|

เกษตรกรหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพิ่มรายได้ รับมือสถานการณ์ภัยแล้ง

IMG_4002

ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 (มกราคม – มิถุนายน 2563) ประเทศไทยตอนบนจะมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าปกติ 3 – 5 % ส่วนภาคใต้จะใกล้เคียงค่าปกติ สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในช่วงฤดูแล้ง ปริมาตรน้ำทั้งประเทศ ปีนี้น้ำน้อยกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน ปีที่แล้วปริมาตรน้ำ คิดเป็นร้อยละ 72 ของความจุอ่าง แต่ในปัจจุบันมีน้ำ คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่าง ในขณะที่เป็นน้ำใช้การได้เพียงร้อยละ 38

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่าสำหรับภาคใต้ มีพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภาวะแล้งถึงแล้งจัด หรือค่อนข้างแห้งแล้ง มี 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล และปัตตานี เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง ควรติดตามสถานการณ์น้ำและภัยแล้งอย่างใกล้ชิดและควรปรับตัวในการทำกิจกรรมทางการเกษตร โดยการเลือกปลูกพืชให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า ดูแลรักษาความชื้นในแปลงปลูกพืช เช่น การคลุมโคนต้น และคลุมแปลง ตัดแต่งกิ่ง เพื่อลดการคายน้ำของพืช และปลูกพืชคลุมดินรักษาความชื้น สำรองน้ำไว้ใช้ในไร่นา เช่น การขุดสระหรือบ่อบาดาล ปรับกิจกรรมการเกษตรเพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำ โดยใช้แนวทางตามศาสตร์พระราชา เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน  และควรหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อรับมือสถานการณ์ภัยแล้งและเพิ่มรายได้ในช่วงหน้าแล้ง

IMG_4003

นายสุพิท ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ข้อดีของการปลูกพืชใช้น้ำน้อย คือมีการทำกิจกรรมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นพืชอายุสั้น สร้างรายได้และให้ผลตอบแทนเร็ว ใช้น้ำน้อยกว่าพืชหลัก สามารถตัดวงจรของศัตรูพืชหลักได้ และมีข้อควรคำนึงในการปลูกพืชใช้น้ำน้อย ดังนี้ ต้องเป็นพืชที่ตลาดต้องการ  มีแหล่งน้ำที่สามารถใช้เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี พืชที่เหมาะสมต่อการปลูกในหน้าแล้งควรเป็นพืชที่มีอายุสั้น ใช้เงินลงทุนต่อรุ่นต่ำและสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับการปลูกพืชใช้น้ำน้อยประเภทพืชผัก นอกจากจะใช้บริโภคในครัวเรือนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารแล้ว ในตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยมีห้างค้าปลีกเป็นผู้รับซื้อผลผลิตรายใหญ่ และมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงแหล่งผลิต ตลอดจนตลาดพืชผักปลอดภัยที่มีความต้องการในกลุ่มผู้รักสุขภาพโดยแหล่งจำหน่ายส่วนใหญ่อยู่ในตลาดเฉพาะ เช่น โรงพยาบาล และแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าในการจำหน่าย โดยสามารถบริหารจัดการให้เชื่อมโยงตลาดจากพ่อค้าคนกลางในท้องที่ จนถึงโรงงานแปรรูป เกษตรกรต้องให้ความสำคัญกับการผลิตให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด เช่น การผลิตตามมาตรฐาน GAP และอินทรีย์

กรมส่งเสริมการเกษตร ขอแนะนำพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย ปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 9 ชนิด ประกอบด้วย พริก แตงกวา แตงโม ถั่วฝักยาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง มะระจีน แฟง และข้าวโพดหวาน

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=53620

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us