|

สงขลาฝึกซ้อมแผนเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หลังพบการแพร่ระบาด

68784538_341996776706357_9088012633533054976_n

จังหวัดสงขลา ฝึกซ้อมแผนเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรระดับจังหวัด รูปแบบเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise : FEX) หลังพบการแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่องในประเทศต่าง ๆ หลายภูมิภาคทั่วโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน

วานนี้ (15 ส.ค. 62) ที่ห้องประชุมเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา นำโดย นายสัตวแพทย์กิติกรณ์กร เจนไพบูลย์ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา จัดฝึกการซักซ้อมแผนเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรระดับจังหวัด รูปแบบเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise : FEX) โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปศุสัตว์อำเภอ , อาสาปศุสัตว์ประจำอำเภอ , เกษตรอำเภอ , เกษตรตำบล , เกษตรกรรายย่อย , เจ้าของฟาร์มสุกรรายใหญ่ , ผู้นำชุมชน , เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และผู้เลี้ยงสุกร เป็นต้น เข้าร่วมซักซ้อมแผนอย่างพร้อมเพรียงกัน

นายสัตวแพทย์กิติกรณ์กร เจนไพบูลย์ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์จากรายงานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) พบว่าการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมีการแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบันได้มีการระบาดใน 20 ประเทศ หลายภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งเป็นทวีปยุโรปจำนวน 10 ประเทศ , ทวีปแอฟริกา 4 ประเทศ และทวีปเอเชีย มี 6 ประเทศ ได้แก่ จีน , มองโกเลีย , เกาหลีเหนือ , เวียดนาม , กัมพูชา และล่าสุด ลาว (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.ค.62) สำหรับความเสี่ยงในประเทศไทย ประกอบด้วย การลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร , การปนเปื้อน (ดูงานต่างประเทศ) , การลักชอบนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร และซากสุกร รวมทั้งการปนเปื้อน ยานพาหนะ วัตถุ อุปกรณ์

67948955_424925994815038_1088138069044887552_n

กรมปศุสัตว์ จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เพื่อป้องกันการระบาดเข้าสู่ประเทศไทย อาทิ การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมโรค ASF ในสุกร (war room) ทั้งระดับกรม และระดับจังหวัด 2. การประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไป และประชุมชี้แจงเกษตรกรถึงอันตรายและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิดการระบาด 3. การตรวจเยี่ยมฟาร์มหมูทุกฟาร์ม และให้คำแนะนำเพื่อปรับระบบการเลี้ยงให้มีระบบป้องกันโรคที่ดี 4. การประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวต่างชาติ ห้ามมิให้นำผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ติดตัวเข้ามาประเทศไทย 5. การตรวจสอบและทำลายผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินำติดตัวเข้ามา 6. การเข้มงวดการเคลื่อนย้ายสินค้าปศุสัตว์ที่นำเข้า-นำผ่าน-นำออกตามด่านพรมแดนทุกแห่งของประเทศไทย 7. การเตรียมความพร้อมให้มีระบบการทำลายสุกรที่เป็นโรคและซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นต้น

68595736_2310685219148304_5423101973110980608_n

ซึ่งทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา ได้จัดการซักซ้อมแผนการดำเนินงานในครั้งนี้ขึ้น เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแก่ผู้เลี้ยงสุกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นการสร้างมาตรฐานการปฎิบัติงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเป็นการทดสอบและประเมินขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้าน รวมทั้งบทบาทที่ใช้ในการเผชิญกับสถานการณ์เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

68713635_1414207325393129_1153465110027567104_n

กิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วย การบรรยายเรื่อง “การเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร , การชี้แจงแนวทางการฝึกการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร , การฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์สมมติ และการสรุป พร้อมประเมินผลการฝึกสอน

69155446_1041902262680999_39253406925193216_n

68934790_2328837847164533_1889305974062186496_n

สุธิดา พฤกษ์อุดม สวท.สงขลา รายงาน 15 ส.ค.62

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=45146

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us