|

ม.หาดใหญ่ พาสื่อฯ เยือนถิ่นโนราห์ เที่ยวตามรอยแอปฯ ‘มาตะ เมืองลุง’

IMG-9425

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดโครงการสานสัมพันธ์สื่อมวลชน ตอน สื่อมวลชนสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 นำสื่อสงขลา พัทลุง และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เที่ยวตามรอยแอปพลิเคชั่น “มาตะเมืองลุง” (Ma-Ta MuangLung) พร้อมเผย ความสำเร็จของแอปฯ นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศตอบรับดี ช่วยยกระดับการท่องเที่ยวเมืองพัทลุง สร้างรายได้แก่ชุมชน

เมื่อระหว่างวันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดโครงการสานสัมพันธ์สื่อมวลชน ตอน สื่อมวลชนสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล เป็นปีที่ 2 โดยนำคณะสื่อมวลชนทั้งในจังหวัดสงขลา พัทลุง และสื่อมวลชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมกิจกรรม โดยในครั้งนี้เป็นการเดินทางท่องเที่ยวและรับประทานอาหารตามรอยแอปพลิเคชั่นท่องเที่ยวเมืองพัทลุง ที่มีชื่อว่า “มาตะเมืองลุง” (Ma-Ta MuangLung) แอปพลิเคชั่นแนะนำกิน ที่พัก และแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นโครงการ “การศึกษาระบบโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ” โดยทีมวิจัยได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น Ma-Ta MuangLung เพื่อที่จะนำเสนอการท่องเที่ยวเมืองพัทลุงในรูปแบบการทำงานบน Smartphone เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี พร้อมกับเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานประกอบการต่างๆ สำหรับการขยายขอบเขตของการท่องเที่ยวท้องถิ่นให้เพิ่มมากขึ้น จัดทำโดย รองศาสตราจารย์ทัศนีย์ ประธาน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ดร.คนึงนิตย์ หนูเช็ก อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และคณะทีมวิจัยมหาวิทยาลัยหาดใหญ่

IMG-9345

รองศาสตราจารย์ทัศนีย์ ประธาน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยว่า โครงการ “การศึกษาระบบโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ” เป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นการศึกษาระบบโลจิสติกส์ และห่วงโซ่ เพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบโลจิสติกส์มาใช้เพื่อการท่องเที่ยว โดยในระบบโลจิสติกส์นั้นจะเน้น 3 ด้านหลักๆ คือ ด้านกายภาพ ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านการเงิน ซึ่งด้านข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นด้านที่เน้นเป็นพิเศษ และจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ข้อมูลข่าวสารเรื่องแหล่งท่องเที่ยวนั้นมีค่อนข้างน้อย รวมทั้งจากการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุแล้ว พบว่ามีกลุ่มนักท่องเที่ยวเกือบครึ่งหนึ่งที่ใช้แอปพลิเคชั่นในการนำเที่ยว ทางทีมวิจัยจึงผลิตแอปพลิเคชั่นสำหรับแนะนำแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว อาหาร ร้านอาหาร และที่พักต่างๆ ซึ่งก่อนที่จะผลิต หรือแนะนำ ทางทีมวิจัยได้มีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเกือบทุกแหล่ง ซึ่งจะเน้นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้

IMG-9255

IMG-9256

ด้าน ดร.คนึงนิตย์ หนูเช็ก อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กล่าวว่า แอปพลิเคชั่น “มาตะ เมืองลุง” เริ่มจากการใช้ภาษาถิ่น คำว่า “ตะ” ที่เป็นการแสดงความจริงใจของคนพัทลุง จึงใช้ว่า “มาตะ” ส่วนคำว่า “เมืองลุง” เป็นคำที่ทุกคนรู้จักแล้ว ซึ่งเรียกพัทลุงว่า “เมืองลุง” ทุกคนสามารถเข้าแอปพลิเคชั่นได้ผ่านทางระบบ Android และระบบ IOS ซึ่งแอปพลิเคชั่นนี้เปรียบเสมือนศูนย์รวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ไม่ว่านักท่องเที่ยวอยากไปที่ไหน สามารถเข้ามาในแอปพลิเคชั่นได้ หรือว่าจะแวะเติมน้ำมันที่ปั๊ม ก็สามารถเข้าไปดูในแอปพลิเคชั่นได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังใช้ค้นหาสถานที่ต่างๆ ได้ด้วย เช่น สถานีตำรวจ หรือสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดว่าอยู่ที่ไหน เรียกได้ว่าทุกอย่างที่เป็นพัทลุงจะอยู่ที่นี่หมดเลย หรืออยากไปช้อปปิ้งที่ที่ใกล้ที่สุด ก็สามารถเข้าไปในแอปพลิเคชั่นได้ เพราะมีการจัดระบบ GPS ไว้ด้วยเพื่อความสะดวก ทั้งนี้ ทางทีมวิจัยอยากให้พัทลุงเป็นจังหวัดแรกที่มีแอปพลิเคชั่นสำหรับการท่องเที่ยวของเมืองรอง ซึ่งปัจจุบันทางทีมวิจัยได้มีการส่งมอบแอปพลิเคชั่นนี้ให้กับจังหวัดพัทลุง และทางจังหวัดพัทลุงได้แต่งตั้งคณะทำงานที่มาดำเนินงานต่อ

