|

‘แบงก์ชาติ’ แถลงภาวะเศรษฐกิจใต้ฯ ไตรมาส 3 เผยเกษตรชะลอลง – ท่องเที่ยวหดตัว – อัตราว่างงานเพิ่ม

396D4FCC-7D86-4761-A2B9-91C4EC813223-1020-000000B5DB2F70C2

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 3/2562 และแนวโน้ม เผยขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน ตามผลผลิตเกษตร ท่องเที่ยวหดตัวน้อยลงจากนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น

วันนี้ (4 พ.ย. 62) ที่ สถานสวัสดิสงเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ถ.เพชรเกษม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เป็นประธานแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 3/2562 และแนวโน้ม โดยมีผู้แทนจากสถาบันการเงินต่างๆ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังอย่างคับคั่ง

68E43C4A-920B-41CF-BE93-E940DF9894DE-1020-000000B5E5CF733B

นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน ตามผลผลิตเกษตรที่ชะลอลงจากปาล์มน้ำมัน ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังหดตัวจากกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราเป็นสำคัญ สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ยังคงหดตัว สำหรับภาคการท่องเที่ยวหดตัวน้อยลงจากนักท่องเที่ยวจีน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปิดเส้นทางบินใหม่มายังจังหวัดภูเก็ต ด้านอุปสงค์ในประเทศการลงทุนภาคเอกชนแผ่วลงจากไตรมาสก่อน ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายประจำ อย่างไรก็ตาม การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้นตามการใช้จ่ายสินค้าคงทนหมวดยานยนต์ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อกลับมาติดลบเล็กน้อยจากหมวดพลังงาน ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สำหรับอัตราการว่างงานหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลเพิ่มขึ้นตามผู้มีงานทำที่ลดลงทั้งในและนอกภาคเกษตร

48F3DE01-2217-4234-9264-101A19A2BF7A-1020-000000B5D41A0C44

การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้ากุ้งได้มากขึ้นจากปัญหาโรคระบาดในประเทศอินเดีย รวมถึงค้าสั่งซื้อจากจีนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้านการผลิตสินค้าปลาปรับตัวดีขึ้นเช่นกันตามค้าสั่งซื้อจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ การผลิตอาหารทะเลกระป๋องหดตัวน้อยลงตามค้าสั่งซื้อจากตลาดแอฟริกาใต้ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตยางพาราแปรรูปและไม้ยางและผลิตภัณฑ์หดตัว ตามความต้องการจากจีนที่ลดลงเป็นสำคัญ ด้านมูลค่าการส่งออกยังคงหดตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรม

5DB7D280-F785-4DD2-9D6F-A5EEBE2F5FA8-1020-000000B5DE8C4E24

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่หดตัวน้อยลงจากการเปิดเส้นทางบินใหม่มายังจังหวัดภูเก็ตที่เพิ่มขึ้น ผลดีจากการยกเว้นค่าธรรมเนียม visa on arrival และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานต่ำจากเหตุการณ์เรือล่มในจังหวัดภูเก็ต สำหรับนักท่องเที่ยวอินเดียยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นักท่องเที่ยวมาเลเซียกลับมาหดตัว โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินริงกิตที่อ่อนค่า

D642622D-0F54-42D1-BB3D-CED635FABDB1-1020-000000B5E91B9F55

ผลผลิตเกษตรขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันจากผลของฐานสูงจากการเหลื่อมฤดูกาลในปีก่อน นอกจากนี้ ผลผลิตกุ้งขาวขยายตัวชะลอลงเช่นกัน อย่างไรก็ดีผลผลิตยางพาราขยายตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนตามพื้นที่ให้ผลผลิตและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ด้านราคาสินค้าเกษตรหดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อน ผลจากราคายางพาราที่ปรับลดลงหลังผลผลิตโลกออกสู่ตลาดมากกว่าคาดและความต้องการจากจีนลดลง นอกจากนี้ ราคากุ้งขาวกลับมาหดตัวจากอุปสงค์โลกที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาปาล์มน้ำมันหดตัวจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบไทยและมาเลเซียอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน

8BD72162-4075-4AD8-8BE6-BACAE46B726D-1020-000000B5E2D34868

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการใช้จ่ายในสินค้าคงทนหมวดยานยนต์ สะท้อนจากยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ปรับตัวดีขึ้น ตลอดจนการใช้จ่ายภาคบริการด้านการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้านการใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจ้าวันปรับดีขึ้นเล็กน้อย โดยยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขณะที่การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนหดตัวต่อเนื่อง

4327494A-8A80-4717-B2FB-B2A7498FCBD8-1020-000000B5EC48AD3D

การลงทุนภาคเอกชนแผ่วลงจากไตรมาสก่อน ตามการลงทุนของภาคการผลิตในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม้ยางและผลิตภัณฑ์ น้ำมันปาล์ม ตลอดจนถุงมือยาง ด้านการลงทุนในภาคก่อสร้างขยายตัวชะลอลงจากยอดขายปูนซีเมนต์และพื้นที่ก่อสร้าง อย่างไรก็ดี พื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์และเพื่อการบริการในหมวดโรงแรมขยายตัวต่อเนื่อง

การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามรายจ่ายประจ้าที่หดตัวมากขึ้นจากการเบิกจ่ายที่ปรับลดลงในหมวดค่าใช้สอยและงบรายจ่ายอื่นของกรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกรมส่งเสริมการเกษตร ขณะที่รายจ่ายลงทุนยังคงหดตัว ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงในหมวดครุภัณฑ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของกรมชลประทาน

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.04 ลดลงจากร้อยละ 0.62 ในไตรมาสก่อนตามการปรับลดลงของราคาพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สำหรับอัตราการว่างงานหลังขจัดปัจจัยด้านฤดูกาลอยู่ที่ร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนตามจำนวนผู้มีงานท้าที่ลดลงทั้งในและนอกภาคเกษตร

ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี2562 เงินฝากทั้งระบบขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามการขยายตัวของเงินฝากจากส่วนราชการที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ด้านสินเชื่อคงค้างทั้งระบบขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนตามการชะลอลงของทั้งสินเชื่อธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ผลจากเงินให้สินเชื่อภาคธุรกิจที่ปรับลดลง ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคยังคงขยายตัว

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=48111

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us