|

สปข.6 จัดสัมมนาสื่อมวลชนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2562 (ตอนที่ 2)

line_18593606014444

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ ได้จัดสัมมนาสื่อมวลชนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 12 -15 กุมภาพันธ์ 2562 ในพื้นที่จังหวัดยะลาและปัตตานี โดยมีสื่อมวลชนหลากหลายแขนงในพื้นที่ จ.สงขลา และใกล้เคียงกว่า 36 ชีวิตร่วมสัมมนาด้วยเป็นวันที่ 2 โดยเดินทางไปดูงานความคืบหน้าและได้รับความรู้หลากหลายทีใน อ.เบตง จ.ยะลา ซี่งได้แก่ความคืบหน้าการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง, เยี่ยมชมรับทราบความก้าวหน้าฟาร์มตัวอย่างคีรีเบย์ และเยี่ยมชมการทำงานของบริษัท เบตง กรีน พาวเวอร์ จำกัด โรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมท้ายของวันรับชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ อ.เบตง อย่าง บ่อน้ำพุร้อนอีกด้วย

20190513_091939

สำหรับการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง โดยทาง สปข.6 ได้พาคณะสื่อมวลชนเดินทางไปศึกษาดูงานความก้าวหน้าการก่อสร้าง ท่าอากาศยานเบตง โดยได้รับการต้อนรับและความรู้ความเข้าใจจาก นายอะห์สัน เจะฮะ วิศวกรโยธาภาคสนามที่ดูแลการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตงได้บอกถึงความก้าวหน้าในการสร้างท่าอากาศยานนี้ว่าตอนนี้ถือว่าเรียบร้อยไปแล้วกว่า 85% ทั้งรันเวย์และอาคารบางส่วน เหลือการวางระบบ ส่วนวิทยุการบินทำการประมูลเรียบร้อยแล้ว แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในปี 2563 และอื่นๆ โดยพยายามทำให้เสร็จทั้งหมดตามกำหนดของสัญญาที่ตั้งไว้ภายในปี 2563 ใช้งบการก่อสร้างท่าอากาศยานและส่วนอื่นๆ ที่จะมารองรับประมาณ 1,600-1,700 ล้านบาท รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกันบนรันเวย์ได้ถึง 3 ลำ เฮลิปคอปเตอร์ 2 ลำ

20190513_092854

ท่าอากาศยานเบตง (Betong Airport) คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น มีมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 เห็นชอบในหลักการให้ กรมท่าอากาศยาน (ทย.) กระทรวงคมนาคม ดําเนินโครงการ ก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ในวงเงิน 1,300 ล้านบาท ระยะเวลาดําเนินโครงการ 3 ปี (2559 -2562) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ ลําดับที่ 29 สังกัดกรมท่าอากาศยานที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดยนำไม้ไผ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของเบตง และนับเป็นท่าอากาศยานของประเทศไทยแห่งที่ 39 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการคมนาคมในพื้นที่อําเภอเบตงที่มีสภาพภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูงชัน ไม่สะดวก ต่อการเดินทาง และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมทั้งการก้าวหน้าในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการสร้างรายได้ของคนในพื้นที่ทั้งระหว่างการก่อสร้างและแล้วเสร็จ อีกทั้งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การเมือง ตามนโยบายสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

20190513_115106

สำหรับลำดับต่อไปในการเดินทางศึกษาดูงานนั่นคือฟาร์มคีรีเบย์ “ต้นทางความอร่อย…ไก่เบตง” ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายเรื่อง “ไก่เบตง” โดย ร.ต.ต.อุดม ลักษณะ นายกสมาคมการท่องเที่ยวเบตง ที่ได้ถึงแนวทางการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงไก่เบตงอย่างจริงจังจากไก่ที่เหมาะในการบริโภคแค่เพียงไก่สับเท่านั้นมาพัฒนาเป็นรูปแบบใหม่เพิ่มจากเดิมอย่าง “ข้าวมันไก่ไฮเทค” “ไก่เบตงตากลีหรัง” และ “ไก่ลวกออนเซน” โดยพาชมเครื่องเพาะไข่ที่ทันสมัยเพื่อให้ทันต่อผู้บริโภคในตอนนี้และชมฟาร์มตัวอย่างที่เลี้ยงในระบบเปิดดูแลเป็นอย่างดีหรือแม้แต่การพัฒนาแพ็คเกจจิ้งให้ทันสมัยให้เหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน

