|

เปิดตัว “เซปเตอร์” เตรียมการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมในอ่าวไทย ด้วยมาตรฐานโลก

1579838998041

ต้องบันทึกไว้เป็นเรื่องสำคัญส่งท้ายปีของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม กับการมาถึงของแท่นขุดเจาะ “เซปเตอร์” ของบริษัท เชล์ฟดริลลิ่ง ซึ่งจะถูกนำมาใช้สนับสนุนภารกิจรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมของเชฟรอนในอ่าวไทย ให้เป็นไปอย่างปลอดภัยและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม


1579838990891

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เชล์ฟดริลลิ่ง ได้จัดพิธีต้อนรับการมาถึงของแท่นขุดเจาะเซปเตอร์ ที่ท่าเรือยูนิไทย จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยาน อาทิ “อรรถพล อ่างคำ” ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเชื้อเพลิงธรรมชาติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ “เคริ์ท ฮอฟฟ์แมน” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ  เชล์ฟ ดริลลิ่ง “เจฟ ซานเชซ” ผู้จัดการฝ่ายขุดเจาะและเตรียมหลุมเพื่อการผลิตบริษัท เชฟรอนเอเชียเซ้าท์ จำกัด และ “พวงทิพย์ ศิลปศาสตร์” ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านปิโตรเลียม  (ทีพีทีไอ)

หลังจากนี้ แท่นขุดเจาะเซปเตอร์จะถูกนำมาใช้ในการปิดและสละหลุมผลิตปิโตรเลียม (Well Plug and Abandonment) ของแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม โดยที่ผ่านมาเชฟรอนได้ทำงานร่วมกับเชล์ฟดริลลิ่ง หนึ่งในผู้นำการให้บริการด้านงานขุดเจาะมาตรฐานระดับโลก เพื่อยกระดับสมรรถนะของแท่นขุดเจาะเซปเตอร์ให้เหมาะกับการปฏิบัติงานปิดและสละหลุมถาวรในอ่าวไทยด้วยความปลอดภัยและปกป้องสิ่งแวดล้อม

แท่นขุดเจาะเซปเตอร์มีขาแท่นสามขา แต่ละขายาว 480 ฟุต เหมาะสำหรับการขุดเจาะในพื้นที่น้ำลึกไม่เกิน 350 ฟุต รองรับคนที่ขึ้นไปทำงานบนแท่นได้สูงสุดประมาณ 150 คน แท่นขุดนี้มีสมรรถนะในการดึงมากกว่า 4 เท่าของน้ำหนักที่ต้องใช้ในงานจริง จึงช่วยให้การการทำงานมีประสิทธิภาพ และ เพิ่มความปลอดภัยด้วย

“แท่นขุดเจาะนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเชฟรอนในการดำเนินงานสำรวจและพัฒนาพลังงานอย่างปลอดภัย ด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดอายุของแหล่งปิโตรเลียม” เจฟ ซานเชซ ผู้จัดการฝ่ายขุดเจาะและเตรียมหลุมเพื่อการผลิต บริษัท เชฟรอนเอเชียเซ้าท์ จำกัด กล่าวยืนยัน

1579839000641

“ทันตะวัน ไพรัชวินิจฉัย” ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการขุดเจาะ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด กล่าวว่า “เซปเตอร์”  มีภารกิจหลักคือการปิดและสละหลุมถาวรในส่วนของหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่มีปิโตรเลียมเหลืออยู่แล้ว ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญคือการอัดซีเมนต์ลงไปในท่อกรุและท่อผลิตที่ขุดลงไปจนถึงชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม เมื่อซีเมนต์แข็งตัวแล้วจะทดสอบให้แน่ใจว่าไม่มีปิโตรเลียมรั่วไหลออกมาได้อีก โดยใช้เวลาประมาณ 0.5 ถึง 7 วัน ขึ้นอยู่กับความลึกของหลุมที่ทำการเจาะ และสภาพแวดล้อมขณะดำเนินงานและสภาพทางธรณีวิทยาที่พบจริงในพื้นที่ด้วย

“นอกเหนือจากข้อกำหนดตามกฎหมายแล้ว กระบวนการทำงานต่างๆ ยังอยู่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัย ของเชฟรอน ที่ชื่อว่า Well Safe ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ Sub Safe ที่ใช้กับเรือดำน้ำพลังงานปรมาณูของกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อมาใช้ในการควบคุมการทำงานขุดเจาะอย่างเคร่งครัด  ป้องกันไม่ให้มีอุบัติภัยเกิดขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน”

ระบบ Well Safe ของเชฟรอน ให้ความสำคัญกับเรื่องของบุคลากรที่ต้องผ่านการอบรมและปฏิบัติตามแนวทางการทำงานตามคู่มือความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด  อุปกรณ์ต้องได้มาตรฐานและสามารถใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ มีการซ่อมบำรุงรักษาตามกำหนด มีการออกแบบ วางแผน การขุดเจาะให้ใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง เหมาะสม  และการติดตามตรวจสอบจากคนกลางว่าในระหว่างการดำเนินการขุดเจาะนั้นมีการปฏิบัติตามแผนที่วางเอาไว้จริง

“ทันตะวัน” กล่าวว่า หลังผ่านขั้นตอนการปิดและสละหลุมถาวรแล้วจะเป็นตอนการรื้อถอนโครงสร้างแท่นหลุมผลิต ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเล หรือโครงสร้างส่วนบน (Topside) จะมีการตัดและยกขึ้นเพื่อไปทำการรื้อถอนบนฝั่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดการต่อไป เช่น ทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่  หรือ หรือการนำไปแยกชิ้นส่วนออกมารีไซเคิลในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง และ โครงสร้างส่วนของขาแท่นเหล็กที่อยู่ใต้น้ำ (Jacket) จะถูกนำไปจัดการตามรูปแบบที่ภาครัฐและผู้รับสัมปทานมีข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งอาจรวมถึงการตัดและนำไปจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ ช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล

ที่ผ่านมาเชฟรอนได้ดำเนินการปิดและสละหลุมถาวรอยู่เป็นปกติในหลุมผลิตที่ไม่มีปิโตรเลียมเหลืออยู่ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว แต่การเลือกใช้ “เซปเตอร์” ที่มีการเปิดตัวล่าสุดครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า “เชฟรอน” ให้ความสำคัญสูงสุดด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมกับงานรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมในอ่าวไทย  ที่ทางเชฟรอนเป็นผู้รับสัมปทาน ซึ่งมีบางส่วนที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2565

ตลอดระยะเวลาเกือบ 6 ทศวรรษ ที่เชฟรอนได้ปฏิบัติงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยไม่เคยมีอุบัติการณ์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นเลย นั่นย่อมเป็นสิ่งการันตีถึงมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมระดับโลกได้เป็นอย่างดี

1579838995004

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=51606

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us