|

มทร.ศรีวิชัย สร้างนวัตกรรม ‘เครื่องปอกเปลือกไข่นกกระทา’ ต้นทุนต่ำ เพิ่มผลผลิตสูง

59821397_2420445068190274_6220105125650759680_n

ไข่นกกระทาเป็นไข่ของนกประเภทนกคุ่มหรือนกกระทา มีลักษณะคล้ายกับไข่ไก่แต่มีขนาดเล็กกว่ามากและมีจุดแต้มหรือลายประสีต่างๆ บนเปลือกไข่ ไข่นกกระทามีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าไข่ไก่ เต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มากกว่าไข่ชนิดอื่นๆ สามารถรับประทานได้ทั้งไข่ดิบ ไข่สุก ไข่อบและไข่ทอด ถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร โดยเฉพาะการทำกระเพาะปลา พะโล้ไข่นกกระทา ทั้งนี้ ยังปรุงเป็นขนมหรืออาหารรับประทานเล่น สามารถซื้อได้ตามตลาดและร้านค้าทั่วไป

IMG_0299

อาจารย์ทวิชาติ เย็นวิเศษ และอาจารย์จรัญ ธรรมใจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี พร้อมด้วย นายพรนุวัฒน์ แก้วรัตน์ และนายศุภณัฐ สุวรรณขาวนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ร่วมกันออกแบบและสร้าง “เครื่องปอกเปลือกไข่นกกระทา” หลังจากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการของเจ้าของฟาร์มที่ประกอบอาชีพการเลี้ยงนกกระทา พบว่า การผลิตไข่นกกระทาของบ่อเตี้ยฟาร์ม ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีขั้นตอนในการปอกไข่นกกระทาโดยใช้เครื่องสำเร็จรูป การปอกไข่นกกระทาจะนำไข่นกกระทาที่ผ่านการกะเทาะเปลือกแล้วใส่ในเครื่องปอก โดยมีช่องสำหรับเทไข่นกกระทาเข้าสู่เครื่อง ไข่จะไหลเข้าหาเพลาที่หุ้มด้วยยาง เพลาจะมีการทำงานโดยการหมุนตัวเข้าหากันเพื่อหนีบเปลือกไข่นกกระทาให้หลุดออกและขณะเพลาทำการหมุนเข้าหากันจะมีแป้นสำหรับกดไข่นกกระทาให้สัมผัสกับเพลา การทำงานจะเป็นระบบต่อเนื่อง สามารถปอกเปลือกไข่นกกระทาได้ประมาณ 6,000 ฟอง ต่อชั่วโมง

59912152_822231574820104_8004582175062097920_n

อาจารย์ทวิชาติ เย็นวิเศษและอาจารย์จรัญ ธรรมใจ กล่าวว่า ในการทำเครื่องปอกไข่นกกระทามีความจำเป็นต้องนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการมาบูรณาการ ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูลในการปอกไข่ การออกแบบตัวเครื่องเช่น วิธีการปอหกไข่แบบเดิม กำลังการผลิต/วัน ปัญหาของวิธีการแบบดั้งเดิม จึงนำวิธีการแบบดั้งเดิมมาคิดวิเคราะห์ จากนั้นทำการออกแบบวิธีการปอกให้มีประสิทธิภาพมากกว่ารูปแบบเดิม โดยเน้นหลักของเศรษฐศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นในการผลิตเครื่องปอกไข่นกกระทานั้นคือ การเลือกใช้วัสดุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค ต้องนำความรู้ทางด้านวิชาวัสดุวิศวกรรมามาใช้ ตลอดจนการออกแบบตัวเครื่องก็เช่นกัน นำความรู้ด้านวิชากลศาสตร์ การประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ควบคู่กับการใช้ความรู้จากการเรียนงานเชื่อม งานเครื่องมือกล และงานทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำมาบูรณาการสำหรับการผลิตเครื่องปอกไข่นกกระทาให้พร้อมต่อการใช้งาน

3

สำหรับแนวทางในการพัฒนา หากมีความจำเป็นที่จะต้องปอกไข่ครั้งละจำนวนมากๆ นั้น สามารถนำแนวคิดจากการผลิตเครื่องปอกไข่นกกระทา นำมาประยุกต์ใช้ได้กับการปอกไข่ชนิดต่างๆ อาทิ เครื่องปอกไข่ไก่ เครื่องปอกไข่เป็ด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จะมีการพัฒนาเครื่องปอกไข่นกกระทาให้มีความสามารถในการปอกให้มีการผลิตและมีปริมาณจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้งานในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=41612

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us