|

OHCHR – กสม. ประณามไม่เห็นด้วยกับเหตุคาร์บอมหน้า ศอ.บต. จังหวัดยะลา

mOU พัฒนาวิชาการ (8)

OHCHR และกสม. ประณามไม่เห็นด้วยกับเหตุคาร์บอมหน้า ศอ.บต. จังหวัดยะลา เผย ศอ.บต. เป็นหน่วยงานด้านการพัฒนา เพื่อช่วยเหลือประชาชน

จากเหตุคาร์บอมหน้าป้ายทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 26 ศอ.บต. เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ทำให้เจ้าหน้าที่ สื่อมวลชนได้รับบาดเจ็บ 26 ราย ขณะที่มีการประชุมหัวหน้าหน่วยงานราชการ เพื่อเตรียมความพร้อม และติดตามการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้หลายฝ่าย ไม่เห็นด้วยกับการกระทำอันโหดร้ายของฝ่ายตรงข้าม ต่างก็ปฏิเสธการกระทำในการโจมตีของผู้ที่ไม่หวังดี ขณะที่สื่อมวลชนภาคใต้เรียกร้องให้ขบวนการเคลื่อนไหวของผู้ที่ไม่หวังดี ยุติการกระทำอันโหดร้าย เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบไปยังประชาชนผู้บริสุทธิ์

IMG_4204

และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า “การใช้อาวุธอย่างไม่เลือกปฏิบัติโดยมีเป้าหมายเป็นพลเรือนเป็นข้อห้ามภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และการก่อเหตุดังกล่าวระหว่างที่มีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นการกระทำที่ไม่สามารถยอมรับได้”

ด้านซินเทีย เวลิโก้ ผู้แทนประจำภูมิภาคของสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร กล่าว “เราประณามการก่อเหตุครั้งนี้อย่างที่สุดและขอเรียกร้องให้เคารพต่อพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ”

ในขณะที่คณะกรรมการการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เผยแพร่ แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เรื่อง ขอประณามการวางระเบิดหน้า ศอ.บต. ยะลา ขณะประชุมเตรียมรับมือสถานการณ์โรคโควิด 19

IMG_4207

โดยในแถลงการณ์ระบุว่า การโจมตีครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคแล้ว  ยังก่อให้เกิดความไม่มั่นใจแก่ประชาชนในการเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือเข้าถึงการคุ้มครองสิทธิในสุขภาพและชีวิต ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้ กสม.ขอเป็นกำลังใจให้กับประชาชนและส่วนราชการทุกหน่วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนอกจากจะต้องเผชิญกับความหวาดหวั่น และต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างหนัก เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว  ยังต้องมีความกังวลต่อความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายจากเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

IMG_4206

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าองค์กรระดับชาติอย่างสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เองก็ออกมาแถลงการณ์ถึงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานด้านพัฒนาอย่าง ศอ.บต.เพราะถือว่าเป็นองค์กรใหญ่ในภาคใต้ที่จะขับเคลื่อนงานทุกมิติ เพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น การท่องเที่ยวดีขึ้น

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=53793

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us