|

ทีมวิจัย ม.หาดใหญ่ นำคณะทัวร์ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ในพื้นที่จังหวัดสงขลา

mOU พัฒนาวิชาการ (8)

คณะผู้วิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ใน “โครงการรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวและลงพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวงในจังหวัดสงขลา ในวันที่ 9 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา พร้อมกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว อันประกอบไปด้วย ตัวแทนจากบริษัทนำเที่ยว นักวิชาการ สื่อมวลชน นักท่องเที่ยวเยาวชน เป็นต้น โดยเริ่มออกเดินทางสู่วัดพะโคะ หรือวัดราชประดิษฐาน อ.สะทิงพระจ.สงขลา นมัสการสมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เรียนรู้ประวัติศาสตร์สมเด็จเจ้าสามเกลอ พระอริยสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการซึ่งประชาชนให้ความเคารพนับถือ จากนั้นเดินทางมุ่งหน้าสู่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดแหลมบ่อท่อ ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธิ์ จ.สงขลา ซึ่งน้ำจากบ่อนี้ตักใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีที่สำคัญ พร้อมร่วมกิจกรรมชมวิถีชีวิตชุมชนกับชมรมคนรักษ์วัด ก่อนมุ่งหน้าต่อไปชมทัศนียภาพแกรนด์แคนยอนที่แรกใน จ.สงขลา และรับประทานอาหารเที่ยง ตามสไตลด์ชาวกระแสสินธุ์ โดยนำปลาหัวโม่ง และกุ้งจากทะเลสาบมาปรุงอาหาร ณ หลวงศรี โฮมสเตย์

IMG_3816

จากนั้นในช่วงบ่ายออกเดินทางไปยังวัดจะทิ้งพระพร้อมรับฟังประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้าหลวงฯ เมื่อคราวเสด็จเยือน อ.สทิงพระ จ.สงขลา โดยปราชญ์ชาวบ้าน ครูไพฑูรย์ ศิริรักษ์ พร้อมเข้าเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบกสนับสนุนพื้นที่สีเขียว เพื่อความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย ด้วยเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นเดินทางไปยังสวนลุงวี สวนเกษตรผสมผสาน หรือที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า สวนสมรม ของ ร.ต.ทวี ชาตะวิทยากูล ข้าราชการเกษียณที่หันมายึดอาชีพเกษตรกร โดยปลูกพืชหลัก คือ จำปาดะขนุน และใช้ “โคระ” ซึ่งทำมาจากทางมะพร้าวสาน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดกันมากว่า 100 ปี สามารถช่วยป้องกันแมลงได้ถึง 100 % แล้วมุ่งหน้าเขาเมืองสงขลา ชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และโรงสีแดง หับ โห้ หิ้น ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา ก่อนเดินทางกลับ

IMG_3817

จากกิจกรรมในเส้นทางการท่องเที่ยวครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน ปราชญ์ชาวบ้าน และชุมชนต่างๆ เป็นอย่างดี และผู้เข้าร่วมโครงการฯ คาดหวังให้การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวงนั้น เกิดความเป็นรูปธรรมด้านหลักฐานต่างๆ ที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จฯ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งตามหลักฐาน จำนวน 9 ครั้ง รวมไปถึงการสนับสนุนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวงอย่างยั่งยืนต่อไป

IMG_3818

IMG_3819

IMG_3820

IMG_3821

IMG_3822

IMG_3823

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=53438

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us