|

รองผู้ว่าฯ สงขลา ลงพื้นที่รับฟังปัญหาปัญหาเกษตรกรปลูกนาข้าวในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์

82243154_2733206343426247_1796842058393059328_o

รองผู้ว่าฯ สงขลา ลงพื้นที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรปลูกนาข้าวในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ หลังประสบปัญหาน้ำในนาข้าวมีค่าความเค็มสูง พร้อมทั้งเตรียมผลักดันข้าวหอมมะลิกระแสสินธุ์ ให้เป็นสินค้าขึ้นชื่อ ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาให้ดียิ่งขึ้น

วานนี้ (7 ม.ค. 63) นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ หลังประสบปัญหาน้ำในนาข้าวมีค่าความเค็มสูง ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา โดยมีนายครรชิต กปิลกาญจน์ นายอำเภอกระแสสินธุ์ นายทิวา สังขบุญญา นายกเทศมนตรีตำบลเชิงแส นายวิชัย ศรีสมโภชน์ เกษตรจังหวัดสงขลา นายปัญญา แก้วทอง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนตำบลเชิงแส และเกษตรกรปลูกนาข้าวในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ

81578899_2733206313426250_325557945511182336_o

นายปัญญา แก้วทอง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนตำบลเชิงแส กล่าวว่า เกษตรกรในพื้นที่ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ได้รวมตัวกันเป็นศูนย์ข้าวชุมชนตำบลเชิงแส มีกิจกรรมผลิตเมล็ดพันธุ์ ผลิตข้าวสาร เพื่อใช้บริโภคในกลุ่มและจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มมูลค่าในอาชีพการทำนาปลูกข้าว ต่อมากลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนตำบลเชิงแส ได้ยกระดับจากศูนย์ข้าวชุมชนตำบลเชิงมาเป็นแปลงใหญ่นาข้าวบ้านเชิงแส ปัจจุบันมีสมาชิก 58 ราย มีพื้นที่กว่า 600 ไร่ โดยพันธุ์ข้าวที่เพาะปลูก ได้แก่ ข้าวดอกมะลิ 105 ข้าว กข.43 ข้าวปทุมธานี1 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งจะจำหน่ายให้กับสมาชิกและบุคคลทั่วไปภายใต้แบรนด์สินค้า “ข้าวหอมกระแสสินธุ์” และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ภายใต้แบรนด์ “กระแสสินธุ์พันธุ์ข้าว”

82796598_2733207693426112_1775223147235115008_o

สำหรับข้าวหอมมะลิของอำเภอกระแสสินธุ์ มีผลผลิตประมาณ 200-300 ตันต่อปี และยังได้รับรางวัลเป็นอันดับ 2 ของประเทศ เนื่องจากเป็นข้าวที่มีคุณภาพ มีความหอม ความนุ่มและได้รับการรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

81901062_2733207736759441_1310004972770820096_o

แต่ปัจจุบันพบว่าแปลงนาข้าวของเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งมากกว่าทุกปีและน้ำทะเลมีค่าความเค็มสูงเร็วกว่าปกติ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำในทะเลสาบในการเติมน้ำให้กับนาข้าวได้ ซึ่งทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และพูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของอำเภอกระแสสินธุ์ ที่ขณะนี้ข้าวกำลังตั้งท้องส่งผลให้ต้นข้าวขาดน้ำ เมล็ดข้าวลีบเสียหายและได้ผลผลิตน้อย

81965728_2733207033426178_4109253094804553728_o

นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ที่ผ่านมาอำเภอกระแสสินธุ์ไม่เคยประสบปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับน้ำในทะเลสาบในปีนี้มีค่าความเค็มสูงเร็วกว่าปกติ จึงไม่สามารถดึงน้ำมาใช้ในภาคการเกษตรได้ ทำให้ปีนี้เป็นปีแรกที่พี่น้องเกษตรกรประสบปัญหาดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้นได้ร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อสูบน้ำเข้านาให้น้ำจืดเข้ามาหล่อเลี้ยงข้าวที่กำลังตั้งท้อง แต่ในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ยังไม่มีแหล่งน้ำต้นทุน เพราะฉะนั้นจึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและหาแนวทางแก้ไขต่อไป

81519019_2733207010092847_4879640725853044736_o

อีกทั้ง ยังมีความเห็นร่วมกันอีกว่าจะนำเสนอโครงการสร้างแหล่งน้ำต้นทุนเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด เพื่อใช้สำหรับกักเก็บน้ำ การใช้อุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตรของพี่น้องประชาชนไว้ใช้ในยามที่ฝนแล้งทิ้งช่วงในพื้นที่กระแสสินธุ์ อีกด้วย

81330636_2733207663426115_9032854460199600128_o

ศิริลักษณ์ แคล้วคลาด/ข่าว

ประชา -วิลาศิณี-ชลิตา /ภาพ

7 ม.ค. 63

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=50843

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us