|

คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. ชูวิจัยชุมชน ผลักดัน ‘ควนเนียงโมเดล’ สร้างชุมชนนวัตกรรม

74698801_808346019595755_4965127480034721792_n

คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. ชูวิจัยชุมชน ผลักดัน “ควนเนียงโมเดล” สร้างชุมชนนวัตกรรม แก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำผู้บริหารของคณะและนักวิจัยลงพื้นที่ปักหมุด อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน และนำไปพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่

78079270_513644445891237_1345592646583713792_n

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ กล่าวว่า ในปี 2563 คณะวิทยาการจัดการ มุ่งเป้าผลักดันโครงการวิจัย วจก. สู่ชุมชน เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การวิจัยของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาตามโจทย์สำคัญของการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการสร้างนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม รวมทั้งตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) 1 ใน 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการ ซึ่งมีหนึ่งจุดเน้น คือ เน้นพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) โดยมหาวิทยาลัยต้องมีส่วนในการใช้องค์ความรู้ของการวิจัยเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องอาศัยการบูรณการศาสตร์ในทุกสาขาวิชาในการทำวิจัย ทั้งนี้สอดคล้องกับการที่คณะวิทยาการจัดการมีศาสตร์การจัดการที่หลากหลายทั้งศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี และรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งจะสามารถทำให้เกิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เน้นการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ โดยเอาพื้นที่ชุมชนเป็นตัวตั้งในการค้นหาโจทย์วิจัยและดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่

76747491_751602648672663_3466965612138332160_n

ด้าน ผศ.ดร.กุลวดี ลิ่มอุสันโน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าวว่า การที่คณะวิทยาการจัดการ ปักหมุดพื้นที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่นำร่องในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เนื่องจากในปี 2562 คณะวิทยาการจัดการได้ร่วมมือกับธนาคารออมสินในการให้บริการวิชาการตามโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ในการนำนักศึกษาและอาจารย์ลงพื้นที่ช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 2 กลุ่มในพื้นที่อำเภอควนเนียง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนลุงวรควนเนียง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงบ้านเกาะยวน ทำให้ทราบปัญหาเบื้องต้นในพื้นที่และต้องการต่อยอดเป็นการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้การขับเคลื่อนโครงการวิจัย วจก. สู่ชุมชน จะกำหนดแผนการดำเนินการตามกระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมแรกคือ การลงพื้นที่เพื่อศึกษาความต้องการและค้นหาโจทย์วิจัยจากชุมชน ซึ่งเป็นการลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุยและรับฟังปัญหาจากผู้นำกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จากตำบลต่างๆ ในอำเภอควนเนียง จำนวน 30 คน โดยใช้พื้นที่ของสหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด ในการจัดการประชุมกลุ่มแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้นักวิจัยได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสบริบทของพื้นที่ ได้ไปรับฟังปัญหาโดยตรงจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ และจะได้นำปัญหาดังกล่าวไปกำหนดเป็นหัวข้อวิจัย เพื่อสืบเสาะแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งได้เป็นรูปแบบหรือโมเดลที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา และสุดท้ายคือ การนำไปทดลองปฏิบัติจริงเพื่อเป็นการพิสูจน์ยืนยันโมเดล ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัยเพื่อร่วมสร้างและพัฒนาอำเภอควนเนียง ไปสู่ “ควนเนียงโมเดล” ที่พร้อมจะนำไปสู่การเป็นโมเดลต้นแบบในการพัฒนาเชิงพื้นที่และสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดสงขลาต่อไป

76904038_487586108548442_1680988790212001792_n

73495276_590217608450158_6778182305530773504_n

75491739_519066512010352_261293900344328192_n

77106447_430014651001634_447498092883738624_n

77306084_585551795546089_8215300799681527808_n

78430412_280940089482338_1141624928869548032_n

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=49383

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us