|

ม.ทักษิณ พาสื่อฯ ลงพื้นที่ชมงานวิจัย ‘บ้านโคกเมือง อัตลักษณ์วิถีท้องถิ่น แดนดินปลาสามน้ำ’ เดินหน้าดันท่องเที่ยวเชิงอาหาร รับนโยบาย ‘Songkhla Food City’

mOU พัฒนาวิชาการ (9)

มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจร งาน “บ้านโคกเมือง อัตลักษณ์วิถีท้องถิ่น แดนดินปลาสามน้ำ” นำสื่อฯ ลงพื้นที่ชมโครงการวิจัย การศึกษาอัตลักษณ์วิถีท้องถิ่นแดนดินปลาสามน้ำและการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนบ้านโคกเมือง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ขานรับนโยบาย “Songkhla Food City” พร้อมชูจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด การรับประทานอาหาร “ปิ่นโตร้อยสาย”

DSCF6294

DSCF6387

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 63 โครงการวิจัย การศึกษาอัตลักษณ์วิถีท้องถิ่นแดนดินปลาสามน้ำและการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนบ้านโคกเมือง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว) และมหาวิทยาลัยทักษิณ จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจร งาน “บ้านโคกเมือง อัตลักษณ์วิถีท้องถิ่น แดนดินปลาสามน้ำ” เพื่อเป็นการคืนข้อมูลสรุปผลการวิจัยแก่ชุมชนและเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และประชาสัมพันธ์เผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของชุมชนบ้านโคกเมือง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ให้เป็นที่แพร่หลาย โดยมี ผศ.ดร.วาสนา สุวรรณจิตร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ หัวหน้าชุดโครงการวิจัย พร้อมคณะวิจัย ได้แก่ อ.จิราพร คงรอด ผศ.ดร.เดือนตรา ร่าหมาน อ.ดร.พินิจ ดวงจินดา อ.เอกราช สุวรรณรัตน์ อ.ดร.นิจกานต์ หนูอุไร ตลอดจน นายอุดม ฮิ่นเซ่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 12 บ้านโคกเมือง นายวิจิตร อินทะโร บ้านตู้เย็น นายธานินท์ แก้วรัตน์ ฟาร์มทะเล นายเจียร ยางทอง บ้านเลี้ยงชัณโรง นางเพ็ญศรี แก้วรัตน์ กลุ่มแม่บ้านอาหารแปรรูป นักศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง

DSCF6388

การท่องเที่ยวชุมชนโคกเมือง เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่แสดงให้เห็นถึงเส้นทางที่มาของแหล่งทรัพยากรทางอาหารที่ชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจนกลายเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้วิถีชุมชน สอดคล้องกับแนวนโยบายในการส่งเสริมให้จังหวัดสงขลาเป็นเมืองแห่งอาหารการกิน สร้างมูลค่า พัฒนาสู่สากล (Songkhla Food City) ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชนนี้นอกจากจะเป็นวิถีชีวิตที่โดดเด่นในด้านการช่วยอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำและพันธ์พืชแล้วนั้น อัตลักษณ์ที่โดดเด่นนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารผ่านวิถีชุมชน เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางอาหารอย่างยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

DSCF6391

โดยกิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนโคกเมือง อาทิ การชมฟาร์มทะเล ร่วมปลูกป่าชายเลน การชมวิถีชาวประมงการจับปลาแบบโบราณ ชมวัด ภาพวาด บ้านตู้เย็น บ้านชัณโรง และที่พลาดไม่ได้คือการร่วมรับประทานอาหาร “ปิ่นโตร้อยสาย” ที่มีเมนูอาหารที่หลากหลายจากสมาชิกในชุมชน

DSCF6393

สำหรับชุดโครงการวิจัยเรื่อง การอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่า “ปลา 3 น้ำ” โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนบน – ตอนล่าง ประกอบด้วย 6 โครงการย่อย ได้แก่ 1. ความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาบางประการของปลาในทะเลสาบสงขลา ตอบบนและตอนกลาง เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 2. มูลค่าทางเศรษฐกิจและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน “ปลาสามน้ำ” อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 3. การอนุรักษ์ปลาสามน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมิติทางกฎหมาย และการมีส่วนร่วมของประชาชน 4. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แกงส้มปักษ์ใต้ “ปลา 3 น้ำ” พร้อมรับประทาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนบน – ตอนกลาง 5. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ปลาสามน้ำแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 6. การศึกษาอัตลักษณ์วิถีท้องถิ่นแดนดินปลาสามน้ำและการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านโคกเมือง อ.ควนเนียง จ.สงขลา

DSCF6290

“ปลา 3 น้ำ” หมายถึง ปลาที่อาศัยในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในระบบนิเวศ 3 แบบ คือ ระบบนิเวศน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล ระบบนิเวศของปลาสามน้ำจะเป็นระบบนิเวศที่มีการผสมผสายของน้ำเค็มและน้ำจืดในสัดส่วนที่ต่างกันในแต่ละฤดูกลายเป็นระบบนิเวศน้ำกร่อยในระยะเวลาเกือบตลอดทั้งปี

DSCF6297

ซึ่งพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ถือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญสำหรับการอาศัยของปลา 3 น้ำ (Amphidromous Fish) ซึ่งเป็นปลาที่มีอัตลักษณ์จำเพาะสามารถดำรงชีวิตได้ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด มีอยู่ในพื้นที่ที่เป็นรอยต่อน้ำเค็ม น้ำจืด (น้ำกร่อย) โดยเฉาะปลา 3 น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเลื่องชื่อถึงรสชาติที่มีความอร่อย มีเอกลักษณ์เฉพาะทะเลสาบสงขลา

DSCF6298

ทั้งนี้ การอนุรักษ์ “ปลา 3 น้ำ” ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนบน – ตอนกลาง ควรมีการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดี และกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยใช้มิติทางกฎหมาย สำหรับการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ “ปลา 3 น้ำ” นั้นสามารถทำได้โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย รวมทั้งแกงส้มปักษ์ใต้ “ปลา 3 น้ำ” พร้อมรับประทาน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ “ปลา 3 น้ำ” แปรรูป ควบคู่ไปกับการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย

DSCF6300

DSCF6309

DSCF6321

DSCF6329

DSCF6334

DSCF6342

DSCF6353

DSCF6358

DSCF6372

DSCF6375

DSCF6364

DSCF6396

DSCF6398

DSCF6402

DSCF6414

DSCF6416

DSCF6424

DSCF6425

DSCF6426

DSCF6427

DSCF6430

DSCF6435

DSCF6439

DSCF6444

DSCF6445

DSCF6456

DSCF6468

DSCF6471

DSCF6472

DSCF6475

DSCF6476

DSCF6481

DSCF6484

DSCF6487

DSCF6489

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=51922

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us