20190513_102257

พร้อมรีแบรนดิ้งขึ้นเป็น “KiriBay” ที่นอกจากมีทั้งฟาร์มไก่เบตงครบวงจรแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมแหล่งช้อปที่มีทุกสิ่งให้คุณเลือกสรรทั้งสินค้า otop ประจำท้องถิ่นเบตง สะดวก ไว้ใจได้ มีครบหมด สินค้ากว่า 20,000 รายการ และผ่อนคลายกับอาหารญี่ปุ่นชื่อดังอย่าง hatyaisashimi@kiribay บรรยากาศฟินๆ โดยตั้งติดถนน เบตง -บ้านจันทรัตน์ ทางไปสนามบินเบตงนี่เอง 

20190513_114850

ไก่เบตง สัญลักษณ์ใต้สุดแดนสยาม มีความโดดเด่น ในด้านรสชาติ ความอร่อย เนื้อนุ่ม หนังกรอบ ไม่มีมันผสม แถมยังติดอันดับไก่เนื้อที่มีราคาแพงที่สุดในประเทศไทย โดยราคาปรุงสําเร็จอยู่ที่ตัวละ 1,200 บาท สาเหตุที่ราคาแพง เพราะเกษตรกรใช้เวลาเลี้ยงถึง 6 เดือน กว่าจะขายได้ เมื่อเทียบกับไก่ทั่วไปแล้วใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนานกว่ากัน ถึงเท่าตัว จึงไม่แปลกที่ไก่เบตงจะมีรสชาติอร่อยและเป็น ของหาทานยาก อีกทั้งกําลัง จะสูญพันธุ์ไปจากจังหวัดยะลา หากไม่มีการอนุรักษ์ ร.ต.ต.อุดม ลักษณะ นายกสมาคม การท่องเที่ยวเบตง เป็นหนึ่งในเกษตรกรหลายคนที่หันมา เลี้ยงไก่เบตง เพื่อเป็นการอนุรักษ์และตอบสนองความต้องการ ของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย โดยรวมกลุ่ม กันเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงไก่เบตง ในพื้นตําบลยะรม

20190513_140010

ลำดับต่อไปคือเยี่ยมชมและฟังบรรยายจากเจ้าหน้าที่ บริษัท เบตง กรีน พาวเวอร์ จำกัด โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล บ้าน กม.19 ต.ตาเนาะแมเราะ โดยคณะสื่อมวลชนได้รับฟังบรรยายสรุปการดําเนินงาน ของโรงไฟฟ้าชีวมวลเบตง เพื่อเสริมความมั่งคงด้านพลังงาน เป็นโรงไฟฟ้าขนาด 7.5 เมกะวัตต์ บริหารงาน ภายใต้บริษัทเบตง กรีน เพาเวอร์ จํากัด (EGP) เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท (สัดส่วนถือหุ้นร้อยละ 80) กับ พันธมิตร ท้องถิ่น ตั้งอยู่ที่ 14 ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลหลัก ได้แก่ ขี้เลื่อย เศษไม้ จากต้นยางพาราเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลหลัก ทําสัญญา จําหน่ายไฟฟ้า กับ กฟภ. กําลังการผลิต ติดตั้ง 7.5 เมกะวัตต์ กําลังการผลิต ตามสัญญา 7.0 เมกะวัตต์ แบบสัญญาประเภท Non-Frn (ไม่กําหนดอัตราการผลิตขั้นต่ำ) มีอายุสัญญา 5 ปี และอายุสัญญาต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ครั้งละ 5 ปี

20190513_135503

กําหนดเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าพร้อมผลิต และเริ่มขายไฟฟ้าเข้าระบบสายส่งให้กับ กฟภ. ตั้งแต่พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยประโยชน์ของโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งนี้นอกจากการใช้ทรัพยากรที่คิดว่าไร้ค่าและไม่ก่อให้มลพิษย่อยสลายง่ายมาใช้แล้วยังส่งเสริมอาชีพแก่คนในพื้นที่และคนรุ่นใหม่ชาวเบตงที่มีความรู้ให้หันกลับมาพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิดได้อีกทางหนึ่ง

20190513_152627

และสุดท้ายก่อนจะเสร็จสิ้นภารกิจในวันนี้ยังได้เยี่ยมชมบ่น้ำร้อนเบตง พร้อมอุดหนุนร้านของที่ระลึก เยี่ยมชมจุดใต้สุดสยาม พร้อมรับประทานอาหารเย็นร้านฮานตานานเป็นที่เรียบร้อย (ติดตามกิจกรรมตอนที่ 3)

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=41619

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us