|

ม.อ. จับมือ 12 ภาคีเครือข่าย รวมพลจิตอาสาภาคใต้ เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจทำงานเพื่อสังคม

7EB7B5C5-C5A8-462C-AD43-39CF9D9977DD-8724-000006E2AC596ECE

ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ 12 องค์กรภาคีเครือข่ายด้านจิตอาสา จัดงาน “มหกรรมจิตอาสาภาคใต้ ครั้งที่ 2” Theme : อาสาสมัครเปลี่ยนโลก (Volunteerism for CHANGE) เพื่อเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในการทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคมในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมดึงวิทยากรมากประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจ

445A3492-BEFB-455D-B2A9-F6E2597AD198-8724-000006E298456A52

วันนี้ (3 ก.ย. 62) ที่ Conference Hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมจิตอาสาภาคใต้ ครั้งที่ 2” Theme : อาสาสมัครเปลี่ยนโลก (Volunteerism for CHANGE) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยากร เครือข่ายนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร หน่วยงาน ชมรม องค์กร ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 วิทยาเขต เครือข่ายมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ภาคีเครือข่ายองค์กรร่วมจัด เครือข่ายนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมงานรวม 700 คน

67E280F1-66F0-45E0-BF1E-F7F6B6994C31-8724-000006E289A1E68C

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากการจัดงานมหกรรมจิตอาสา ครั้งที่ 1 เมื่อปีที่ผ่านมา ได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี จากนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และเครือข่ายต่างๆ ที่มาเข้าร่วมงาน ซึ่งในปีที่ผ่านมาเครือข่ายต่างๆ ได้มาเล่าเรื่องอาสาสมัครที่ทุกภาส่วนทำหน้าที่ ส่งผลให้เกิดการยกระดับการทำงานอาสาสมัคร เชื่อมโยงเครือข่ายงานอาสาสมัคร และสร้างอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ ทางผู้จัดงานจึงเล็งเห็นความสำคัญและจัดอีกครั้งในปีนี้ โดยร่วมกับเครือข่ายเดิมและเครือข่ายใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ภายใต้แนวคิด อาสาสมัครเปลี่ยนโลก (Volunteerism for CHANGE)

23186364-C102-4528-AA2D-9B7B90C71143-8724-000006E2A6062331

โดยพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคมนั้น เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของทุกกลุ่มคน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตอาสาที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่กลุ่มคนทุกเพศทุกวัย และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่ให้มากขึ้น ยกระดับงานอาสามสมัครให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายงานอาสาสมัครในภาคใต้ในการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดผลร่วมกัน สร้างความตระหนักรู้ถึงการช่วยเหลือคน เป็นการปลูกฝังค่านิยมในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ก่อให้เกิดความภูมิใจในคุณค่าของตัวเอง และเกิดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

4239A628-A493-4A2A-9C1B-5BEBE77A17DA-8724-000006E28D9716CA

ดังนั้น ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มหาวิยาลัยฯ ได้จัดขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสาน เชื่อมโยงการทำงานเพื่อสังคมของเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านจิตอาสา ทั้งเครือข่ายเก่าและเครือข่ายใหม่ ทั้ง 12 องค์กร ได้แก่ เครือข่ายจิตอาสา Plogging Narathiwat สมาคมรักษ์ทะเลไทย ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา ม.อ. มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมิการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มูลนิคลองโต๊ะเหล็มอะคาเดมี สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา) กลุ่มมุสลิมรักษ์ความสะอาด ชมรมคนรักษ์ ม.อ. สมาคมอาสาสร้างสุข และสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สู่การสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินงานอาสาสมัครเพื่อสังคมในพื้นที่ภาคใต้แก่นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ รวมถึงนักเรียน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาร่วมกับเครือข่ายความองค์กรอาสาสมัครและชุมชน ในการพัฒนางานอาสาสมัครเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ภาคใต้ และเพื่อสื่อสารผลการดำเนินงานอาสาสมัครของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ด้านการดำเนินงานอาสาสมัครในพื้นที่ภาคใต้ ให้สังคมได้รับรู้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

052314EC-3654-4FBF-B674-F587045D678E-8724-000006E2B6383B7A

สำหรับรูปแบบของกิจกรรม ประกอบด้วย นิทรรศการจิตอาสาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้, การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พลังอาสาสมัครกับการเปลี่ยนแปลงสังคมในทุกระดับ” โดยคุณ Stephanie Mueller ผู้มีประสบการณ์การทำงานอาสาสมัครนานาชาติในหลายประเทศจากองค์กร Voluntary Service Overseas (VSO) คุณอนุรักษ์ สรรฤทัย หรือ บังฮาซัน ผู้ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการขายอาหารทะเลทางโซเชียล โดยมีแนวคิดการขายเพื่อต้องการกระจายสินค้าชุมชน ทำให้ชุมชนรายได้ และนางสาวพนิตนันท์ สุทธิวงษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานจิตอาสาทั้งในประเทศและต่างประเทศ และดำเนินรายการโดย คุณนันทินี มาลานนท์ ผู้จัดการเครือข่ายจิตอาสา นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานอาสาสมัคร โดยมีบุคคลสาธารณะที่โดดเด่นด้านจิตอาสา ตัวแทนนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งเครือข่ายที่ทำงานด้านจิตอาสามาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานอาสาสมัครใน 9 ประเด็น ได้แก่ 1. นวัตกรรมงานอาสาใหม่ๆ กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2. อาสาสมัครถักทอแรงบันดาลใจสู่สันติภาพ 3. “สำนึกรักถิ่น : จิตอาสาของคนรักถิ่น เขา ป่า นา เล” 4. การเรียนรู้นอกระบบผ่านงานอาสาสมัครนานาชาติ Informal Learning through international volunteer work 5. งานจิตอาสากับการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน 6. บัณฑิตอาสาและงานวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน 7. คุณค่าของนักศึกษากับการทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม 8. จิตอาสาสู้ภัยพิบัติ และ 9. การสนับสนุนกระบวนการอาสาสมัครเพื่อการพัฒนานักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และการเสวนาพิเศษ “คนอาสาบันดาลใจ” โดยคุณวงศ์ทะนง ชัยณรงค์สิงค์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการสื่อ THE STANDARD

322112FC-BCC7-4912-8CAD-74507052F89A-8724-000006E29B86528F

AC717B40-F038-4A46-93A1-17C53E266842-8724-000006E291C45D30

B4FAE54D-ADB0-43B9-B364-E4874852F731-8724-000006E2B2C2ED2A

IMG-6038

IMG-6041

IMG-6044

IMG-6045

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=45849

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us