|

ม.ทักษิณ ชูนิสิตรุ่นใหม่ ใส่ใจเรียนรู้ กับ 12 ผลงานวิจัย ไม่ตั้งหิ้ง

mOU พัฒนาวิชาการ (4)

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ .ทักษิณ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 4 “ท้องถิ่นในจินตนาการ : ความเข้มแข็งจากฐานรากเพื่อการพัฒนาประเทศสู่สหัสวรรษใหม่ชูความนิสิตรุ่นใหม่ ใส่ใจเรียนรู้ กับ 12 ผลงานวิจัย ไม่ตั้งหิ้ง

AFA14A19-EE25-417E-865C-AFFA3ADB65FD

เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563 ที่ โรงแรมสยามออเรียนทัล .หาดใหญ่ .สงขลา ที่ผ่านมา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ .ทักษิณ ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 4 “ท้องถิ่นในจินตนาการ : ความเข้มแข็งจากฐานรากเพื่อการพัฒนาประเทศสู่สหัสวรรษใหม่ร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการ 6 สถาบัน ประกอบด้วย คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากรคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

CA9D0E91-87F4-49F6-99D7-1CF36FA1294D

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้กับอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ได้พบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย นำไปสู่การสร้างบรรยากาศทางวิชาการที่ดี อันจะก่อให้เกิดการต่อยอดขององค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์สู่ชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน ภายในงานได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ชำนิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานในพิธีเปิด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริฉัตร  ตู้ดำ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมชมผลงานของผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 150 ผลงาน

88937551-3A26-4853-AB07-06AC31557B65

ซึ่งนับเป็นความน่ายินดีที่นิสิต 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการบริหารและพัฒนาชุมชน และหลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ได้รับการผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าไปร่วมนำเสนอผลงานในครั้งนี้ พร้อมรับเกียรติบัตร จำนวน 12 ผลงาน ดังนี้ 1. นายณัฐพล ศรีวะปะ นายธนิน คงประดิษฐ์ นายภัทรกันย์ พรหมเกตุ และนางสาวธัญลักษณ์ เพชรหนูเสด หลักสูตรการบริหารและพัฒนาชุมชน จากผลงานเรื่องการพัฒนากลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขาพญาบังสาตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดาแสงมณี ศิริสาธิตกิจ เป็นที่ปรึกษา 2. นางสาวชมพูนุช สุวรรณการณ์ นางสาวภัชลดา นิติธรเมธา นางสาวธนาภรณ์ นิลโมทย์ นายมนต์ชัย ยอดขวัญ และนางสาวภาสินี เส้งเนตร หลักสูตรการบริหารและพัฒนาชุมชน จากผลงานเรื่อง การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ เป็นที่ปรึกษา 3. นางสาวฐปิยาไชยพรม นางสาวจิราเมธ ไกรเกอะ นายธีรภัทร รัตนา นางสาวนาดีมะห์ มะแซ และนางสาวสุนิษา อินทร์คง หลักสูตรการบริหารและพัฒนาชุมชน จากผลงานเรื่อง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนฐานทรัพยากรชุมชนบ้านพุมเรียง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ เป็นที่ปรึกษา 4. นางสาววรรณกานต์ พุทธรักษ์ นางสาวณัฐพร ทองฤทธิ์นุ่น นางสาวณัฐนิชา จันทรักษ์ นางสาวมณฑิตา หนูแดง นางสาวฤดี บุญพรม และนางสาวซัลมี แคเมาะ หลักสูตรการบริหารและพัฒนาชุมชน จากผลงานเรื่อง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ่อหินฟาร์มสเตย์ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ เป็นที่ปรึกษา 5. นางสาวปาลิตา ปานแก้ว นางสาวฤทัยรัตน์ เพชรรักษ์ นายสิทธิพลบุญเลิศ และนางสาวสุทธิตา สุขเกษม หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากผลงานเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีอาจารย์ ดร.นวิทย์ เอมเอก เป็นที่ปรึกษา 6. นางสาวจุฑามาศ หนูฤทธิ์ นางสาวชยานันต์ แก้วมหากาฬ นางสาวศิณา คงเขียว นางสาวปิยะนุช ช่วยรัตนะ และนางสาวอินทิมา จันวดี หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากผลงานเรื่อง วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานกรุงไทยในเขตพัทลุง โดยมีอาจารย์ ดร.วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์ เป็นที่ปรึกษา

