|

ศศ.บ.ภาษาไทย มรภ.สงขลา รวมทีมสร้าง “ห้องสมุดมีชีวิต” ภารกิจสร้างสุขให้น้อง

51612687_423669218373044_8225473696010076160_o

“ที่เขาพูดกันว่า เด็กสมัยนี้ไม่รักการอ่านนั่นอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด แต่คงเพราะหลายคนไม่มีโอกาสเข้าถึงหนังสือและสื่อที่เสริมสร้างพัฒนาการมากกว่าจึงทำให้ขาดแรงกระตุ้นจนกลายเป็นหลงลืมเรื่องความสำคัญของการอ่านไป”  

ข้อความข้างต้นมาจากประโยคสนทนาตอนหนึ่งที่  อ.สุกานดา จันทวี  ได้สะท้อนออกมาเพื่อเล่าปัญหาและเหตุผลสำคัญที่ทำให้ริเริ่มทำโครงการห้องสมุดมีชีวิตเป็นปีแรก

51630200_423672488372717_7368536516827545600_o

อ.สุกานดา จันทวี อาจารย์สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้ดูแลโครงการห้องสมุดมีชีวิต เปิดเผยถึงที่มาของการจัดกิจกรรมว่า ต้องการที่จะพัฒนาห้องสมุดของโรงเรียนให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต รองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะด้านการสร้างนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมสู่การเป็นนักอ่าน นักคิด นักปฏิบัติ โดยให้หนังสือจุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กๆ ขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และเป็นกลไกสนับสนุนวาระแห่งชาติเรื่องการอ่านให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากอาจารย์สาขาบรรณารักษศาสตร์ และอาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เข้ามาช่วยในโครงการนี้ด้วย

อ.สุกานดา เล่าว่า ตนได้ชักชวนนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (ศศ.บ.ภาษาไทย) ที่สนใจเข้าร่วมเป็นจิตอาสามาร่วมกันคิดและปรับปรุงห้องสมุด ร.ร.บ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา แม้นักศึกษาจะไม่มีความรู้ด้านบรรณารักษ์มาก่อน แต่ตนใช้การอบรมให้ความรู้เบื้องต้น และทดลองทำร่วมกัน ทั้งนักศึกษา ครู และยังให้โอกาสนักเรียนในโรงเรียนได้ออกความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งโครงการนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางมหาวิทยาลัย แต่ด้วยความเสียสละของนักศึกษาที่ตั้งใจช่วยอย่างเต็มที่ รวมถึงการช่วยเหลือจากทางคณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา และบุคคลภายนอกที่ทราบข่าวมาร่วมบริจาคสิ่งของด้วย ทำให้ภารกิจนี้สำเร็จลุล่วง หลังจากนี้จะเป็นการติดตามขยายผล ดูแลให้ห้องสมุดอยู่ในสภาพดีคงเดิม และต่อยอดโดยการพัฒนาให้ที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้และลานกิจกรรมของชุมชน โดยมีการจัดแบ่งโซนให้ผู้ปกครองสามารถเข้ามาใช้บริการได้ด้วย

อธิการบดี มรภ.สงขลา ทำพิธีเปิดห้องสมุดมีชีวิต

ด้าน ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการห้องสมุดมีชีวิต ว่า รู้สึกดีใจแทนเด็กๆ ที่ผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของการศึกษา เพราะแสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี การที่เราปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน รักการเรียนรู้ ย่อมเป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์ให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ซึ่งห้องสมุดถือเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่กับเด็กนักเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงชุมชนด้วย เช่นเดียวกับ มรภ.สงขลา ที่มุ่งมั่นให้การศึกษาแก่เยาวชนในท้องถิ่น หากมีสิ่งใดที่จะสามารถร่วมมือกับชุมชนได้ก็ยินดีอย่างยิ่ง เพราะเราเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่คู่กับท้องถิ่นมายาวนานนับ 100 ปีแล้ว

