|

แบงก์ชาติ เผย เศรษฐกิจใต้ ไตรมาส 2 ขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน เกษตรดีขึ้น – ท่องเที่ยวหด

67367750_644021536094754_3968085091812376576_n

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.) แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 2/2562 และแนวโน้ม เผยขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน สินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวยังคงหดตัว

วานนี้ (1 ส.ค. 62) สถานสวัสดิสงเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เป็นประธานแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 2/2562 และแนวโน้ม โดยมีผู้แทนจากสถาบันทางการเงินต่างๆ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง

67374140_2371497673061886_2894199476602273792_n

นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน โดยภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นจากปาล์มน้ำมันและยางพาราเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ทำให้รายได้เกษตรขยายตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิตยังคงหดตัวจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอตัว ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกลดลง สำหรับอุปสงค์ในประเทศ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น ตามการใช้จ่ายในภาค บริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นสำคัญ สำหรับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวต่อเนื่องทั้งรายจ่ายประจำและลงทุน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตรา เงินเฟ้อเร่งตัวจากไตรมาสก่อนตามราคาอาหารสดที่ปรับสูงขึ้นมาก สำหรับอัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาล ลดลงเล็กน้อย

67405411_2490903977635572_8254359434134814720_n

มูลค่าการส่งออกหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0 สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 จากเกือบทุกสินค้า โดยการผลิตเพื่อส่งออกยางพาราแปรรูปลดลง ตามเศรษฐกิจของตลาดหลักจีนที่ชะลอตัว รวมถึงผลของฐานสูงจากการเร่งการส่งออกหลังสิ้นสุดมาตรการจำกัด ส่งออกยางแห้งในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีก่อน ด้านอาหารทะเลกระป๋องหดตัวต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ดี การผลิตน้ำมันปาล์มกลับมาขยายตัวจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก รวมถึงการผลิตถุงมือยางขยายตัวต่อเนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน ด้านการผลิตเพื่อส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปขยายตัวจากผลของฐานต่ำในปีก่อนที่จีนเข้มงวดเรื่องการ ตรวจสอบมลพิษที่เกิดจากโรงงานเป็นสำคัญ

67451429_360057984907847_67780631244832768_n

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจีนชะลอตัว โดยนักท่องเที่ยวจีนส่วนหนึ่งเปลี่ยนจุดหมายปลายทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวต่ำกว่าไทย สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียยังคงขยายตัว แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินริงกิตอ่อนค่า ตลอดจนเศรษฐกิจภายในประเทศมาเลเซียยังไม่เข้มแข็ง

67466338_1260111690841826_6778504934884114432_n

ผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9 เร่งตัวจากไตรมาสก่อน ตามผลผลิตที่ เพิ่มขึ้นในทุกสินค้าเกษตรหลัก โดยปาล์มน้ำมันเร่งตัวสูงตามพื้นที่ให้ผลผลิต และปัจจัยชั่วคราวของฐานต่ำจากการเหลื่อมฤดูกาลในปีก่อน ด้านผลผลิตยางพาราปรับเพิ่มขึ้นตามพื้นที่ให้ผลผลิต ประกอบกับผลผลิตกุ้งขาว ขยายตัวชะลอลง เนื่องจากเกษตรกรมีความกังวลในเรื่องสภาพอากาศที่ร้อนจัด ด้านราคาสินค้าเกษตรหดตัว ร้อยละ 1.1 แต่ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากราคายางเพิ่มขึ้นตามผลผลิตโลกที่ลดลงเนื่องจากเกิดโรคระบาดในประเทศอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันราคากุ้งขาวเพิ่มขึ้นจากผลผลิตในประเทศอินเดียได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนในเดือน พ.ค. ขณะที่ราคาปาล์มน้ำมันยังหดตัวสูงจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับสต๊อกน้ำมัน ปาล์มดิบไทยและมาเลเซียอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 14.6

67468084_379380952766930_7258729768030306304_n

เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 และปรับดีขึ้นจาก ไตรมาสก่อน โดยการใช้จ่ายในหมวดบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทยขยายตัวดี ด้านการใช้จ่าย สินค้ากึ่งคงทนทรงตัว อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจาวันหดตัวเล็กน้อย ขณะเดียวกันการใช้จ่าย สินค้าคงทนหมวดยานยนต์หดตัวตามยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เป็นสาคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อ นอกภาคเกษตรที่ยังไม่เข้มแข็ง

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 สะท้อนจากการเพิ่มขึ้นของ มูลค่านำเข้าสินค้าทุนในอุตสาหกรรมน้ำยางข้น และไม้ยางพาราแปรรูปและผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการลงทุน ภาคก่อสร้างที่ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของยอดขายปูนซีเมนต์และพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและการบริการในหมวดโรงแรม

67790544_2468862056514617_6630933079819026432_n

การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 ตามการลดลงทั้งรายจ่ายประจำและ รายจ่ายลงทุน โดยรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 9.3 ในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยทักษิณ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส่วนรายจ่ายลงทุนลดลง ร้อยละ 7.8 ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงในหมวดครุภัณฑ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย นอกจากนี้ ในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างมีการเบิกจ่ายลดลงจากงบกลางและงบกลุ่มจังหวัดทั้ง 3 กลุ่มในภาคใต้เป็นสำคัญ

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.62 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.40 ในไตรมาสก่อน ตามราคาอาหารสด โดยเฉพาะผักสดที่ได้รับผลจากอากาศร้อนจัดซึ่งทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้วอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ลดลงจากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อน สอดคล้องกับจำนวนผู้มีงานทำที่ปรับฤดูกาลแล้วซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 เงินฝากทั้งระบบเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 โดยเป็น การขยายตัวของเงินฝากจากส่วนราชการเป็นสำคัญ ด้านสินเชื่อคงค้างทั้งระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากมีการรับโอนพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=44585

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us