|

สถาปัตย์ฯ มทร.ศรีวิชัย ร่วมเผยแพร่ผลงานศิลปะ ถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ

53396597_312380206001560_4717201828607950848_n

ศาสตร์ทางด้านทัศนศิลป์ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมและโลกอย่างยาวนาน ทั้งผลงานที่เกิดขึ้นในถ้ำ สุสานภูเขา วิหาร ต่างๆ ในหน้าประวัติศาสตร์ศิลปะของโลก เช่น จิตรกรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสมัยก่อน ที่ต้องการถ่ายทอดบันทึกเรื่องราวในสมัยนั้น วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความอุดมสมบูรณ์ในการดำรงชีวิต โดยวาดขึ้นในผนังถ้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น สีอาจจะมาจากไม้ ดิน หิน หรือแม้แต่ยางไม้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นที่มา และแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมทางด้านทัศนศิลป์มาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยอียิปต์ก็เช่นกัน การสร้างสรรค์ผลงานก็มีเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมในรูปแบบจิตรกรรมตกแต่งผนังหรือภาชนะ ประติมากรรมจากหิน นูนสูง นูนต่ำ ลอยตัวจนถึงการสร้างโดยการเจาะภูเขาในพื้นที่ต่างๆ และที่รู้กันดีอยู่แล้ว ในสังคมว่าศิลปะยุคกรีก โรมัน คือ ยุคที่มีอิทธิพลต่อศิลปะทุกแขนงทั่วโลก ในการเรียนรู้ สืบทอด และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในปัจจุบัน เพราะศิลปะยุคนี้เต็มไปด้วย ทักษะ ฝีมือ ความรู้ และความคิดที่สามารถนำไปต่อยอดได้ โดยส่วนใหญ่แล้วศิลปินในยุคนั้น หรือยุคหลังจากนั้น มักจะทำงานเพื่อรับใช้ราชวงศ์ ขุนนาง หรือผู้ที่มีความมั่งคั่งในสมัยนั้นเป็นหลัก ความมุ่งมั่น ความทุ่มเทจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานเพื่อรับใช้ราชสำนัก การว่าจ้างที่ต้องทำตามแบบแผนของคนที่ว่าจ้างในสมัยนั้น ในยุคต่อมาศิลปะระดับโลกหลายท่านจึงพยายามค้นหาแนวทางใหม่เพื่อหลีกหนีความจำเจ ค้นหาความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองมากยิ่งขึ้น ค้นหาสุนทรียะใหม่ๆ จะออกมาในรูปแบบจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรือรูปแบบสื่อผสมก็ตาม

53203744_411590376079149_1357759958220800000_n

อาจารย์เอกพงษ์ คงฉาง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา กล่าวว่า ในปัจจุบันการศึกษาเรียนรู้ของทุกประเทศ สถาบันการศึกษา หรือศิลปินอิสระก็ตามล้วนต้องศึกษาค้นคว้าแนวทางใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ ถ่ายทอดเอกลักษณ์ผลงานที่มีความโดดเด่นเฉพาะตน หลีกหนีผลงานที่ได้สร้างสรรค์ไว้ก่อนหน้าแล้ว ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เพราะศิลปะหรือผลงานทางด้านทัศนศิลป์ได้มีการสร้างสรรค์และพัฒนามาอย่างยาวนาน ทั้งจิตรกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น เหมือนจริง เหนือจริง นามธรรม หรือแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนผลงานประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรือแขนงอื่นๆ ที่ต้องค้นคว้าพัฒนาหาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเป็นไปตามวิวัฒนาการ หรือการพัฒนาของสังคมเศรษฐกิจของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง ทางด้านทัศนศิลป์ก็เช่นกัน เพราะเป็นส่วนของการพัฒนาทางด้านประเพณี หรือวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ เพราะศิลปะเป็นภาษาสากลที่สามารถรับรู้ รับความสุนทรียะการแสดงออกของผู้สื่อสารได้ แม้ไม่ต้องใช้คำพูดต่างภาษา แต่สามารถเข้าใจในภาพนั้นๆ ได้ ศิลปะจึงเป็นรากฐานสำคัญที่คอยกล่อมเกลา ปลูกฝังรากเง้าทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีของพื้นที่นั้นๆ ในการแสดงออก รักษา หวงแหน สืบทอดความคิด ความรู้ความสามารถของมนุษย์สืบต่อไปตามยุคสมัย ตามหน้าประวัติศาสตร์ของโลกที่ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในปัจจุบันการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยก็เป็นส่วนสำคัญในการปลูกฝัง หวงแหน รักษาประเพณีและวัฒนธรรมสู่การพัฒนา สร้างสรรค์ปรับใช้ในการดำรงชีวิต และปรับใช้สร้างความสัมพันธ์ต่อสังคม คอยบ่มเพาะปลูกต้นกล้าใหม่ๆ ที่ค่อยเติบโตผ่านกาลเวลา โดยนักศึกษาในสถานศึกษาคือส่วนสำคัญ สำหรับการต่อยอดความรู้ ความคิด การสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต ตลอดจนครูผู้สอนที่คอยบ่มเพาะ คอยให้ความรู้ เสริม เติมแต่ง จนผลิตดอกออกผล

53070204_296652137681468_2781120070099664896_n

โครงการถ่ายทอดงานศิลปินกับศิลปินแห่งชาติ หออัครศิลปิน ของสำนักศิลปวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมในประเทศไทยอย่างชัดเจน โดยการจัดให้มีการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ กับศิลปินแห่งชาติ ผ่านการคัดเลือกครู อาจารย์ ศิลปิน จากทั่วประเทศเข้าอบรมในโครงการ ซึ่งในปีนี้ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 10 เมื่อวันที่ 6 – 10 กุมภาพันธ์ 2562 ณ หออัครศิลปิน จังหวัดปทุมธานี และศิลปินแห่งชาติได้พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 10 คน เพื่อเดินทางไปเผยแพร่ผลงานศิลปะร่วมกับสภาศิลปกรรมไทยสหรัฐอเมริกาตามโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ เผยแพร่ผลงานศิลปะ ณ สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 16 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2562

53535859_262998774585714_9153116761418104832_n

โดยในปีนี้ อาจารย์เอกพงษ์ คงฉาง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่น 1 ใน 10 ท่าน ที่ได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จากการคัดเลือกจากทั่วประเทศ เพื่อร่วมจัดแสดงนิทรรศการและจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ทางด้านศิลปะ ณ สถานกงสุล นครลอสแอนเจลิส รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้ด้านศิลปะร่วมกับผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ภัณฑารักษ์และศิลปินต่างชาติ การเดินทางไปศึกษาดูงานในประเทศสหรัฐอเมริกาของ อาจารย์เอกพงษ์ คงฉาง ในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้น และรากฐานสำคัญในการพัฒนาวงการศิลปะในภาคใต้ ขับเคลื่อน สร้างแรงจูงใจ แรงกระตุ้น ต่อยอดทางด้านศิลปวัฒนธรรมตลอดจนผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะไทย หรือแขนงอื่นๆ ไปยังสถาบันการศึกษา นักศึกษา บุคคลทั่วไป หรือศิลปินอิสระ คอยบ่มเพาะปลูกต้นกล้าต้นใหม่ๆ ให้มีกิ่งก้านสาขา ผลิดอกออกผล สวยงามปกคลุมประเทศต่อไป

 

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=40784

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us