ญาณิศา ทองปาน

ญาณิศา ทองปาน หรือ ปลา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตร ศศ.บ.ภาษาไทย เล่าว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมปัญญาและต่อยอดความรู้ในแขนงต่างๆ ทั้งวิชาการและตามความสนใจของแต่ละคน นอกจากจะมีหนังสือแล้วในปัจจุบันยังมีเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งเป็นอีกสื่อสำคัญที่เข้ามามีส่วนช่วยในการสืบค้นข้อมูลร่วมด้วย แต่ยังมีห้องสมุดโรงเรียนอีกมากมายที่ยังคงขาดแคลน ตนและเพื่อนๆ จึงอยากช่วยกันทำให้น้องๆ มีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆ และมีทักษะการเรียนรู้เหมาะสมตามวัย เพื่อจะได้เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมต่อไป

วิศลย์ เรืองกิจชู

วิศลย์ เรืองกิจชู หรือ กาย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตร ศศ.บ.ภาษาไทย กล่าวบ้างว่า สมาชิกในโครงการทุกคนได้รับมอบหมายงานในแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน ตนมีหน้าที่หลักอยู่ที่โซนของเล่นเสริมการเรียนรู้ และได้ประดิษฐ์เครื่องบินของเล่นจากกระดาษลัง บ้านของเล่นสำหรับเด็กชั้นประถมศึกษา รวมไปถึงส่วนอื่นๆ ที่พอช่วยได้ เช่น เล่านิทาน ชวนน้องเล่นเกม ซึ่งการดำเนินงานจนมีกิจกรรมเหล่านี้ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารเพื่อให้เกิดความร่วมมือและเข้าใจ ทุกคนได้แสดงศักยภาพของตัวเองออกมา แม้ในการทำงานจะไม่ได้ราบรื่นเสมอไป บางครั้งมีปัญหาเข้ามาท้าทาย จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมช่วยกันระดมความคิด นี่จึงถือเป็นการนำเอาศาสตร์ความรู้ด้านทักษะการสื่อสาร คิดวิเคราะห์ในสาขาภาษาไทยที่เรียนมาใช้จนเกิดผลจริงๆ และด้วยกำลังใจที่ดีไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างทาง พวกเราต่างมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือการได้เห็นเด็กๆ มีความสุขอยู่ในโลกของห้องสมุด

ธนัญญา แซ่ว่อง

ปิดท้ายด้วย ธนัญญา แซ่ว่อง หรือ ฝ้าย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตร ศศ.บ.ภาษาไทย เล่าถึงเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการห้องสมุดมีชีวิต ว่า เพราะเป็นโครงการที่น่าสนใจ และเป็นครั้งแรกที่ได้ออกไปทำกิจกรรมนอกมหาวิทยาลัย ทุกคนได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ ซึ่งตนมีหน้าที่หลักๆ ในการจัดหมวดหมู่และลงทะเบียนหนังสือก่อนนำขึ้นชั้น ด้วยความตั้งใจอยากปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงห้องสมุดให้ดูน่าใช้บริการมากขึ้น ส่วนผลตอบแทนที่ได้กลับคืนมาคือความประทับใจจากรอยยิ้มและความสุขของเด็กๆ

บรรยากาศของห้องสมุดที่ชั้นวางอัดแน่นด้วยหนังสือตำเรียน วรรณกรรม รวมทั้งความรู้ทั่วไป ในขณะที่มีเด็กบางคนกำลังตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือเหล่านั้นอยู่ อีกมุมหนึ่งเด็กๆ ได้รวมกลุ่มกันเล่นเกมอย่างมีความสุข กับบรรดาของเล่นเสริมทักษะเพิ่มเติมจากความรู้ในห้องเรียน นี่คงไม่ใช่ภาพในฝัน ห้องสมุดโรงเรียนต้องมีชีวิต เพื่อสร้างอีกหลายร้อยชีวิตด้วยการเปิดโลกกว้าง เติมเต็มจินตนาการด้วยการอ่านไม่รู้จบ

51816542_423672251706074_5157133709534560256_o

51567826_423671715039461_5393831861183053824_o

51464694_423672641706035_6635126475433443328_o

51393283_423670981706201_7516750954834690048_o

281707

51391278_423671095039523_8908570579238387712_o

29803

51525873_423672615039371_8838930557866868736_o

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=38904

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us