|

ม.อ.ภูเก็ต เจาะลึกงานวิจัยผลิตภัณฑ์ ‘ไข่มุกอันดามัน’ – ‘สาหร่ายพวงองุ่น’ สร้างรายได้ชุมชน – นศ.

DSCF1295

นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นวิจัยผลิตภัณฑ์ “ไข่มุกอันดามัน” เพื่อสร้างรายได้ และเพิ่มรายได้แก่ชุมชนและนักศึกษาจากงานวิจัย “สาหร่ายพวงองุ่น”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรนิการ์ กาญจนชาตรี คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เล่าถึงที่มาที่ไปของงานวิจัยว่า การศึกษาวิจัยเรื่องมุกได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 โดยได้รับทุนสนับสนุนจากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเห็นชอบของ รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม ซึ่งเป็นรองอธิการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในปัจจุบัน เพราะท่านเล็งเห็นว่าแกนของงานวิจัยที่แท้จริงคือสามารถตอบโจทย์ของชุมชนได้ ดังนั้น ควรที่จะสนับสนุนภูมิปัญญาของท้องถิ่นเป็นประเด็นสำคัญ งานวิจัยมุกหรือไข่มุกจึงเป็นงานวิจัยหลักของคณะที่จะต้องทำเพื่อจังหวัดภูเก็ต มุกธรรมชาติ (natural pearl) เกิดจากวัตถุภายนอกพลัดตกลงไปในตัวหอยหอยจึงขับสารมุกโดยเซลล์บุผิวของเนื้อเยื่อแมนเทิล (mantle) ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการสร้างเปลือกหอยโดยดึงสารประกอบแคลเซียมจากน้ำมาสร้างเป็นชั้นเปลือกขึ้น ชั้นมุกประกอบด้วยผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เรียกว่า อะราโกไนท์ (aragonite) รวมกับเมือกและสารจำพวกคองคิโอลิน (conchiolin) แทรกอยู่ ทำให้ดูมีประกายสีรุ้งแวววาว มุกชนิดนี้หายากมากในธรรมชาติ มีรูปทรงแตกต่างกันเพราะไม่สามารถควบคุมรูปทรงได้ราคาแพง จึงทำให้มนุษย์คิดค้นมุกเลี้ยงขึ้นในเวลาต่อมา (culture pearl)

DSCF1290

ซึ่งผลจากงานวิจัยเรื่องมุกช่วยร่นระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตมุกได้ จาก 18 เดือน ที่เกษตรกรเคยทำมาเหลือเพียง 7 – 9 เดือน โดยที่ไม่ทำให้มุกเปลี่ยนรูปทรงและความหนาของมุกคงที่ ช่วยเพาะเลี้ยงหอยมุกเพื่อทดแทนหอยมุกจากธรรมชาติที่มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ช่วยพัฒนาสีของมุก ตำแหน่งการวางแกนมุก (nucleus) ชนิดของอาหารและระดับน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงหอยมุก

DSCF1275

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยทั้งหมดทำให้อุตสาหกรรมมุกในจังหวัดภูเก็ตพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากระดับจังหวัดถึงระดับนานาชาติจนได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มุกภูเก็ต (Geographical Indications หรือ GI) ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เน้นย้ำความสำคัญของงานวิจัยที่ช่วยดึงจุดเด่นเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ

DSCF1277

DSCF1281

DSCF1282

DSCF1284

นอกจากนี้ งานวิจัยเรื่อง “ประมงที่ยั่งยืนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ได้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นงานวิจัยเชิงบูรณาการมีการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชุมชน และเอกชน โดยช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการฝึกสอนให้เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นซึ่งเชื่อมโยงไปถึงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (นักศึกษาในโครงการประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่ 1) ได้ทำงานร่วมกับชุมชน และนักศึกษาในโครงการก็มีรายได้เป็นทุนการศึกษาจากการขายสาหร่ายด้วยเช่นกัน โดยได้รับการสนับสนุนพื้นที่การวิจัยจากบริษัทภูเก็ตเพิร์ล อินดรัสทรี จำกัด

DSCF1300

DSCF1302

DSCF1305

DSCF1311

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=41321

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us