|

สถาบันทักษิณคดีศึกษา – วัดแหลมพ้อ ร่วมสืบสานประเพณีทำบุญเดือนสิบ ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้

71829928_2512989352114615_4664543038477959168_o

สถาบันทักษิณคดีศึกษา ม.ทักษิณ ร่วมกับ วัดแหลมพ้อ จังหวัดสงขลา จัดงาน “สืบสานประเพณีทำบุญเดือนสิบ” เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้

วันนี้ (25 ก.ย. 62) ที่ วัดแหลมพ้อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา นายไชยพร นิยมแก้วนายอำเภอจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดโครงการอนุรักษ์สืบสานประเพณีศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ “กิจกรรมสืบสานประเพณีทำบุญเดือนสิบ” ครั้งที่ 3 โดยมีดร.พระครูทาวีธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดแหลมพ้อ รองศาสตราจารย์ ไพบูลย์ ดวงจันทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายบริหารและกิจการนิสิต/รักษาการผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา นางสมศรี รักนุ้ย วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

70812965_2512989875447896_8600662750290509824_o

รองศาสตราจารย์ ไพบูลย์ ดวงจันทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายบริหารและกิจการนิสิต/รักษาการผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา กล่าวว่า สถาบันทักษิณคดีศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะเป็นหน่วยงานทางวัฒนธรรมที่มีบทบาทหน้าที่หลักในการส่งเสริมและเผยแพร่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีทำบุญเดือน 10 จึงจัดโครงการขึ้นประกอบด้วยการจัดหฺมฺรับและการแห่หฺมฺรับ ขบวนแห่จากบริเวณสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรมติณสูลานนท์จังหวัดสงขลา สู่วัดแหลมพ้อ ซึ่งกิจกรรมนี้ถือเป็นการร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการและการวิจัยด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้และคาบสมุทรมาลายู โดยมีพระครูวาทีธรรมวิภัชท่านสุชาติเจ้าอาวาสวัดแหลมพ้อที่มีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่สืบสานประเพณีอันดีงามของชาวใต้สร้างจิตสำนึกรักวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้ เกิดความสามัคคีในชุมชน รวมถึงกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงคุณค่าของประเพณีและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของภาคใต้

70376907_2512989428781274_1861554416541237248_o

โดยประเพณีทำบุญเดือนสิบเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวปักษ์ใต้ที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 จนถึงวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 การทำบุญเดือนสิบเป็นการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางด้านจิตใจของผู้ปฏิบัติที่มีต่อบรรพชนอันเป็นค่านิยมที่สำคัญยิ่งของชาวใต้และของคนไทยทั่วไป เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นประเพณีที่ช่วยให้ผู้ที่จากภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดต่างๆ ได้กลับมายังภูมิลำเนาเดิมเพื่อร่วมประเพณี อีกทั้งเพื่อให้บรรพชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจที่จะสืบทอดและรักษาวัฒนธรรมนี่ไว้ให้เป็นมรดกของชาวใต้สืบไป

71206949_2512989308781286_3486621212140896256_o

70663481_2512989728781244_7537963708115320832_o

70756863_2512989698781247_7253426943708626944_o

71142732_2512990118781205_8796046271488983040_o

71524974_2512990335447850_557609247488081920_o

อมลรดา ชูประสิทธิ์ /ข่าว

วิทยา ณัฐภาณ์ /ภาพ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

25 ก.ย. 62

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=46626

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us