DSCF0213

DSCF0218

“ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวให้การตอบรับมากขึ้น ซึ่งขณะที่ได้ดำเนินงานวิจัย ทางทีมวิจัยมีการผลิต QR Cord วางไว้ที่ร้านอาหาร และที่พักต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึง รวมทั้งแอปพลิเคชั่นยังมีภาษาอังกฤษรองรับ จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาทดลองใช้ด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มประโยชน์ให้กับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง ถ้าหากทางส่วนกลางยังไม่ได้มีความพร้อมในการเตรียมคนบริการ ทางแอปพลิเคชั่น “มาตะ เมืองลุง” สามารถช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้”

DSCF0228

DSCF0240

DSCF0243

DSCF0261

DSCF0262

IMG-9287

ดร.คนึงนิตย์ กล่าวต่ออีกว่า การสร้างแอปพลิเคชั่น จะมีฐานเว็บไซต์ที่เป็นฐานข้อมูลให้กับแอปพลิเคชั่น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บข้อมูลจากประเทศมาเลเซีย แสดงให้เห็นว่ามีคนรู้จักแอปพลิเคชั่น “มาตะ เมืองลุง” มากขึ้น นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสิงคโปร์ยังมีความสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ของชุมชน มีการติดต่อมายังทีมวิจัยผ่านเว็บไซต์ ทางทีมวิจัยจึงส่งข้อมูลให้กับชุมชนเกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มนักธุรกิจขายออนไลน์ของสิงคโปร์ ดังนั้น จึงเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนมากขึ้น และยังสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ทำให้การท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุงสามารถตอบโจทย์การท่องเที่ยวของชาวไทยและชาวต่างชาติได้มากขึ้นอีกด้วย

IMG-9320

IMG-9327

IMG-9328

“ขณะนี้มียอดการใช้แอปพลิเคชั่นที่สูงขึ้น จากทั้งระบบ Android และระบบ IOS และหากทางจังหวัดพัทลุงมีการพัฒนาต่อไป การท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุงจะสามารถพัฒนาได้เพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันจังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดต้นๆ รองจากจังหวัดลำปางที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามาก ฉะนั้น การสร้างความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยว จะต้องมีความพร้อม โดยเฉพาะข้อมูลที่สามารถบอกนักท่องเที่ยวได้ว่าพัทลุงมีอะไรดีบ้าง และแอปพลิเคชั่น “มาตะ เมืองลุง” สามารถเป็นสื่อทางเลือกหนึ่งในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดพัทลุงแก่นักท่องเที่ยวได้ อย่าลืมเข้ามาดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “มาตะ เมืองลุง” ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ” ดร.คนึงนิตย์ กล่าวทิ้งท้าย

IMG-9368

IMG-9414

IMG-9686

DSCF0288

IMG-9705

IMG-9687

IMG-9713

รองศาสตราจารย์ทัศนีย์ ยังกล่าวทิ้งท้ายอีกด้วย ว่า จากการสำรวจพบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีการใช้แอปพลิเคชั่นในการหาคำตอบเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ซึ่งทางทีมวิจัยตั้งใจให้มีความสมบูรณ์ทุกแหล่งท่องเที่ยว เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวเกิดขึ้นมากมาย แต่เนื่องจากโครงการได้ปิดลง แต่ทางวิจัยจะพยายามของบประมาณจาก สกว. เพื่อดำเนินการให้แอปพลิเคชั่น “มาตะ เมืองลุง” มีความสมบูรณ์ต่อไป

IMG-9427

IMG-9434

IMG-9451

IMG-9481

Untitled

Untitledl

ll

 

 

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=38642

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us