|

สธ.สงขลา ติดตามสถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในพื้นที่ 16 อำเภอ พร้อมหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา

mOU พัฒนาวิชาการ (3)

สธ.สงขลา ติดตามสถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในพื้นที่ 16 อำเภอจังหวัดสงขลา พร้อมหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่อัตราการคลอดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

วันนี้ (27 ก.พ. 63) ที่ห้องประชุมลีลาวดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา นายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เป็นประธานประชุมขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 1/2563 โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด, สถานีวิทยุกระจายเสียแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา ศึกษาธิการจังหวัด, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด, บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด ตลอดจนผู้แทนสื่อมวลชนและภาคเอกชนเข้าร่วมเพื่อติดตามสถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดสงขลาและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

87457247_2838301506250063_8062269482837475328_o

นายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีอัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี มีแนวโน้มลดลงในปี 2561-2563 (ไตรมาส 1) ซึ่งจังหวัดสงขลามีประชากรวัยรุ่นหญิงช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 35,892 คน (ประชากรฐานข้อมูล 43 แฟ้ม 31 ม.ค. 2563) โดยพบอัตราการคลอด 23.93, 18.80 และ 5.18 (ข้อมูล HDC) และอายุในช่วง 10-15 ปี มีอัตราคลอดมีชีพในปี 2561-2563 (ไตรมาส 1) พบอัตราการคลอด 0.49, 0.36 และ0.36 เกณฑ์ไม่เกิน 1.1:1000 ต่อพันประชากรหญิงอายุ 10-15 ปี (ข้อมูล HDC) ตามลำดับ

87491442_2838301489583398_3771686588237479936_o

และจากข้อมูลการเฝ้าระวังแม่ตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาล 16 โรงพยาบาล จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 121 ราย ที่เป็นแม่วัยรุ่น ณ จุดตรวจ หลังคลอด ตั้งแต่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2562 พบว่าช่วงอายุ 15-19 ปี มารับบริการมากสุดถึงร้อยละ 97.5 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา พบร้อยละ 100 โดยสถานภาพการศึกษาปัจจุบัน คือ หยุดเรียนและลาออกถึงร้อยละ 42.6 เนื่องจากไม่กล้ากลับไปเรียนเพราะอายเพื่อนและเกิดความเครียดจากแรงกดดันทางสังคม และพบแค่ร้อยละ 6.4 ที่กลับมาเรียนที่เดิมเพราะสามารถแก้ปัญหาและมีทางออก เนื่องจากการดูแลช่วยเหลือร่วมกันจากเพื่อน ครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

87459747_2838301802916700_772663315175309312_o

สำหรับแน้วโน้มการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี (เกณฑ์ไม่เกิน 1.1:1000) จากข้อมูลคลอดมีชีพในหญิง 15-19 ปี พบว่าการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมาร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำเกินเกณฑ์มาตลอดและในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2560 พบร้อยละ 20.88 ปี 2561 พบ 17.64 และ ปี 2562 พบร้อยละ 17.67 และไตรมาสที่ 1 ปี 2563 พบร้อยละ 18.15

87460576_2838301942916686_1317508014348959744_o

ทั้งนี้ การวางแผนครอบครัวในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี (เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) จากข้อมูลบริการในโรงพยาบาลทั้งหมด 17 โรงพยาบาล พบร้อยละของการคุมกำเนิดชนิดสมัยใหม่ในปี 2561 พบร้อยละ 24.68 และปี 2562 ร้อยละ 29.49 สำหรับในปี 2563 ไตรมาส 1 ร้อยละ 16.44 สำหรับร้อยละของการคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวรในปี 2561 ร้อยละ 61.43 และในปี 2562 พบร้อยละ 60.25 สำหรับในปี 2563ไตรมาส 1 พบร้อยละ 66.67 ซึ่งยังมีหญิงอายุ น้อยกว่า 20 ปี หลังคลอดหรือแท้งมารับบริการน้อยยังไม่ถึงค่าเป้าหมาย แต่มีแนวโน้มดีขึ้นทั้ง 2 ชนิด อย่างต่อเนื่อง

ศิริลักษณ์ แคล้วคลาด /ข่าว

อรรคพงษ์-วรางคณา/ภาพ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

27 ก.พ. 63

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=53017

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us