|

สปข.6 จัดสัมมนาสื่อมวลชนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2562 (ตอนที่ 1)

1557666511911

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ จัดสัมมนาสื่อมวลชนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 12 -15 กุมภาพันธ์ 2562 ในพื้นที่จังหวัดยะลาและปัตตานี โดยมีสื่อมวลชนหลากหลายแขนงในพื้นที่ จ.สงขลา และใกล้เคียงกว่า 36 ชีวิตร่วมสัมมนาด้วย

20190512_170747

โดยวันแรกในการสัมมนาเริ่มต้นในช่วงเช้าวันที่ 12 พ.ค. เพื่อลงทะเบียนและเดินทางมุ่งสู่ อ.เบตง จ.ยะลา พร้อมเพรียงกันและร่วมรับประทานอาหารมื้อเที่ยง ณ ร้านต้าเหยิน อ.เบตง จ.ยะลา 

20190512_143512

หลังจากนั้น ช่วงบ่ายคณะฯ ศึกษาดูงาน “ต้นทางความอร่อย…ผักน้ำเบตง” โดยมีนายศรัญวิชญ์ นวลเจริญ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ต.ตาเนาะแมเราะ เป็นวิทยากรให้ความรู้ความเป็นมาและวิธีการปลูก “ผักน้ำเบตง” ณ แปลงปลูกผักน้ำเบตง ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา สำหรับผักน้ำเบตง เป็นผักน้ำมีลักษณะคล้ายกับผักบุ้งผักกะเฉด ใบเล็ก มีลําต้นเป็นปล้อง อวบน้ำ มีส่วนรากติดดิน ส่วนลําต้น เลื้อยเหนือน้ำ เป็นพืชที่ชอบอากาศหนาว เจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิ ประมาณ 25 องศา ผักน้ำ เป็นพืชที่พิเศษกว่า พืชชนิดอื่นตรงที่ ต้องปลูกในแปลง (คล้ายแปลงนา) มีน้ำไหลผ่าน และน้ำที่ไหลผ่านต้องเป็นน้ำที่เย็นและสะอาด (ไม่มีสีสนิม) โดยเฉพาะน้ำจากลําธารที่ไหลออกจากซอกหินหรือน้ำตก การจัดการแปลงปลูกจะต้องลดหลั่นกันคล้ายที่นา แบบขั้นบันไดในภาคเหนือ โดยมากจะมี 3 – 5 แปลงต่อราย หรือต่อลําธารน้ำ ขนาดของแปลงไม่ควรเกิน 20 ตารางเมตร หรือตามสภาพพื้นที่ ถ้าเลือกสถานที่ได้ตามที่กล่าวก็สามารถ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 5 ครั้งต่อรุ่น ก่อนที่จะรื้อแปลง เพื่อปลูกใหม่ การเก็บเกี่ยวผลผลิต สามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจาก ปลูกประมาณ 45 – 60 วัน โดยใช้มีดคมๆ ตัดส่วนยอด ที่ความยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ล้างทําความสะอาด บรรจุภาชนะ ส่วนใหญ่จะห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อรักษาความชื้น ราคาจําหน่ายอยู่ที่ กก.ละ 30-40 บาท ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและช่วงฤดูกาล

20190512_160016

ต่อจากนั้นเดินทางเพื่อศึกษากันต่อ ณ หมู่บ้านปลา ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง โดยศึกษาดูงาน “ต้นทางความอร่อย การเลี้ยงปลานิลสายน้ำไหล” ฟังบรรยายจาก นายสันติชัย จงเกียรติขจร Smart Farmer ต้นแบบสาขาประมง จ.ยะลา เล่าถึงประสบการณ์การทำประมงกว่า 30 ปี ซึ่งก่อนจะมาประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงปลานิลสายน้ำไหล โดยเริ่มเลี้ยงปลาครั้งแรกประมาณปี 2530 โดยการเลี้ยงปลา บ่อดิน และขยายบ่อเลื้ยงปลาเพิ่มเติม ติดตั้งระบบน้ำเพื่อ ใช้สำหรับการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหล ใช้พีวีซีขนาด 2 นิ้วต่อจากแหล่งน้ำธรรมชาติ มายังบ่อเลี้ยงปลา ระยะเวลาในการเลี้ยงปลาจีนประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือประมาณ 18 เดือน จะได้ปลาขนาด 3-5 กิโลกรัม จะเน้นอาหารสมทบเป็นหลัก เช่น ใบมันสำปะหลัง ใบกล้วย หญ้าเนเปียร์ และหญ้าขน เสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป จำหน่ายผลผลิตให้ร้านอาหารต่างๆในพื้นที่ หลังจากนั้นได้เริ่มขยายบ่อเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นอีก 3 บ่อ ดำเนินการเลี้ยงปลาจีนเพิ่มมากขึ้นถึง 5,000 ตัว เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดและมีราคาที่แน่นอน

โดยปัจจุบันมีบ่อเลี้ยงปลาทั้งหมด 8 บ่อ มีขนาดตั้งแต่ 100-6oo ตารางเมตร โดยบ่อเลี้ยงปลานิล จำนวน 7 บ่อ และปลาพลางชมพู จำนวน 1 บ่อ อนุบาลลูกปลาในบ่ออนุบาล ก่อนปล่อยเลี้ยงทำให้สามารถควบคุมดูููแลจัดการได้ง่าย ทำให้สามารถลดรอบระยะเวลาการเลี้ยงได้ ทั้งนี้ เน้นการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ ไม่มีควบคุมดูแลจัดการใช้สารเคมี ผลผลิตที่ได้รับต่อปีประมาณ 25,000 กิโลกรัม ราคาขายส่งเฉลี่ย 90-95 บาทต่อกิโลกรัม 

20190512_155330

สำหรับปลานิล เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี เป็นปลา เศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่ายและมีรสชาติดี สามารถอาศัยอยู่ ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกําเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันอีกา ปลานิลนําเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรก โดยอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดํารงพระอิสริยยศมกุฎราชมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งเข้ามา ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2508 จํานวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิล ในบ่อน้ำภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จากนั้นได้พระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับ กรมประมงจํานวน 10,000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2509 เพื่อนําไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร รวมถึงปล่อยลงแหล่งน้ําต่างๆ และเนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง อาทิ กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็กๆ มีขนาดลําตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10 – 30 ซม. แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

20190512_172617

20190512_175049

20190512_180718

และหลังจากได้รับความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงปลานิลสายน้ำไหล ณ หมู่บ้านปลาแล้ว ปิดท้ายสำหรับวันนี้ในช่วงเย็นด้วยการรับประทานอาหารเย็นที่ร้านต้าเหยิน พร้อมรับฟังความก้าวหน้าเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดย เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองเบตง และรับฟัง “ตํานานความอร่อย…ร้านต้าเหยินเบตง” นายยงยุทธ จงวิริยะกุล เจ้าของร้านฯ พร้อมลูกสาวคุณธนวรรณ จงวิริยะกุุล และแนะนำเมนูอาหารเด่นๆ อย่างเคาหยก ถั่วเจี๋ยน ฯลฯ ที่เสิร์ฟให้รับประทานกันในวันนี้ สร้างความประทับใจแก่คณะสื่อมวลชน และเดินทางเข้าที่พัก ณ โรงแรมการ์เด้นวิว เบตง เพื่อเตรียมศึกษาดูงานในวันต่อไป ติดตามเพิ่มเติมได้ ตอน 2

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=41538

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us