|

คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.สงขลานครินทร์ พัฒนาหน้ากากผ้ารูปทรง 3 มิติ

70135C73-B295-46DA-8D32-5A9758702EAA

คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลิตหน้ากากผ้ารูปทรง 3 มิติ ฆ่าเชื้อโรค เตรียมมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์

ดร.คัมภีร์ พ่วงทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม .สงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม กำลังดำเนินการ จัดทำหน้ากากผ้า EnviTrap เพื่อมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งพัฒนาโดยทีมจากคณะการจัดการสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้ความร่วมมือของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย (ศสอ.) โดยการสนับสนุนของบริษัท ฟุกเทียน กรุ๊ป จำกัด และให้คำปรึกษา โดย รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DE170CF5-2565-4D7C-AB0A-0EE15363069E

หน้ากากผ้าที่ผลิตสามารถป้องกันละอองฝอยและสารคัดหลั่ง (Droplet) มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อโรค พร้อมทั้งสามารถดูดซับสารคัดหลั่งจากผู้สวมใส่ EnviTrap ถูกออกแบบในรูปทรง 3 มิติกระชับต่อใบหน้า และมีให้เลือกถึง 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ รวมไปถึงเป็นการลดการใช้หน้ากากอนามัยแบบครั้งเดียวทิ้งเพราะสามารถนำไปซักและใช้ซ้ำได้

E7B851DD-29C8-4E3D-8079-A1ED3A2D487D

คณะการจัดการสิ่งแวดล้อมได้เร่งผลิต EnviTrap  หน้ากากผ้า 3 ชั้น ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันไวรัส COVID-19 รวมทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก เพื่อมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ โดยสามารถส่งมอบจำนวน 3,000 ชิ้น ภายในวันที่ 20 เมษายน 2563 ตั้งเป้าในการผลิตไว้ที่ 15,000 ชิ้น

ความยากในการผลิตหน้ากากผ้า EnviTrap เริ่มตั้งแต่การหาผ้าที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการทำหน้ากากไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคหรือไม่ทำให้การหายใจลำบาก เป็นต้น รวมทั้งการขึ้นรูป ออกแบบดีไซน์ต่างๆ และสถานการณ์ในปัจจุบันการหาผ้าในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการเป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้การผลิตเกิดความล่าช้าและมีปัญหาพอสมควรอีกทั้งข้อจำกัดในการใช้งานของ EnviTrap  ที่ทีมผู้พัฒนาแนะนำว่ายังไม่ควรใช้เพื่อทดแทนหน้ากากตามมาตรฐาน N95 โดยตรง จึงอาจจะไม่เหมาะกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยไวรัส COVID-19 ที่ต้องการหน้ากากอนามัย N95 โดยตรง

C4A593D9-8673-4C00-8B1F-FE59B0B83A39

จากปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันทางทีมวิจัยกำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาชั้นของฟิลเตอร์ ที่มีความสามารถตามมาตรฐาน N95 โดยการใช้ถ่านชีวภาพ (Biochar) ที่ได้จากซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาเป็นองค์ประกอบของฟิลเตอร์ เพื่อลดการนำเข้าฟิลเตอร์จากต่างประเทศ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอีกทางหนึ่งด้วย

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=54141

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us