|

ม.อ. ผนึก มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ เปิดเวทีสัมมนา ‘สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่สงขลา’

DSCF4912

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญญาและสุธีรัตนามูลนิธิ เปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานชาติ “สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่สงขลา” International Seminar & Workshop on Suvarnabhumi : On The Maritime Silk Road เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายภาคีวิชาการ สู่การศึกษา ต่อยอด และเปิดประวัติศาสตร์เมืองสงขลาในสร้างการรับรู้ พัฒนาเศรษฐกิจและประเทศชาติ

วันนี้ (8 พ.ย. 62) ที่ ห้องภูมิปัญญาศิลป์ ชั้น 3 ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานชาติ “สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่สงขลา” International Seminar & Workshop on Suvarnabhumi : On The Maritime Silk Road โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก – ประไพ วิริยะพันธ์ และสำนักเมืองโบราณ ตลอดจนผู้บริหาร นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักศึกษา และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงาน

DSCF4904

นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า การศึกษาค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของดินแดนแถบคาบสมุทรนับวันจะมีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้อย่างมาก สงขลาเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาภาคใต้มาทุกยุค ทุกสมัย คณะทำงานโครงการสุวรรณภูมิบนเส้นทางสายไหมทางทะเลที่สงขลา จึงกำหนดให้สงขลาเป็นพื้นที่หนึ่งของโครงการโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ของผู้คนในท้องถิ่นเกี่ยวกับความเป็นมานานะของเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมทางทะเลมาแต้โบราณ การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “สุวรรณภูมิ บนเส้นทางทางสายไหมทางทะเล ที่สงขลา” ในครั้งนี้เท่ากับเป็นการเปิดประวัติศาสตร์เมืองสงขลาในแง่มุมที่คนสงขลายังไม่ได้รับรู้มาก่อน อันจะก่อให้เกิดการจุดประกายการศึกษาค้นคว้าต่อยอดโดยมีส่วนร่วมของนักวิชาการ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ในมิตต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ และสังคมของจังหวัดสงขลา และจังหวัดอื่นในภาคใต้เป็นอย่างมาก ประกอบกับจังหวัดสงขลากลังขับเคลื่อนเพื่อเตรียมในการยื่นขอเป็นเมืองมรดกโลก ซึ่งยังต้องการข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากการศึกษาอย่างเป็นรับบมาสนับสนุนเพิ่มเติมอีกหลายด้าน นอกเหนือจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว การที่สงขลาเป็นเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อบ้านในประชาคมอาเซียนทางทั้งบกและทางทะเล การส่งเสริมให้ผู้คนในท้องถิ่นเกิดความรู้ความเข้าใจในรากเหง้าของตนเอง และตระหนักรู้ถึงความเชื่อมโยงกันทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้ตนหลากหลายเชื้อชาติที่หลั่งไหลเข้ามาสัมพันธ์กันในบริบทต่างๆ มีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็ง และความงดงามของสังคมพหุวัฒนธรรมซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ดังนั้น การสัมมนาในครั้งนี้จะสร้างคุณูปการต่อการขับเคลื่อน การพัฒนาจังหวัดสงขลาได้อย่างดี

DSCF4900

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ กล่าวว่า โครงการ “สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหมทางทะเล” เป็นโครงการที่มีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญญาและสุธีรัตนามูลนิธิ โดยนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้ และสร้างความตระหนักในคุณค่าความสำคัญของเส้นทางสายไหมทางทะเล ซึ่งถือเป็นสะพานเชื่อมโลกในอดีตกว่า 2,000 ปี ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านต่างๆ ในโลกปัจจุบัน โครงการ “สุวรรณภูมิบนเส้นทางสายไหมทางทะเล” ในเฟสที่ 1 นี้ ประกอบด้วยโครงการย่อย 3 โครงการ โครงการย่อยที่ 1 เป็นการลงพื้นที่ย้อนศึกษาเส้นทางสายไหมทางทะเลที่จังหวัดชุมพรและระนอง ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว เมื่อวันที่ 2 – 3 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา มีนักวิชากรจากสถาบันต่างๆ เข้าร่วมจำนวน 33 คน

สำหรับการสัมมนา เชิงปฏิบัติการนานชาติ “สุวรรณภูมิ บนเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่สงขลา” ในครั้งนี้เป็นโครงการย่อยที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอชุดข้อมูลความรู้เชิงประจักษ์จากการสำรวจ ศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เพื่อจุดประกายให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเกิดการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีวิชาการในการศึกษาต่อยอดในประเด็นต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าและความสมบูรณ์ของข้อมูลอย่างรอบด้าน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาภาคใต้และประเทศชาติต่อไป

ทั้งนี้ การสัมมนาฯ ประกอบด้วย 2 วัน วันแรกเป็นการให้ข้อมูลความรู้และข้อค้นพบ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้วระดับประเทศและระดับนานาชาติ และวันที่ 2 เป็นการลงพื้นที่เพื่อศึกษาแหล่งโบราณคดีบนคาบสมุทรสทิงพระ

DSCF4892

DSCF4907

DSCF4893

DSCF4895

DSCF4915

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=48283

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us