 F0A0CC48-98E5-4007-8B64-9ADEDA5587E6

7. นางสาวฉัตรธิดา ดิสระมุณี นายชาญวิทย์ จองอัครวรัญญู นายธนากร ธรรมจิณโน นายศุภสิน อัศวเมฆานนท์ และนางสาวสิริกาญจน์ ทองแก้วเจริญ หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากผลงานเรื่อง ปัจจัยการสร้างความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานบริษัท วู้ดเวอร์ค จำกัด สาขาแอดวานซ์ จังหวัดสงขลา 8. นางสาวสุธาวัลย์ สุระคำแหง นายกฤษนัย เพ็งแก้ว นางสาวกาญจนา ปัจฉิมสิริ  และนางสาวสุชาดา อ่อนศรีแก้ว หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากผลงานเรื่อง ความพึงพอใจการบริหารค่าตอบแทนต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานรายเดือนบริษัทปาล์มน้ำมันธรรมชาติ จำกัด (สาขาพระแสง) จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีชีวนันท์ คุณพิทักษ์ เป็นที่ปรึกษา 9. นายเชษฐกรณ์ จริงจิตร นายกิตติพศ ลูกจันทร์ นางสาวศรัญญา สุขขี นายศราวุธ เรืองคง นางสาวอรณิชา สมัด หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากผลงานเรื่อง อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน Generation Y : กรณีศึกษา บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า หาดใหญ่ 2 โดยมี ผศ.ดร.ธีรพร ทองขะโชคเป็นที่ปรึกษา 10. นางสาวกสิณา ศรีละนนท์ นางสาวจารุวรรณ จันทรประดิษฐ นางสาวจุฑารัตน์ ศิริโภชน์ นางสาวพิมพ์สุจี สุวรรณ์หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากผลงานเรื่อง ความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรกับพฤติกรรมการทำงานตามสมรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี ผศ.ดร.ธีรพร ทองขะโชค เป็นที่ปรึกษา11. นางสาวปัญจมาพร ปลิดดอก นางสาวพวงผกา ทุมสุวรรณ นายยงศิลป์ ศรีน้อย นางสาววันวิสาข์ หง๊ะฝา และนายยุทธวีร์ พรหมสีลาย  หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากผลงานเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานธนาคารกรุงไทย สาขาสงขลา โดยมีอาจารย์ ดร.นวิทย์ เอมเอก เป็นที่ปรึกษา 12. นางสาวรัตนากร ปรัชพันธ์ นางสาวชญาภา ดิรัญเพชร  นายศุภชัย รุ่งเสรีกุล นางสาวสโรชา พรหมเสนาอติและนายวิชญ์ ขันทอง หลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากผลงานเรื่อง อิทธิพลของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต : กรณีศึกษา บริษัท จี ที รับเบอร์ จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีอาจารย์ ดร.วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์ เป็นที่ปรึกษา

B390A8D7-2962-4E57-9F58-5545B03F8717

โดยผลงานทั้งหมดของนิสิต .ทักษิณ ที่ได้รับเลือกในครั้งนี้ ถือเป็นงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ทางสังคม และสามารถนำไปรับไปใช้จริงได้มากที่สุด โดยทางผู้จัดงานได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ทุกผลงานที่นำเสนอล้วนเกิดการศึกษาที่เกิดการการเรียนรู้ตามสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมองเห็นว่าให้ผู้เรียนได้ตีโจทย์วิจัยจากปัญหาจริงในสังคม ซึ่งแต่ละผลวิจัยที่ได้ พร้อมทั้งนำกลับไปรับใช้สังคม อย่างรู้คิดและเท่าทัน  ทั้งยังเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้ชุมชนพัฒนาจากผลของงานวิจัยที่สร้างขึ้น ไม่ใช่การสร้างการงานวิจัยที่วางไว้บนหิ้งอย่างในอดีต ทั้งนี้ เวทีนี้ยังถือว่าเป็นเวทีทางวิชาการที่ให้นักวิจัยรุ่นใหม่ทางสังคมศาสตร์ได้สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัย และเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมให้เท่าทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคประเทศไทย 4.0 อย่างแท้จริง

6D7E5F1C-5B0F-423F-9464-0F8635111DA7

C98285FA-A760-4DB2-9B33-94ACEE174002

 

 

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=53578

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us