|

ชาวบ้านตอบรับกิจกรรมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ดี พร้อมสร้างการมีส่วนรวมในท้องถิ่น

mOU พัฒนาวิชาการ (3)

สภาสันติสุขตำบลมะรือโบออก เผย กิจกรรมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ ที่ผ่านมา มีเสียงสะท้อนจากชาวบ้านที่ดี ในการสร้างการมีส่วนร่วม อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานประเพณีท้องถิ่น

คณะทำงานสภาสันติสุขตำบลทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัด และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้มอบหมายให้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จัดทำแนวทางการขับเคลื่อนตำบลให้เป็นศูนย์กลางการบริหารผ่านกลไกของสภาสันติสุขตำบล เพื่อให้การบริหารราชการในพื้นที่เกิดเอกภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยดำเนินงานภายใต้โครงการตำบลมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน ซึ่งดเลือกตำบลจากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นำร่องเพื่อดำเนินการจำนวน 282 ตำบล มาเป็นต้นแบบ ภายใต้กรอบ 11 ประเด็นคือ 1. พื้นที่ปลอดภัย 2. พื้นที่ปลอดยาเสพติด 3. ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น 4. พื้นที่มีความสามัคคี 5. พื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ 6. พัฒนาการเกษตรผสมผสาน 7. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความพร้อม 8. โรงเรียนมีคุณภาพ 9. พัฒนาจุดเด่นที่สำคัญในตำบล 10. ตำบลที่มี 1 กีฬาโดดเด่น และ 11. พื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็งในทุกๆ มิติ

IMG_3713

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 นายแวฮูเซน อับดุลวาลี ประธานชมรมสภาสันติสุขตำบลมะรือโบออก เปิดเผยว่า กิจกรรมส่งเสริมพหุวัฒนธรรม ภายใต้โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั้งยืน (นำร่องและต้นแบบ) ของ ศอ.บต.เป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ รวมถึงประชาชนในตำบลมะรือโบออก ให้ความสนใจและมีเสียงสะท้อนว่าเป็นกิจกรรมที่ดีที่จะสร้างสังคมพหุวัฒนาธรรม ในการอยู่ร่วมกัน ในสังคม ร่วมทั้งได้ทำกิจกรรมมรแลกเปลี่ยน นำเสนอประเพณีวัฒนธรรม อันดีที่มีมายาวให้คนรุ่นหลังได้เห็น โดยกิจกรรมจัดขึ้นเมื่อวันที่27 กุมภาพันธ์ 2563 นายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิด มีหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

IMG_3715

ด้าน นางสาวนิฮาซีซะห์ บินนิมุ เจ้าหน้าที่ปกครองประจำตำบลมะรือโบออก เปิดเผยว่า ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นตำบล ที่มีประชาชน รวมกว่า 10.000 คน ทั้ง 11 หมู่บ้าน มีประชากร ทั้งไทยพุทธมุสลิม อยู่ร่วมกันมายาวนาน ส่วนใหญ่คนที่นี่ประกอบอาชีพทำสวนยางและสวนปาล์ม เป็นรายได้หลัก ตำบลมะรือโบออก  หลักจากเหตุการณ์ปล้นอาวุธปืนล็อตใหญ่ 413 กระบอก เมื่อปี 2547 จากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ค่ายปิเหล็ง” หลายปีก่อนหน้านี้ เหตุการณ์ ในพื้นที่ลดลงเป็นลำดับ การเป็นอยู่ของคนที่นี่ก็ยังคงเหมือนเดิม ไทยพุทธมุสลิมก็อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข พอมีกิจกรรมส่งเสริมพหุวัฒนธรรม ที่ขับเคลื่อนโดยสภาสันติสุขตำบล ก็ทำให้ชาวบ้านได้มีกิจกรรมร่วมกัน ได้พบปะ สร้างความเข้าใจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ และเห็นถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนกับประชาชนมากขึ้น

IMG_3714

กิจกรรมส่งเสริมพหุวัฒนธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมให้เกิดความรักความสามัคคีภายในชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานประเพณี วัฒนธรรม โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางวัฒนธรรม  ภายในกิจกรรมมีการเดินแห่ขบวนประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่ การแสดงของเยาวชน และประชาชนด้วยศิลปะการแสดงและการขับร้องบนเวที การสาธิตอาหารพื้นบ้าน กิจกรรมการประกวดทำข้าวยำ กิจกรรมสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านกว่า 10 ประเภท เพื่อสร้างความสามัคคีภายในพื้นที่

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=53398

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us