|

เปิด ‘หลาดลาน สวล.’ เพิ่มช่องทางสินค้าเกษตร ส่งตรงจากชาวบ้านสู่ชาว ม.อ.

DSC_2474

หน่วยวิจัยการจัดการท่องเที่ยว คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิด “หลาดลาน สวล.” เป็นตลาดเช้าทุกวันอังคารที่ลานคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นพื้นที่ในการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายพืชผัก ผลไม้ อาหารปลอดสารพิษ จากเกษตรกรชาวบ้านโดยตรง ให้แก่บุคลากร นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และเป็นการสนองนโยบายตลาดลดโฟม ลดถุงพลาสติก ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ และนโยบาย Green Faculty และ Green University โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานเปิดตลาดวันแรก เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา

DSC_2453

รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจารย์ หัวหน้าหน่วยวิจัยท่องเที่ยว คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า “หลาดลาน สวล.” เป็นการจัดร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น วิทยาลัยชุมชนสงขลา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ บริษัทสยามนครินทร์โดยผู้จัดได้มีแนวคิดในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเสริมสร้างแหล่งบริการอาหารเพื่อสุขภาพเชื่อมโยงการท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา เพื่อจัดให้มีสถานที่พบปะกันตั้งแต่ต้นน้ำคือเกษตรกรผู้ผลิต กลางน้ำคือผู้ประกอบการร้านอาหาร และปลายน้ำคือผู้บริโภค จนเกิด “หลาดสยาม” ตลาดนัดพื้นเมืองของคนเมืองหาดใหญ่ ซึ่งจัดมาเป็นเวลา 2 ปี จนประสบความสำเร็จได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 4 ตลาดต้องชมของจังหวัดสงขลา ถือเป็นตลาดเอกชนแห่งแรกของสงขลาที่ได้รับการคัดเลือก และ ได้รับการปรับสถานะเป็นตลาดประชารัฐของจังหวัดสงขลาในเวลาต่อมา

DSC_2440

จากความสำเร็จดังกล่าวประกอบกับนโยบายคณะสีเขียว (Green Faculty) ของคณะการจัดการสิ่งแวดล้อมหน่วยวิจัยการจัดการท่องเที่ยว จึงมีแนวคิดในการจัดการตลาดสยาม มาเปิดในมหาวิทยาลัย โดยใช้พื้นที่ลานว่างด้านบนของคณะให้เป็นประโยชน์ โดยจัดเป็นตลาดเช้า เปิดเฉพาะวันอังคารตั้งแต่เวลา 7.30-11.30 น. ในชื่อ “หลาดลาน สวล.” เป็นตลาดที่ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ลดโฟม ลดพลาสติก รณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าและตะกร้า

DSC_2451

นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาได้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่สดและปลอดภัยจากผู้ผลิตโดยตรง มีการจำหน่ายพืชผัก ผลไม้ปลอดสาร ทั้งสดและแปรรูปของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสงขลา และมีแนวคิดจะขยายถึงโซนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาได้ในอนาคต และมีเครือข่ายทางวิชาการคือวิทยาลัยชุมชนสงขลา ที่มีนโยบายสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชนใน 4 อำเภอชายแดนของจังหวัดสงขลา ที่มีความพร้อมด้านสินค้าชุมชนที่จะนำเข้าสู่ตลาดได้ จึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรมบริการวิชาการสู่ชุมชน

DSC_2452

DSC_2421

DSC_2412

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=38925

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us