที่ใช้ในการเรียนรายวิชา มาเป็นสื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความเข้าใจถึง ปัญหา โทษ ชนิดของสารเสพติด

นำเสนอผลงานกลุ่ม

นายอนุพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการนำเสนอผลงานกลุ่มของตนได้รับเสียงตอบรับจากเกม Kahoot เป็นอย่างดี เนื่องจากถือเป็นการทบทวนความรู้ของเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม และได้ทำข้อสอบว่าจากการมาเข้าค่ายในครั้งนี้แต่ละคนได้รับความรู้กลับไปมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ กลุ่มของตนเจอปัญหาเกมที่นำเสนอซ้ำกับกลุ่มอื่น ทำให้การนำเสนอติดขัดและเกิดปัญหาภายในกลุ่ม แต่ทางกลุ่มได้ทำความเข้าใจ อธิบายและแก้ไขปัญหาเพื่อให้การนำเสนอลุล่วงไปด้วยดี จนประสบความสำเร็จในการนำเสนอผลงาน แต่สิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ การได้เริ่มกระบวนการคิด ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ จากทั่วประเทศ ตลอดจนมิตรภาพจากเพื่อนร่วมทีมและค่าย ซึ่งตนคาดหวังว่าจะสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมในครั้งนี้ มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป

51451740_2121744924804589_8897075893839593472_n

51018095_2358117941100902_2520012043055005696_n

51278397_997858760602265_1605291331649798144_n

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=38215

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us